เก็บความบางส่วนของ จักรวาลกำลังฝัน The Dreaming Universe / Fred Alan Wolf Ph.D. (ตอนที่ 3 เรื่องมินเดล-เพาลี)

สายๆ วันนี้รู้สึกว่า ไหนๆ ก็จะฝันกันแล้ว ก็ทำงานกับความฝันตอนตื่นไปพร้อมกันเลย ท่าจะดี .. ทำงานกับกายฝัน .. พ่อมดเฟรด อลัน วูล์ฟ เล่าเรื่องของมินเดล
โดยบอกว่า “กายฝัน” นั้นอยู่ในขอบข่ายการสืบค้นของอาร์โนล มินเดล ความเจ็บป่วยที่ส่งผลกระทบถึงมินเดลทำให้เขาประจักษ์ว่าไม่สามารถจัดการกับร่างกายของตัวเองได้โดยใช้พุทธิปัญญาบริสุทธิ์ .. เทคนิคที่มินเดลประสบความสำเร็จเมื่อเขาทำงานกับความฝันของคนไข้ของเขา ด้วยการมองว่าร่างกายคือกระจกสะท้อนแบบแผนชีวิตของบุคคล และแบบแผนเหล่านี้ซึ่งปรากฏในความฝันเป็นสัญญาณจากร่างกาย เป็นความฝันก็ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นในร่างกายเรา 
ดังนั้นอาการทางกายไม่อาจจัดการได้โดยกลไกพยาธิวิทยาล้วนๆ อาการไม่ได้เป็นแค่ sicknesses ซึ่งจะต้องถูกรักษา, ควบคุม, หรือบำบัดเยียวยา หากว่า “อาการ” คือ potentially meaningful และเป็นเงื่อนไขของเป้าประสงค์
แสดงสัญญาณแห่งมหัศจรรย์จินตนาการอันประสานกันของชีวิต หรือเป็นการนำตนไปเข้าใกล้กับจุดศูนย์กลางของการปรากฏ (center of existence) อย่างที่มินเดลดึงออกมา “พวกมันสามารถจะกลายเป็นการเดินทางไปยังโลกอื่น ได้ดีพอๆ กับวิถีการเข้าสู่พัฒนาการทางบุคคลิกภาพ”

มินเดลค้นพบในงานของเขาว่าทุกๆ การแสดงออกทางกายภาพของร่างกายเป็นการเผยออกของความฝันของคนๆ นั้น รวมไว้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอากัปกริยา, โทนเสียง, การเคลื่อน แกว่งแขน, การเดิน, การที่โอบไหล่ตอนพูดคุย, การแสดงออกของใบหน้า และความเจ็บป่วยทางกายภาพทั้งหมด ทั้งปัญหาความสัมพันธ์ก็สะท้อนในความฝันและถูกเก็บเอาไว้ในร่างกายด้วย

มินเดลค้นพบว่าเค้าไม่สามารถจะหาเหตุผลใดๆ สำหรับความเจ็บป่วยของเขาเองได้ เค้าศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำได้ แต่ในที่สุดก็ล้มเหลวที่จะเรียนรู้ว่าความเจ็บป่วยบอกอะไรกับเค้า แล้วเค้าก็ค่อยๆ เฝ้าดูคนไข้ซึ่งเห็นความเจ็บป่วยทางกายได้ชัดเจน หรือเป็นพวกที่ไม่สามารถจะควบคุมร่างกายได้ .. (อื่มมม..ไม่สามารถจะควบคุมร่างกายได้!!! .. ตอนนี้ไปเชื่อมตอนที่ astro body ไม่สามารถจะควบคุมร่างกายได้) เขาชี้ไปที่คนซึ่งมีภาวะผิวหนังอักเสบซึ่งกำลังเริ่มเกา แล้วการเกามันก็ยิ่งจะทำให้อาการมันแย่ลงไป หรือเมื่อคนที่ปวดหัว ก็จะยิ่งสะบัดหัว คนปวดตาก็กดลงไปที่ดวงตา คนขอแข็งก็จะพยายามก้มงอคอ พวกคนไข้ล้วนพยายามจะขยายความเจ็บปวดให้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นมินเดลเห็นว่าผู้คนต่างพยายามทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความคาดหวัง ถ้าคนเป็นทุกข์กับความเจ็บปวด แทนที่จะทำอะไร (จากสัญชาติญาณ?) เพื่อบรรเทา แต่พวกเค้ากลับทำให้มันแย่ลงไปอีก นั่นทำให้มินเดลค้นพบว่าการขยายอาการทางกายเป็นผลส่งให้ผู้ป่วยเข้าถึงความหมายของการเจ็บป่วยที่แท้จริง

จากหนังสือชื่อ Working with Dreaming Body : Arnold Mindell เล่าว่าผู้ป่วยที่ได้รับความเจ็บปวดจากมะเร็งช่องท้องบอกมินเดลว่าก้อนเนื้องอกทำให้เขาเจ็บปวดจนทนไม่ไหว ถ้าเป็นนักบำบัดธรรมดาก็จะหยุดทำงานกับคนไข้รายนี้ แต่มินเดลกลับไปพบและขอทำให้อาการมันแย่ลงไปอีก คนป่วยบอกว่าถ้ากดท้องเค้าก็จะยิ่งเจ็บหนัก มินเดลบอกให้คนป่วยยืนขึ้นแล้วกดลงไปที่กล้ามเนื้อท้อง การกดอย่างต่อเนื่องมันเพิ่มความเจ็บปวด จนในที่สุดก็ตะโกนร้องออกมา มันแย่มาก และเค้ารู้สึกว่ากำลังจะเบิดออก จากนั้นคนป่วยรายนี้ก็ ..broke down แล้วร้องไห้ พูดอธิบายถึงชีวิตของเค้า เค้าบอกว่าเค้าไม่สามารถจะปลดปล่อยตัวเองได้จนถึงขีดที่ต้องการ...
แม้แต่มะเร็งก็ยังทำได้เลย โดยเทคนิคการขยายความเจ็บปวด คนเจ็บจะเริ่ม express himself อย่างเต็มมากขึ้นกว่าที่เค้าเคยทำมา เรียกได้ว่ากลับมาชีวิตอย่างเต็มที่อีกครั้ง อยู่ต่อไปได้อีกสองสามปีก่อนจะตาย ....ก่อนหน้านั้นนิดหน่อย ผู้ป่วยคนนี้ได้เรียนรู้จากการรักษามะเร็ง (ซึ่งไม่สำเร็จ) ของเขา เขาฝันว่าเขาป่วยเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาหาย และยาที่จะรักษามันได้ก็คือระเบิด มินเดลตัดสินใจเลยว่าการป่วยของคนไข้ของเขานั้นคือมะเร็งซึ่งมาจาก unexpressed desire!!! มันคือการสูญเสียการแสดงออก ปลดปล่อย.. ก็เลยออกมาผ่านมะเร็ง คนป่วยจำเป็นจะต้อง..ระเบิด..นี่เป็นจุดที่ทำให้แนวคิดเรื่องกายฝันเข้ามาในใจของมินเดล กายฝันมันเป็นทั้งสองอย่าง คือทั้งฝันและกายในเวลาเดียวกัน มินเดลบอกว่าในเคสต่างๆ ที่เค้าประสบมาทั้งหมด ไม่มีแม้แต่เคสเดียวที่ความฝันของบุคคลจะไม่ไปสะท้อนกับอาการทางกาย ในทำนองเดียวกัน สำหรับมินเดลแล้ว การทำงานกับความฝันและทำงานกับร่างกาย กลายเป็นความสอดคล้องจองกัน

กายฝันสามารถนำมาเชื่อมต่อกับร่างกายได้ คล้ายกับที่ฟังก์ชั่นคลื่นควอนตัมสามารถจะให้ความเป็นไปได้ของความเป็นอนุภาค หรือถูกเชื่อมสัมพันธ์เข้ากับสถานภาพทางกายภาพของอนุภาค ในทางควอนตัมฟิสิกส์เราไม่สามารถจะจัดการกับสสารเพราะว่าเราไม่มีหนทางในทางควบคุมมัน.. (โหยยย.. โดนเต็มๆ เบย .. มันคือตอนที่ astro body ไม่สามารถ control physical body ได้)

แทนที่จะเป็นอย่างงั้น ก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คาดหวัง, ความโน้มเอียง และความเป็นไปได้ เหมือนกับว่าพวกมันเป็น สนามที่ลอยอยู่ “ภายนอก” ใน space สนามเหล่านี้ พ่อมดบอกว่ามันถูกแทนค่าด้วยจำนวนเชิงซ้อน, จำนวนซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือ จำนวนจริง real number และ imaginary number (คอดๆ ชอบมินเดลตรงที่ว่า ไม่มีสิ่งในที่เค้าทำแล้วจะอธิบายเชิงควอนตัมไม่ได้) ดังนั้นแม้ว่านักฟิสิกส์จะให้ภาพความเป็นไปได้ของสนามแทนด้วยจำนวนเชิงซ้อน แต่ไม่มีใครมองเห็นมัน ไม่เห็นความมหาศาลอลังการของจำนวนเหล่านั้น ไม่ว่าจะที่จุดเฉพาะจุดไหนในห้วงอวกาศหรือในเวลา มันสูงขึ้นด้วยความเข้มข้นหรือความโน้มเอียงในการเป็นกายภาพ..อนุภาคอันมีปรากฏอยู่แล้ว

เราจัดการกับสนามเหล่านี้ในทางการคำนวนทางคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง ในหลายๆ สถานการณ์ ความเข้มข้นของสนามถูกหมายเอาไว้ว่าเราได้เข้าใกล้กับความเป็นไปได้ในการที่จะควบคุม “อาการ” (อากัปกริยา) ของอนุภาค ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นความจำเป็น ดังนั้นในหลายสถานการณ์ทางกายภาพ เหล่านั้นที่เราเรียกว่า “classical” เราเชื่อว่าเราควบคุมได้และเข้าใจมันในปรากฏการณ์ทางกายภาพพ่อมด เล่าเรื่องมินเดล ต่ออีกหน่อย.. แม้ในบางสถานการณ์ การจะไปพยายามควบคุมมันชัดแจ้งว่าเป็นไปไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถจะวัดความแน่นอนของตำแหน่งกับโมเมนตัมของซับอะตอมใดๆ ได้ ดังนั้นเราเลยพลาดในการทำนายเกี่ยวการเคลื่อนที่ของมัน คือจะรู้ข้อมูลว่ามันไปอยู่ตรงไหนก็ต่อเมื่อมันถูกตัดสินใจ (ให้ไปอยู่ตรงนั้นแล้ว) 
ถึงจะรู้ว่ามันเป็นอย่างงั้นในทางฟิสิกส์ เราก็ยังคอยมองหาค่าใกล้เคียงของสรรพสิ่งในจักรวาลประหนึ่งความรู้มันกวักมือเรียกเรา แล้วโหมดความคิดมากมายนี่แหละที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีขึ้นมา แล้วก็ยังถูกกลั่นกรองให้เข้าสู่งานของนักจิตวิทยาและนักบำบัดด้วย

งานของมินเดล ถ้าเราเอากายฝันมาเปรียบเทียบในสนามความเป็นไปได้ ซึ่งมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์แบบเดิมกับร่างกายอย่างเหมือนเป็นสนามที่มีอนุภาคอยู่แล้ว แล้วมันก็มีสภาวะคลาสิกมากมาย ซึ่งใช้อยู่โดยไม่จำเป็นต้องเอาแนวคิดเรื่องสนามมาอธิบายพฤติกรรมของอนุภาค อันเป็นการบำบัดแบบเก่าที่ใช้จัดการกับร่างกายกันอยู่ แต่ในเคสที่มันเห็นได้ชัดเจนว่าแบบเก่า (classic) มันไม่เวอร์ค ความเจ็บป่วยอย่างเช่นมะเร็งและระบบภูมิคุ้มกันอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องระดับคลาสิก มันจะรักษาไม่หายเหมือนอาการทางกาย เราจำเป็นต้องเอาเรื่องการจัดการกายฝันเข้ามาดูว่าระดับไหนที่จะทดลองควบคุมได้ 
การเทียบเคียงอาจจะมากกว่าอุปมัยอุปมา ณ ขณะนี้ .. สมมุติว่ามันเป็นความจริงว่าเมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับกายฝัน เราจะเกี่ยวข้องกับการล้มความเป็นไปได้ของฟังก์ชั่นคลื่นควอนตัมด้วย ถ้ากายฝันคือสนามที่ยังคอยการเผยออกมาทางกายภาพตามเจตนาและเป้าหมาย (intents and purposes ตรงนี้พ่อมดใส่วงเล็บว่ามันเป็นเจตนาและเป้าหมายของใครค่อยว่ากันอีกที) มันก็จะเป็นไปตามเจตนาและเป้าหมายซึ่งเป็นไปอยู่ในสนามของสสารกายภาพทั้งหมด หรือพูดอีกอย่างก็คือ ร่างกาย (กายภาพ) นั้นเป็นการเผยออกมา (manifestation) ของกายฝัน (dreaming body) จักรวาลคือการเผยออกของความฝันแห่งจักรวาล (the universe is the manifestation of the dreaming universe)... 


ในบท The Spirit of Matter เค้าจะเล่าเรื่องฝันของเพาลีและความสัมพันธ์ของเพาลีกับนักจิตวิเคราะห์ Marie-Louise von Franz (เอ๊า!! สองคนนี้รักกันเหรอ!) และยุงด้วย .. พ่อมดเล่าถึงความสัมพันธ์ถูกแสดงไว้ในจดหมายว่าเพาลีเป็นผู้ชายมีปัญหา การสิ้นไร้สติสัมปชัญญะของเขาถูกเชื่อมต่อเข้ากับความปราดเปรื่องในทางฟิสิกส์ แล้วยังไงก็ตามแต่เพาลีนั้นไม่เคยอยู่ในระดับที่เค้าเรียกกันว่า ordinary (ความเป็นธรรมดาปกติ) เลย แล้วเค้าคนนี้ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่สามารถจะก่อประกอบความเข้าใจของพวกเราเกี่ยวกับธรรมชาติขึ้นมาอย่างหลักแหลม เฉียบคม
การค้นพบที่สำคัญที่สุด ถูกพบหลังความคิดเชิงนามธรรมว่าอนุภาคซับอะตอมนั้นมีความสามารถในการควบคุม “ผลักออก” จากกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มีทางที่ทั้งสองตัวจะสามารถผ่านเข้าสู่สภาวะควอนตัมทางกายภาพใน state เดียวกัน

เพาลีเชื่อว่าความเป็นจริง (reality) นั้นมีสองลักษณะคือ มันมีเหตุผลและไร้เหตุผลด้วย นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็พบว่านี่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ (พวกเค้ารับไม่ได้) อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงนี้เข้าสู่การพิจารณาของเพาลี (เพราะว่าเค้าบ้าพอ ฮ่าๆๆ) และพวกเราซึ่งลุ่มรวยในเนื้อหาสาระมากกว่าอะไรที่เป็นเพียงความเป็นจริงทางกายภาพ มันได้รวมเอาเรื่องความเป็นจริงจากรู้สึกนึกคิดและเรื่องจิตเอาไว้ด้วย และถ้าหากว่าเรามองมันอย่างระแวงระวังในประเด็นของการสังเกตแล้ว เราจะประจักษ์แจ้งอย่างที่จอห์น วีเลอร์กล่าวไว้เลยว่า “there is no reality unless it is an observed reality” นั่นเป็นการอนุญาติให้มนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมความไม่สมเหตุสมผล จนถึงวันนี้มันไม่มีความสงสัยอะไรแล้วว่า ความไม่สมเหตุสมผลนั่นแหละกำลังแสดงบทบาทอยู่ในความเป็นจริงเพาลีบอกว่ามุมมองเชิงเหตุผล (rational view) ของความเป็นจริง เป็นความไม่สมบูรณ์แบบอันจำเป็นและมันก็เป็นเรื่องเวทย์มนต์กับเรื่องฟิสิกส์ ที่มาเสริมเติมกัน (complementary) อันเป็นลักษณะของความเป็นจริงเดี่ยว (single reality) หรืออีกนัยยะหนึ่ง วิกเกนสไตร์เชื่อว่า ถ้ามีคนที่ลองพูดเกี่ยวกับเรื่อง one world ว่าประกอบด้วยทั้งสองอย่างคือสสารกับจิต ผลลัพธ์ก็คือความเงียบ และประตูทุกบานจะถูกปิดลง มุมมองนี้ส่งผลกระทบถึงฟิสิกส์ที่รากฐานของมันเลยทีเดียว แล้วนักฟิสิกส์มากมายก็ได้ผ่านเข้าสู่อาณาจักรของการสนทนาในเรื่องความสัมพันธ์ของจิตกับสสาร “mind and matter” พ่อมดบอกเค้ายินดีมากเลยในเรื่องนี้ ด้วยเคยไปที่จุดพรมแดนมาเมื่อยี่สิบปีก่อนตอนนั้นถ้าให้พูดกันตรงๆ ตามความรู้สึกคือ .. เ ห ง า ..
ความฝันของเพาลี (เก็บความจากการอ่าน Pauli's The Dreaming Universe : Fred Alan Wolf) ฝันของเพาลี
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วูล์ฟกัง เพาลี พยายามหากรอบการรวมสำหรับกลศาสตร์ควอนตัมกับจิตวิทยาแนวลึก ทั้งจดหมายของเค้าและงานวิจัยล่าสุดในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าเขาถูกขับเคลื่อนโดยอะไรบางอย่างที่เราอาจจะเรียกมันว่า “alchemical considerations” (การเพ่งซึ่งแปรเปลี่ยนเคมีธาตุ) 
เพาลีตายในปี 1958 ยังค่อนข้างหนุ่ม ด้วยวัยเพียง 55 ปี ออร่าลึกลับดูเหมือนจะติดตามเค้าตลอดไม่ว่าจะตอนที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว หลายคนที่รู้จัก จะพบว่าเค้าเป็นคนดื้อและไม่มีความสุข มักวิพากษ์วิจารณ์งานหรือไม่ก็ความเชื่องช้าทางสติปัญญาของนักฟิสิกส์คนอื่นอยู่บ่อยๆ 
เพาลีเองเป็นคนที่มีพรสวรรค์ระดับขั้นสุดยอด ฮ่าๆ พ่อมดใช้คำว่า extremely mind and sharp tongue (คือนอกจากจะเฉียบคมทางความคิดแล้วลิ้นก็คมด้วย) 
มีข่าวลือหนาหูว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เพาลีไปถึงเมืองที่การทดลองทางฟิสิกส์กำลังคืบหน้าใกล้สำเร็จ มันจะกลายเป็นความล้มเหลวในทันทีที่เขาไปถึง เมืองนั้น ไม่ก็แลปนั้น มันเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง จนนักทดลองขนานนามว่าเป็น “the Pauli effect” ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เกิดความล้มเหลวขึ้น พวกเขาจะไถ่ถามกันว่า เพาลีมาอยู่แถวนี้รึเปล่า? ฮ่าๆๆ

บางทีมันอาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรเลยที่เรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับความปราดเปรื่องของเขากลายเป็นความเงียบงันไปกว่าสามสิบปีหลังจากมรณกรรม จนในปี 1988 นักฟิสิกส์ชาวฟินแลนด์ K.V.Laurikainen ได้นำเสนองานการศึกษาอย่างจริงจังตามหลังเพาลี ชื่อ “alchemical” view of matter and spirit (เล่นแร่แปรธาตุ ตามทัศนะของสสารและจิต) ที่เพาลีทำไว้กับเพื่อนของเขาและนักวิจัยผู้ช่วย Fierz ซึ่งเค้าคนนี้เคยเป็นผู้ช่วยของเพาลีที่โปโลเทคนิคในซูริคและเป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยบรัสเซลเพาลีเคยเขียนเกี่ยวกับการโต้แย้งในศตวรรษที่ 17 ระหว่างนักดาราศาสตร์ Johannes Kepler กับนักฟิสิกส์ Robert Fludd ในปกิณกะซึ่งหลังจากนั้นได้ถูกรวบไว้ในหนังสือยุงกับเพาลี .. Fludd เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุที่อยู่ตรงกันข้ามกับทัศนะเชิงปริมาณแห่งจักรวาลของ Kepler เพาลีเขียนถึง Fierz ว่า “ตัวผมเองไม่ได้เป็นแค่เพียง Kepler แต่เป็น Fludd ด้วย” ข้อโต้แย้งระหว่างปรปักษ์ทั้งสองเร่าร้อนอยู่ภายในตัวเพาลี เพาลีสัมผัสได้ด้วยจิตไร้สำนึกของเขา พยายามที่จะไกล่เกลี่ยทัศนะที่ดูเหมือนไม่อาจจะประนีประนอมได้ของนักแปรธาตุกับนักฟิสิกส์ ด้วยการสร้างจินตภาพในฝันของเขาที่พวกมันสอดคล้องกันอยู่ เขาได้เขียนจดหมายถึง Fierz:ในจดหมายถึง Fierz เพาลีเขียนว่า .. การค้นคว้าของผมสำหรับกระบวนการซึ่งบังเกิดขึ้นพร้อมกัน (process of conjunction) แต่ผมมีเพียงแค่บางส่วนของความสำเร็จอยู่ในนี้ แม้ว่าแรกทีเดียวจะเป็นผู้หญิงต่างชาติ (ตาเรียวเล็กอย่างชาวจีน) มาปรากฏในฝันของผม หลังจากนั้น แปลก เป็นผู้ชาย (light-dark man) ซึ่งดูเหมือนเขาเป็นผู้รู้บางอย่างเกี่ยวกับการรวมด้านตรงกันข้าม (unification of opposites) ซึ่งผมแสวงหา 

Van Erkelens เขียนในบทความของเขาอ้างอิงถึงฝันทั้งสองของเพาลีว่าเป็นเครื่องชี้ทางให้เพาลีที่เคยพยายามประนีประนอมสิ่งที่ดูเสมือนแบ่งแยกกันระหว่างสสารกับจิต เพาลีสนทนาในฝันของเขากับสองบุคคลิกภาพนี้ และพวกเขามีสาระอันน่าอัศจรรย์ใจ ในความคิดของเพาลี จิตวิญญาณของสสาร ดูเหมือนจะหลับไหลยาวนานและถูกฝังไว้กับกรีกโบราณ แล้วบางที อาจถูกสร้างขึ้นมาด้วยการปฏิวัติของนิวตันเนียน ดิ้นรนที่จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง พ่อมดบอกว่าเค้าจะว่าตามการนำเสนอของแวน เอร์คีเลนส์ ในการบอกเล่าความฝันและการสนทนาในฝันนั้น..เมื่อเพาลีกลับไปสวิสต์เซอร์แลนด์ หลังจากอยู่ในอเมริการอจนสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เขาได้รับแรงกดดันจนสูญเสียความกระตือรือล้นในโมเดลฟิสิกส์ไป แล้วในสภาวะหดหู่อย่างรุนแรงนั้นเอง เขาฝันถึงบุคคลิกภาพหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกว่าเป็น “The Persian” เปอร์เซี่ยนคนนี้ปรากฏขึ้นเพื่อยั่วเย้าเพาลีและต้องการให้เพาลีช่วยเขาเข้าสู่สถาบันโปลีเทคนิคในซูริก เพาลีสร้างซีนฝันครั้งแรกให้เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 1947

ผมไปถึงบ้านเดิมของผม ได้พบกับชายหนุ่มผิวสีเข้ม ซึ่งรู้สึกว่าเป็นชาวเปอร์เซีย เขากำลังใส่บางอย่างเข้าไปในบ้านโดยผ่านทางหน้าต่าง ลักษณะเป็นวงแหวนที่ทำด้วยไม้ และจดหมายหลายฉบับ แล้วเขาก็มาทักทายผมอย่างเป็นมิตร ผมเริ่มสนทนากับเขา (จะแทนเพาลีด้วย Pl แล้วแทนหนุ่มเปอร์เซียด้วย Ps นะคะ)
Pl: คุณไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าเรียนเหรอ?
Ps: ไม่ ผมไม่ได้รับอนุญาติ ผมก็เลยเรียนในเรื่องที่มันเป็นความลับ
Pl: คุณเรียนเรื่องอะไร?
Ps: เรื่องตัวคุณ?
Pl: คุณพูดคุยกับผมด้วยเสียงที่คมชัดมาก
Ps: ผมพูดในฐานะของคนๆ นึงซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องต้องห้าม
Pl: คุณเป็นเงาของผมเหรอ?
Ps: ผมอยู่ระหว่างคุณกับแสง ดังนั้น คุณคือเงาของผม ไม่ได้ยอกย้อนนะ
Pl: คุณเรียนฟิสิกส์รึเปล่า?
Ps: ภาษาของคุณมันยากเกินไปสำหรับผม แต่ในภาษาของผมคุณไม่ได้เข้าใจฟิสิกส์!
ในความฝันซึ่งเกิดขึ้นหลายปีก่อนที่ไอน์สไตล์กับบอห์รจะถกกันในเรื่องความครบสมบูรณ์ของกลศาสตร์ควอนตัม เพาลีฝันถึงผู้ชายที่มีลักษณะคล้ายไอน์สไตน์ ในฝันไอน์สไตน์แสดงให้เพาลีเห็นว่า QM (quantum mechanics) นั้นเพียงอธิบายเพียงมิติเดียวของความเป็นจริงสองมิติที่มีพัฒนาการสมบูรณ์กว่า ถ้าคุณเรียกเรื่องนี้ว่าเป็น Flatland ตัวละครในเรื่องเป็นสี่เหลี่ยมสองมิติ ที่ถูกส่งเข้าไปในโลกสามมิติอย่างฉับพลันทันที ตรงไหนที่เขาจะเห็นว่าชีวิตสองมิติสามารถจะแยกไปสู่สามมิติโดยการที่เขายังอยู่ภายใต้พื้นผิวของสองมิตินั้น หลายคนอาจจะคิดว่าคล้ายการเห็นวงกลมวงกลม (แบนสองมิติ) ในเครื่องบินเมื่อทรงกลมถูกผลักผ่านมันเข้าไป เพาลีรู้ขึ้นมาเลยว่ามิติที่สองซึ่งอ้างอิงถึงความฝันไอน์สไตน์เป็นอุปมาที่มาชี้ให้เห็นว่าบางอย่างขาดหายไปจาก QM จิตไร้สำนึกเก็บต้นแบบของมันไว้ เพาลีคิดว่านั่นไม่ได้เป็นเพียงโครงสร้างต้นแบบเหล่านี้กับจินภาพความคิดอันเป็นระเบียบเท่านั้น พวกมันสามารถสร้างโครงสร้างสสารขึ้นด้วยตัวของมันเอง

เมื่อหลายปีผ่านไป เพาลีพยายามอย่างไม่เป็นผลในการที่จะหาภาษาใหม่มาเป็นสะพานให้เขาข้ามผ่านช่องว่างระหว่างกายภาพกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิต เขาเชื่อว่าภาษาใหม่จำเป็นต้องเอามาใช้อย่างเคารพในความต่างระหว่างจิตกับสสาร

แต่ในฝันคนเปอร์เซียร์ เพาลีรู้ว่า “มิติที่สอง” ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีพยายามที่ใส่เชีื้อเพลิงเข้าไปสุมไฟแห่งพุทธิปัญญา แต่เป็นการไปพ้น QM ไปสู่พรมแดนใหม่ซึ่งฟิสิกส์กับจิตจะหลอมรวมเข้าด้วยกัน แต่มิติที่ซ่อนเร้นนั้นปรากฏเป็นรูปลักษณ์ (พ่อมดใช้คำว่า being) รูปลักษณ์นี้บอกเพาลีว่าเขารู้เกี่ยวกับความลับของธรรมชาติ แต่เขาไม่สามารถจะเข้าใจความยากของภาษา QM แล้วเค้าก็ยังบอกเพาลีอีกว่าเพาลีจะไม่มีทางเข้าใจภาษาของเขา แต่เขาคนนี้ก็ยังต้องการสิทธิในการได้เข้าเรียนทางวิชาการ เขารู้สึกว่าจะต้องเข้าสู่การสนทนากับแวดวงโมเดลฟิสิกส์ บางที.. ก็เพียงเพื่อที่จะเรียนภาษา ซึ่งจะทำให้เขาสามารถเผยความลับของเขากับพวกนักฟิสิกส์ได้ เขากดดันเพาลี รูปลักษณ์เปอร์เซียนี้เป็นสปิริตของสสารที่อยู่ในมิติซ่อนเร้นซึ่งเพาลีแสวงหา
โอ้โห กลับไปอ่านอีกรอบ จะช็อก!! เองเลยกับประโยคที่ว่า "จิตไร้สำนึกเก็บต้นแบบของมันไว้ เพาลีคิดว่านั่นไม่ได้เป็นเพียงโครงสร้างต้นแบบเหล่านี้กับจินภาพความคิดอันเป็นระเบียบเท่านั้น พวกมันสามารถสร้างโครงสร้างสสารขึ้นด้วยตัวของมันเอง”กลับเข้ามาอีกช่วงสาย เพราะนึกขึ้นมาได้ว่า being.. ไปเขียนภาษาไทยว่ารูปลักษณ์ ซึ่งมันไม่น่าจะพอ .. แล้วจะแปลว่าอะไร? .. คือเคยเห็นมีคนแปล light being ว่าเป็น สัตวแห่งแสง .. ถ้า being ของเพาลีนี้ จะแปลว่าเป็นสัตว.. ได้รึเปล่านะ!! แล้วสัตว แปลว่าอะไรล่ะ
ในอีกฝันนึงของเพาลี ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1948 สปิริตมาปรากฏกับเพาลีอีกครั้ง แต่ครั้งนี้แสดงให้เห็นเป็น superposition ของสองจินตภาพ คือชายชาวเปอร์เซียร์กับชายผิวกระจ่าง (light-skinned) ผมทอง ครั้งนี้คนแปลกหน้า มาในร่างที่เพาลีไม่รู้จัก ก็ในการเผชิญความฝันครั้งที่สองเป็นชายผิวดำสว่าง (light-dark man) มาในฝัน เดือนตุลาคม 1949 ตอนนี้ชายแปลกหน้าพยายามมาขับเคลื่อนเพาลีด้วยเปลวไฟเผาใหม้เอาเขาออกจากสนามของฟิสิกส์คณิตศาสตร์ (อื่ม..เดาว่า superposition คือการแยกร่างรวมร่างระหว่างหนุ่มเปอร์เซียร์ผิวคล้ำกับหนุ่มผมทองผิวกระจ่าง เป็น light-dark man) 

ผมอยู่บนชั้นสองของบ้านซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมฟิสิกส์คณิตศาสตร์ ผมเห็นว่าใต้ชื่อของผมเขียนประกาศไว้ว่า “เริ่ม:ธันวาคม 15” น่าประหลาดใจ ผมถามผู้ชายที่อยู่ใกล้ๆ ว่าทำไมช่วงเวลาที่จะเริ่มมันถึงได้ช้านักล่ะปีนี้ เค้าตอบ “เพราะว่าจะมีการให้รางวัลโนเบล” 
ตอนนี้ผมรู้ว่าไฟกำลังเริ่มลุกไหม้อยู่ในห้องถัดไป ผมสะดุ้งแล้วรีบวิ่งลงบันไดผ่านไปหลายชั้น (ด้วยความเร่งรีบตื่นตระหนก) ในที่สุดก็ออกมาข้างนอกได้ มองย้อนกลับไป ผมเห็นชั้นสองของบ้านซึ่งเป็นที่มาร่วมประชุมกันถูกไฟไหม้หมด ผมเดินข้ามผ่านกราวด์เข้าไปสู่โรงรถ เห็นแท็กซี่กำลังรอผมอยู่ และคนขับเติมน้ำมันลงในถัง ผมเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จำได้ว่า “เขา” ก็คือ คนแปลกหน้า light-dark stranger ในทันทีทันใดผมก็รู้สึกปลอดภัย “บางทีเค้าอาจจะเป็นคนจุดไฟนั้นขึ้นเอง” ผมคิด แต่ไม่ได้พูดออกมา เขาพูดกับผมเบาๆ ว่า “ตอนนี้คุณเติมเชื้อเพลิงได้แล้ว เพราะว่าชั้นบนไฟไหม้แล้ว ผมจะพาคุณไปในที่ซึ่งเป็นที่ของคุณ” แล้วเค้าก็ขับรถพาผมออกไปแวน ออคีเลนส์ วิเคราะห์ฝันว่าเป็นการผ่านเปลี่ยน (transformation) เพาลีเข้าไปอยู่ในการประชุมทางฟิสิกส์คณิตศาสตร์ การประชุมจัดขึ้นชั้นบน แสดงให้เห็นว่ามันเป็นโลกที่ขาดการเชื่อมต่อกับพื้นดินฐานล่าง (ground floor) ของความเป็นจริง แล้วกลายเป็นว่าคนที่ได้รับอนุญาติให้เข้าไปให้ความหมายกับสสารได้นั้นเป็นเพียงนักฟิสิกส์ทฤษฎี แต่เพาลีได้ใช้ศิลปะในการปรุงแต่ง สัญญลักษณ์ของการประชุมประจักษ์ในโลกแห่งสสารซึ่งถูกเผาไปในเตาไฟของการแปรเปลี่ยนวัตถุดิบของสสารไปสู่วัตถุแห่งโมเดิลเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นการสัมมนาทางทฤษฎี 
แล้วไฟก็ดับหลังจากเพาลีออกมา ขับพาเขาออกมาจาก “หอคอยงาช้าง” เขาต้องหลบหนีลงไปสู่พื้นดินเบื้องล่าง ฐานของความเป็นจริง ที่ซึ่งคนขับแท็กซี่รอเขาอยู่ เค้าจำหน้าคนขับได้ก็เป็นเหมือนสัญญลักษณ์ของ psyche-spirit !! เพาลีเริ่มผ่อนคลายและล้มเลิกทฤษฎีทางฟิสิกส์ของเค้าแล้วตามคนขับแท็กซี่ไป ไม่กับเค้าไม่ว่าเค้าจะพาไปไหน สมมุติว่าเป็นดินแดนแห่งสปิริต เมื่อเพาลีตื่นขึ้นจากความฝัน เค้ากล่าวว่า “ผมตื่นด้วยความรู้สึกซึ่งผ่อนคลายอย่างที่สุด และมันดูเหมือนว่าผมได้สร้างความก้าวหน้าอันสำคัญยิ่งในงานของผมขึ้นมาแล้ว”

คำๆ นี้ ความก้าวหน้า หรือที่เค้าใช้คำว่า “progress” เนี่ย .. มันช่างประกอบด้วยแบบแผนพลังงานอันตึงเครียดจนสัมผัสได้เลยจริงๆ เวลาที่ใครถามว่างานของคุณก้าวหน้าไปรึเปล่า หรือวันนี้คุณทำอะไรที่มัน progress บ้างรึยัง? .. แต่การตื่นขึ้นของเพาลี ก้าวหน้า ก้าวสำคัญอย่างผ่อนคลาย .. ช่างเป็นอะไรที่รื่นรมย์ซะเหลือเกิน ดินแดนสปิริตนี้คือบ้านของคนแปลกหน้า ตอนนี้เพาลีได้เข้าไปสู่ดินแดนแห่งนั้นแล้ว แต่เพาลีก็ยังมีความเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีอยู่มาก ในจดหมายถึงเอมมา ยุง (ภรรยาของคาร์ล ยุง) เขาแสดงความเห็นว่าฝันถึงคนแปลกหน้านั้นเป็นความลังเล แสงของสปิริต ปัญญาอันยิ่งใหญ่ และ chthonic (underworld) สปิริตของธรรมชาติ การแสดงออกของคนแปลกหน้านั้นเต็มไปด้วยความมั่นใจเสมอ คำพูดของเขาเป็นข้อสรุปของความคิดที่บ่อยครั้งไม่สามารถจะเข้าใจได้ 
เพาลีในฝันนี้แสดงความขอบคุณต่อคนแปลกหน้าซึ่งเป็นการแปรธาตุของแสง รู้จักกันว่าเป็น lumen naturae หรือเป็นแสงของธรรมชาติซึ่งพบในระดับไร้สำนึก ลูกศิษย์ของยุง อิริค นิวแมนน์ เรียกแสงนี้ว่าเป็นแสง eros (เทพอีรอส หรือคิวปิด กามเทพของกรีก) แสงนี้จะพวยพุ่งออกมาจากอารมณ์อันรุนแรง ซึ่งเรียกว่าเป็น feeling-tone constellations (กลุ่มโทนแสงของความรู้สึก) ที่อยู่ในระดับไร้สำนึก
แสงนี้ไม่ได้เป็นแสงของ logos (หรือวิชาความรู้ที่ใช้เหตุผล) และมาปรากฏในฝันของเพาลีเพื่อบอกเค้าว่าทัศนะเกี่ยวโลกของเขานั้นห่างไกลจากความสมบูรณ์ เพาลีรู้ด้วยการมีส่วนเข้าไปร่วมของเขาว่ามันเป็น “สติสัมปชัญญะของฟิสิกส์” แต่เพาลีขณะนี้เค้ารู้ผ่านบทสนทนากับคนแปลกหน้าแล้วว่าความรู้ของเค้าในเรื่องนี้มันไม่สมบูรณ์ ตามที่ในฝันแนะนำว่าเขานั้น “totally uneducated” คือไร้การศึกษาโดยสิ้นเชิง
นั่นมันเลยเป็นเหตุให้ eros หรือกามเทพผ่านเข้ามาสู่ชีวิตของเพาลี ความฝันถึงผู้หญิง เธอคือความลึกลับดำมืดชั่วนิรันดร เป็นสัญญลักษณ์ที่จิตตะวันตกไม่อาจเข้าถึง ตาหยี ผู้หญิงชาวจีน คนที่จะมาพาเค้ากลับเข้าไปสู่ตัวของเค้าเอง โดยผ่านการทรานสฟอร์มเข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียว whole being
ตอนต่อไปเป็นเรื่อง เพาลีกับอีรอสเพาลีกับอีรอส
ในเดือนมกราคม 1951 เพาลีตกหลุมรักกับมาเรีย หลุยส์ วอน ฟรานซ์ ซึ่งเธอเป็นผู้ร่วมงานของยุง ตอนนั้นวอน ฟรานซ์อายุ 36 ปี กำลังประสบความสำเร็จในการพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกในเรื่องของจิตไร้สำนึก ก่อนที่ความรู้สึกของเขาซึ่งมีต่อวอน ฟรานซ์จะถูกพัฒนาขึ้นมา เพาลีเคยพยายามที่จะสร้าง “ภาษากลาง Neutral” ที่จะช่วยทำให้เค้าได้เข้าสู่การรวมแนวความคิดของโมเดิลฟิสิกส์และจิตวิทยา รวมไปถึงปรจิตวิทยาด้วย (parapsychology การศึกษาค้นคว้าเรื่องปรากฏการณ์ทางจิตที่ยังอธิบายไม่ได้) เพาลีรู้ผ่านความรู้สึกของเขาที่มีต่อเธอว่าคงจะต้องล้มเหลว เขาไม่สามารถติดตามนามธรรมซึ่งบัญชาไว้ในวิถีการเรียนรู้เชิงเหตุผลสมัยใหม่ได้ เขารู้สึกว่าเขาจำเป็นต้องมีอีรอส (คิวปิดหรือกามเทพ) มาช่วย 
แม้กระนั้นวอน ฟรานซ์ก็ยังทำงานกับเพาลี ช่วยเขาแปลภาษาลาตินที่ยังไม่เสร็จในงานของเขา ของ Fludd กับ Kepler ถึงอย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วเพาลีเป็นนักฟิสิกส์และวอน ฟรานซ์ เป็นนักจิตวิทยา ความสัมพันธ์แค่ทำงานด้วยกันนั้นไม่เพียงพอสำหรับเขา มันปรากฏชัดว่าความสัมพันธ์ของเขาและเธอกลายเป็นบางสิ่งที่มากกว่าอาชีพ แต่นั่นมันกลายเป็นมากเกินไปสำหรับเพาลี เขาสัมผัสได้ว่าความรักที่มีต่อเธอนั้นมีความสำคัญและมีความหมายทางจิตวิญญาณอย่างลึกล้ำ จนกระทั่งมันทำให้เพาลีปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ให้มันเป็นมากกว่าสปิริตของความรัก หรือมากกว่า amor vulgaris เพาลีดูเหมือนอยากจะออกจากความสัมพันธ์ในรูปแบบของความรักกับวอน ฟรานซ์ และเธอก็เตรียมที่จะเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสัมพันธ์กับเค้าด้วย
แต่ทำไมมันถึงเปลี่ยนล่ะ? อะไรมาขับเคลื่อนเพาลี ทำไมเขาถึงปรารถนาที่เปลี่ยนความรักของเขากับเธอจาก physical love ไปเป็น purely spiritual love ล่ะ .. เป็นอีกครั้งที่เราจะต้องดูกลับไปที่ light-dark stranger ในฝันของเพาลี เขาแสดงลักษณะของเพศชาย ซึ่งบางทีดูคล้าย ankle-winged Mercury (เทพเมอคิวรี่ย์) หรือเป็นผู้ส่งสารของเทพเจ้า ลักษณะเทพนี้ยั่วเย้าเพาลี เขาให้เพาลีคุกเข่าลงยอมรับการตัดสินใจของเขาผ่านคิวปิด แต่บอกให้เพาลียกตัวเขาเองให้สูงขึ้นเพื่อให้มองเห็นแสงซึ่งเหนือกว่าสสารทั้งหลาย เป็นแสงแห่งสปิริต
แต่เพาลีก็ยังถูกขับเคลื่อนด้วยวิถีแห่งเหตุผลของผู้ชาย ระหว่างสามปีของความสัมพันธ์ของเขากับวอน ฟรานซ์ เพาลีคงความซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวเขาเอง แต่เขาก็ยังอ้อยอิ่งในปาฐกถาทางพุทธิปัญญาของเขา เค้าต้องการที่จะเข้าใจถึงการขาดหายไปของวิญญาณในทัศนะการมองโลกแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เขาพบว่า meditation เหมาะสมมากกว่าในการที่จะใช้ในการแสดงออกทางวิญญาณ มากกว่าความต้องการภาษากลาง neutral language ของเขาซะอีก ในจดหมายถึงวอน ฟรานซ์ เขาเขียนว่า
นานเหลือเกิน ผมอยากจะเขียนถึงคุณเพื่อสื่อสารจากอารมณ์อันมั่นคง ซึ่งเป็นการหลอมรวมกันของทัศนะที่ยืนกรานตัวของมันเองอยู่ข้างในของผม มันสั่งให้ผมแสดงออกมา ผมจะต้องเขียนบนวิถีของความอยากรู้อยากเห็น ครึ่งนึงเป็นแฟนตาซี อีกครึ่งเป็นเหตุผล ในหนทางของ “สมาธิ” ที่กำลังพัฒนาอยู่ ทั้งมันยังประกอบด้วยสองความฝันที่คุณยังไม่รู้
แล้วเพาลีก็เขียนถึง การทำสมาธิของเขา ว่ามันคือชิ้นส่วนแปลกประหลาดของงานที่เขาอุทิศให้ความสัมพันธ์ของเขากับวอน ฟรานซ์ มันประกอบด้วย meditative กับ imaginative ซึ่งมันจะเป็นคำตอบทั้งหมดสำหรับปัญหาที่เค้ากำลังปลุกปล้ำคลุกคลีกับมันมาตลอด บุคคลิกภาพของ “คนแปลกหน้า” ที่ตอนนี้ถูกเรียกว่าเป็น “the master” แทนที่ความขัดแย้งกับบุคคลิกภาพความเป็นมาสเตอร์ของเพศชาย ก็มีผู้หญิงปรากฏขึ้นมา เธอเป็นครูสอนเปียโน และเธอเข้ามาไกล่เกลี่ย ประนีประนอมระหว่างเพาลีกับมาสเตอร์ของเขา, ตัวตนที่สูงกว่าของเขา (higher self) เขาเรียกงานชิ้นนี้ของเขาว่า (The Piano Lesson - An Active Fantasy about the Unconscious) 
ต่อไปเป็นเรื่องบทเรียนเปียโนพ้นกาลอวกาศอ้าา.. เพาลีกับแหวน และครูสอนเปียนโน .. จำได้ว่าเรื่องนี้มินเดลก็เล่าไว้ใน qunatum mind แต่เค้าพูดสั้นนิดเดียว อ่านแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ พ่อมดว่าไว้สามหน้าเต็มๆบทเรียนเปียนโนข้ามพ้นกาลอวกาศ
บทเรียนในฝันนี้ เพาลีดูเหมือนจะอยู่ในโลกซึ่งปรากฏอยู่นอกกาลอวกาศ ที่ซึ่งเขาได้พบกับหญิงสาวที่เป็นครูสอนเปียโน เธอขึ้นอยู่กับมาสเตอร์ แล้วก็ทำตามมาสเตอร์นี้ทุกอย่างโดยไม่เคยมีคำถาม แต่เมื่อเพาลีมาเรียนเปียโนกับเธอ เธอได้มอบโอกาสในการพัฒนาอิสรภาพให้มากขึ้น ในการแสดงบทบาทตรงกลางระหว่างเพาลีกับมาสเตอร์
เปียโนเป็นสัญญลักษณ์พิเศษเฉพาะตรงนี้ ในโลกนี้ เป็นสัญญลักษณ์ที่ถูกสร้างสรรขึ้นมา แต่โลกนี้ก็ถูกผ่าแบ่งออกเป็นสอง นักวิทยาศาสตร์ยึดครองคำว่า Creation แต่ไม่ใช่ดนตรี พวกเขาอ่านโน๊ตแต่ล้มเหลวในการฟังเพลง ผู้หญิงเล่นเปียนโนเป็นสัญญลักษณ์ของ feminine ที่อยู่ฝ่ายดนตรี และไม่เป็นการจัดการทางระบบเหตุผลของโน๊ต
เพาลีเข้าตรรกะของดนตรีแต่ไม่สามารถจะเล่นเปียโนได้ เขาอ่านชีทดนตรี เขารู้ว่าการจัดการเชิงตรรกะของโน๊ตคือการสั่นไหว (vibration) แต่เขาไม่สามารถแสดงออกมาเป็นความงามและเสียง ดังนั้นเขาก็ต้องเรียนบทเรียนเปียนโน หมายถึงเขาต้องพัฒนาความเป็นผู้หญิงของเขา ตรงความรู้สึกที่อยู่ข้างใน
ครูเปียนโนนี้แน่นอนว่าคือ anima (ต้นแบบเพศหญิง) ของเพาลี วิญญาณของความเป็นหญิงของเขา เธอมองดูคล้ายกับมาเรีย หลุยส์ วอน ฟรานซ์ (เพียงบางครั้ง) แต่ส่วนใหญ่แล้วเธอจะเป็นผู้หญิงจีนตาชั้นเดียวเรียวเล็ก เป็น exotic หรือส่วนที่ซ่อนเร้นของเพาลี เธอดูเหมือนจะอาศัยอยู่ในจิตไร้สำนึกของเขาอย่างปลอดภัยจากเหตุผลเชิงตรรกะอีโก้ของผู้ชาย ใบหน้าชาวจีนของเธอก็เป็นสัญญลักษณ์ความลี้ลับของตะวันออก อีกครึ่งหนึ่งของหยิน-หยาง เพาลีมักจะอ้างอิงถึงจีนเสมอว่าเป็น “อาณาจักรที่อยู่ตรงกลาง” นี้มีความหมายกับเพาลีว่าอยู่ตรงกลางของ self-psyche (อ้างอิงโค้ดโดยยุง ในบทต้นของหนังสือ)
ในสตูดิโอ เพาลีคุยกับครูของเขา ทั้งสองช่วยกันและกัน พวกเขาร่วมกันในเรื่องที่ว่าทำอย่างไรโลกจะสามารถเป็นทั้งสองอย่าง ทั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ดูเหมือนจะเป็นตรรกะอันเย็นชาและสัมผัส ความรู้สึก โลกแห่งความหมาย เป้าประสงค์ และอารมณ์
แต่ในตอนท้ายของการสนทนากับ “สุภาพสตรี” ของเขา เพาลีก็รู้สึกเศร้าขึ้นมาอีก เพาลีเหมือนโมเสสเห็นดินแดนของมาสเตอร์ของเขา เป็นบ้านทางจิตวิญญาณของเขา แต่ก็กลัวว่าจะไม่เคยได้ผ่านเข้าไป เขาสัญญากับเลดี้ของเขาว่าเขาจะพยายามสื่อสารเป็นภาษาฟิสิกส์ถึงมาสเตอร์ แล้วเพาลีก็ได้ยินเสียงมาสเตอร์ของเขาพูดด้วยเสียงที่เป็นมิตรว่า “นั่นเป็นอะไรที่ฉันรอคอยมาตั้งนานแล้ว” เพาลีตอนนี้อยากจะออกไปจากห้องเรียนเปียนโน เค้าโค้งคำนับสุภาพสตรี แต่มาสเตอร์ก็พูดกับเพาลีว่า “Wait ..Transformation of the center of evolution” การแปรเปลี่ยนของศูนย์กลางแห่งวิวัฒนาการ..
และเพาลีก็กล่าวว่า “In earlier times one said, ‘Lead transforms in to gold” ในก่อนกาลตนกล่าวว่า ตะกั่วกลายเป็นทองคำ..
ตอนต่อไปชื่อ แหวนแห่งจินตนาการแหวนแห่งจินตนาการ
บทเรียนเปียนโนจบลงอย่างนี้...
ณ ขณะที่เลดี้ถอดแหวนออกจากนิ้วของเธอ ตอนที่ผมไม่ทันได้เห็น เธอปล่อยให้มันลอยอยู่ในอากาศและสอนผมว่า “ฉันสงสัยว่าคุณคงรู้จัก แหวนนี้ จากคณิตศาสตร์ในโรงเรียน มันคือวงแหวน i”
ผมพยักหน้า และพูดออกไปว่า
Pl: “The “i” ทำให้เกิดโมฆะและรวมเป็นหนึ่งเดียวกับคู่ (ของมัน) ขณะที่ในเวลาเดียวกันมันก็ควบคุมการหมุน 1 ใน 4 ของแหวนทั้งวง
Lady: มันทำให้เกิด สัญชาติญาณหรือการกระตุ้น (instinctive and impulsive) สติปัญญาหรือเหตุผล, จิตวิญญาณหรือเหนือธรรมชาติ ของสิ่งที่คุณกล่าว, เข้าสู่การรวมเป็นหนึ่ง (unified) หรืออภิปรัชญาแนวจิตนิยม (monadic) องค์รวม? ซึ่งจำนวนที่ขาด “i” ไม่สามารถแสดงได้ 
Pl: แหวนนี้กับ “i” คือการรวมเป็นหนึ่ง อย่างพ้นความเป็นอนุภาคและคลื่น และในขณะเดียวกันก็ควบคุมการกำเนิดของทั้งสองอย่างเหล่านี้ด้วย
Lady: มันคืออะตอม, สิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้, ในภาษาลาติน
พร้อมกับการกล่าว เธอมองมาที่ผมอย่างมีความหมาย แต่มันดูเหมือนว่าสำหรับผมแล้วไม่จำเป็นต้องพูด Cicero’s word (คำของนักพูดในสมัยโรมัน) สำหรับอะตอมให้มีเสียงดังออกมาหรอก
Pl: มันเปลี่ยนเวลาให้เป็นจินตภาพนิ่ง สถิตอยู่
Lady: มันคือการแต่งงาน และขณะเดียวกันมันก็เป็นอาณาจักรที่อยู่ระหว่างกลางด้วย, อาณาจักรที่คุณไม่อาจล่วงล้ำเข้าถึงได้ด้วยตัวเองคนเดียว ต้องเข้าไปเป็นคู่ 
มีการหยุดนิ่งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, เรากำลังรอคอยบางอย่าง..
แล้วก็มีเสียงของมาสเตอร์พูดขึ้นว่า .. transformed, from the center of the ring to the lady: แปรเปลี่ยน จากศูนย์กลางของแหวนสู่เลดี้ “Remain merciful” ... ดำรงไว้ซึ่งความเมตตา..
ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าผมสามารถออกไปจากห้องเรียน ไปสู่เวลาปกติและวิถีปกติประจำวันในกาละเทศะ
เมื่อผมออกมาข้างออก ผมสังเกตว่าตัวเองสวมเสื้อโค้ดและหมวก ได้ยินคอร์ท C-major ของสี่โทน CEGC ลอยมาไกลๆ แน่ใจได้ว่ามันถูกบรรเลงขึ้นโดยเลดี้ ด้วยตัวของเธอเอง เธอกลับไปเป็นตัวของเธอเองอีกครั้ง..ตอนที่เห็น "i" เมนึกถึงสองอย่างคือ imaginary number กับ imaginary time .. และตอนต่อไปก็คือ What the Ring of the Imaginaries Represents: Dreams and RealitiesWhat the Ring of the Imaginaries Represents: Dreams and Realities 
บางที นี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนในการค้นหาของเพาลีสำหรับการประนีประนอมทั้งหมดที่ผ่านมา ระหว่างสสารกับสปิริต the ring i. พ่อมดว่าเค้าเล่าไปบ้างแล้วเรื่องแหวน แม้จะไม่ได้อ้างถึงอย่างที่เห็น แหวนเป็นสัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนการเคลื่อนไหวซึ่งเกิดขึ้นในระนาบเชิงซ้อน (complex plane) ของจำนวนจริงกับจำนวนในจินตนาการ (real and imaginary numbers) คุณอาจจะสร้างจินตภาพถึงระนาบ การตัดกันของสองแกน ตั้งฉากอยู่บนกันและกัน จุดตัดเป็นเลข 0 บนแกนตั้งให้มาร์คเป็นอาณาจักรของจำนวนจริง และรันไปทั้งสองข้างจากจุดตัด คือเป็นทั้ง + และ - และที่ขวางแกนจำนวนจริงนี้ก็ให้เป็นอาณาจักรของจำนวนในจินตนาการ แทนด้วยสัญญลักษณ์ i ในทุกๆ จุดบนระนาบก็จะถูกมาร์คโดยค่าของทั้งสองจำนวนนี้ เป็นค่าของทั้งจำนวนจริงและจำนวนในจินตนาการ จำนวนจริงวัดได้จากว่ามันอยู่ไกลจากจุดของแกนจินตนาการอยู่แค่ไหน และจำนวนจินตนาการก็บอกว่าคุณอยู่ไกลจากแกนจำนวนจริงอยู่แค่ไหนด้วย
ไม่มีอะไรจะซับซ้อนไปกว่าแผนที่ซึ่งบอกคุณว่าคุณอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางของเมืองแค่ไหน? แกนซึ่งรันเป็นกากบาทตัดกันระหว่างเหนือ-ใต้ กับ ตะวันออก-ตะวันตก แสดงจุดศูนย์กลางของเมือง ในทุกๆ จุดบนแผนที่ บอกว่ามันเป็นที่อยู่ มันให้เทอมของจำนวนตัวเลขมากมาย หรือเป็นบล็อกตะวันออก ตะวันตกของเส้นเหนือ-ใต้ และตัวเลขมากมายหรือบล็อกเหนือหรือใต้ ของเส้นตะวันออก-ตะวันตก
แหวนในระนาบเชิงซ้อนแสดง transformation ถ้าคุณวาดวงแหวนด้วยเส้นรัศมี (เส้นที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปยังเส้นรอบวง) จุดศูนย์กลางวงกลมคือ 0 วงแหวนนี้จะตัดแกนจริงที่จุด +1 และ -1 และบนแกนจินตนาการก็เช่นกัน ที่จุด +i และ -i เป็นจุดที่เคลื่อนไปรอบๆ วงกลม จำนวนเป็นการแสดงแมกนิจูดเดี่ยวกันเสมอ เส้นรัศมีของวงแหวน แต่มันจะเปลี่ยนระยะเมื่อจุดเคลื่อนไหว นี่หมายความว่ามันเปลี่ยนผลรวมของทั้งจำนวนจริงและจำนวนจินตนาการเสริมกันไปด้วย ซึ่งนั่นทำให้ค่ารวมของมัน
วงแหวนสามารถจะคิดเป็นทั้งการเคลื่อนตัวของคลื่น (wave motion) เป็นคลื่นที่ผ่านวงกลมสมบูรณ์ การเปลี่ยนระยะของมันแสดงด้วยการเคลื่อนที่ของจุดบนวงแหวน...
บทที่กำลังเล่านี่เป็นบทที่ 18 พ่อมดบอกว่าในบทที่ 19 ถัดไปจะเล่าเรื่องคลื่นชโรดิงเกอร์ ซึ่งประกอบด้วย ionic currents (กระแสไอออน) ซึ่งปรากฏขึ้นใน brain cortex. โฮโลแกรมสามมิติของสมอง สามารถถูกสร้างขึ้นด้วยคลื่นเหล่านี้ และ phase ของคลื่นเหล่านี้ มันมีความสำคัญในการกำหนดความสามารถของโฮโลแกรมซึ่งสร้างความทรงจำขึ้นมาใหม่ phase นั้นสามารถสร้างภาพเป็นการเคลื่อนไหว ปัดภาพที่น่ารังเกียจออกไป แล้วตอนนี้ภาพนั้นถูกทำให้สมบูรณ์โดยไม่มีเคลื่อนที่ปัดออกของจากสิ่งที่น่ารังเกียจ มันเป็นแค่เพียงการเคลื่อนที่ของจุดบนวงแหวนแห่งจินตนาการในระนาบเชิงซ้อน
แม้กระนั้นการตีความความเป็นคู่ของคลื่น-อนุภาค ยังอยู่ในการถกเถียง นักฟิิสิกส์ทั้งหลายยังสำนึกถึงความจำเป็นที่ต้องมีการขยายความเป็นไปได้อันซับซ้อน ในการอธิบายธรรมชาติ ความจริง (ระดับ fact) ซึ่งจำนวนในจินตนาการไม่อาจถูกสังเกตในสนามกายภาพ หรืออนุภาคคือความลำบากลำบนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม มันอาจจะเป็นเพียงสนามของจำนวนจินตนาการที่รันอยู่ภายนอกตรรกะเหตุผลระดับเข้มข้นของความคิดเชิงตรรกะของเรา พวกมันหยาบ บางทีความเป็นผู้หญิง สปิริต “anima” ซึ่งพวกเรานักฟิสิกส์พบว่าจำเป็น และเป็นพลังชีวิตในระเบียบของการสร้าง “สัมผัส” ของโลกกายภาพ เราจำเป็นต้องมี จำนวนจิตนาการ แต่เราไม่รู้ว่าจะสร้างมันขึ้นมายังไง
เช่นสัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วงแหวน i เป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในวิทยาศาสตร์วันนี้ พอๆ กับกางเขนของคริสเตียน ในความเป็นจริงแล้วมันอาจจะเป็นไปได้แม้กระทั่งทำให้นึกไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ ซึ่งแกนตั้งของกากบาทแสดงโลกกายภาพ

เก็บความบางส่วนของ จักรวาลกำลังฝัน พ่อมดควอนตัม The Dreaming Universe / Fred Alan Wolf Ph.D. (ตอนที่ 2)

ต่อไปก็เป็นเรื่องซิงโครนิคซิตี้ของยุงและยุงได้รับอิทธิพลจากยุคเริ่มฟิสิกส์ใหม่อย่างไรบ้าง...
จักรวาลกำลังฝัน กำลังสนุก .. เหมือนได้กลับไปสู่ยุคนั้น กลับเข้าไปสัมผัสความคิดของบรรดาบุคคลในตำนานควอนตัม ... ยุงหลงใหล “ฟิสิกส์ใหม่” ซึ่งมันก็คือฟิสิกส์ที่ใหม่สำหรับเค้าในเวลานั้น ไอเดียแรกเกี่ยวกับซิงโครนิคซิตี้ของเกิดขึ้นระหว่างปี 1920 อันเป็นยุครุ่งเรืองของฟิสิกส์ใหม่ และเป็นการเริ่มต้นเรื่องระเบียบใหม่ (new order) แห่งตรรกะทางควอนตัม ยุงได้รับอิทธิจากนักฟิสิกส์อย่างนีล บอห์ร และวูล์ฟกัง เพาลี

บอห์รเริ่มตั้งเรื่อง “ระเบียบใหม่” ในโมเดลอะตอมของเค้า เค้าแสดงให้เห็นว่าอิเลคตรอนในอะตอมสามารถกระโดด “quantum jump” จากที่นึง (วงโคจร) ไปอีกที่ ก่อนที่จะมีเหตุอะไร (จู่ๆ ก็โดดไป) ในความเป็นจริง หลังจากนั้น บอร์หก็เป็นที่รู้จักขึ้นจาก quantum-jumping atomic model ที่มาก่อนกาลของเค้า และติดสัญญลักษณ์หยินหยางไว้ที่แขนเสื้อ เหมือนเป็นศูนย์กลางมันดาลาด้วย

วูล์ฟกัง เพาลี ยังเป็นนักฟิสิกส์หนุ่มผู้ปราดเปรื่องอยู่ในเวลานั้น พ่อมดว่าเดี๋ยวเค้าจะเล่าเพิ่มว่ายุงนั้นส่งอิทธิพลถึงวูล์ฟกัง ผ่านฝันของเพาลีเองด้วย เขาได้ตีพิมพ์แนวคิดใหม่ทางฟิสิกส์ซึ่งกลายมาเป็นแรงผลักดันความเข้าใจของเราเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมและความสามารถของอะตอมในการทำปฏิกริยาต่อกัน และฟอร์มโครงสร้างโมเลกุล ซึ่งมันถูกเรียกว่า Pauli exclusion principle (PEP)

ในปี 1952 เพาลีได้เข้ามาช่วยยุงในแนวคิดซิงโครนิคซิตี้ ถ้าวาดรูปกากบาท (ซึ่งมีเส้นแนวตั้งตัดกับแนวนอน และบนเส้นนั้นจะเป็นความสืบเนื่องเชื่อมโยงตลอดแนว) เส้นแนวตั้งปลายด้านบนจะแทนด้วยพลังงานที่ไม่มีวันดับสูญ (indestructible energy) ส่วนปลายล่างแทนด้วยกาลอวกาศอันสืบเนื่อง (space-time continuum) ตัดกับเส้นแนวนอนที่ปลายซ้ายแทนความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล (causality) ส่วนปลายด้านขวาก็คือซิงโครนิคซิตี้ (synchronicity) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแสดงแผนภาพอันวางสมมุติฐานด้านนึงอยู่บนฟิสิกส์ใหม่ และอีกด้านของบนจิตวิทยา
จากการฟังวีดีโอที่ลิงค์ก็พึ่งทราบว่าเพาลีนั้น mind collapse .. แปลว่าเสียจริต.. นั่นอาจเป็นเหตุ หรือมองได้ว่าเป็นเหตุ(หลักแห่งเหตุผลมาละ .. ) ที่ทำให้เค้าได้มาพบกับยุง ..พ่อหมอประสานก็เคยเล่าให้ฟังว่าเพาลีนั้น จะเดินพูดคนเดียวไปตามถนนเสมอ.... จักรวาลฝันต่อค่ะ... แนวความคิดนี้มันดูเหมือนจะตรงข้ามกัน พลังงานตรงข้ามกับกาลอวกาศ เช่นเดียวกับที่ความเป็นเหตุเป็นผลอยู่ตรงกันข้ามกับซิงโครนิคซิตี้ ตอนนี้พลังงานกับกาลอวกาศเป็นวิถีที่เราใช้อธิบายประสบการณ์ “ข้างนอก” .. พวกมันเป็นเฟรมเวอร์คที่ใช้สะดวก เราตั้งมันขึ้นมาเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของเหตุการณ์.. เหตุการณ์ซึ่งพลังงานแบบเดียวกันไม่สามารถจะอธิบายได้ด้วยความแน่นอนภายในกาลอวกาศ เหตุการณ์ซึ่งดูเหมือนเกิดภายใต้กาลอวกาศแต่ไม่ได้เป็นการสงวนพลังงาน เหตุผลที่ขัดแย้งนี้อยู่ในหลักความไม่แน่นอน principle of uncertainty หรือ indeterminism (หลักการที่ไม่เชื่อว่ามีการกำหนดความเป็นไปเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว) ซึ่งต่อยอดโดย Werner Heisenberg.

เพื่อขยายเพิ่มเติมจากที่เรารู้เรื่องพลังงาน อย่างในการเรียงลำดับความสัมพันธ์สืบเนื่อง (เป็นเหตุเป็นผล) ของเหตุการณ์ แต่เราไม่รู้ว่ามันมีการประสานกันอยู่ภายในกาลอวกาศ นั่นคือเราไม่อาจบอกได้ว่าพวกมันจะเกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไหร่ แต่ถ้าจะให้เรารู้ได้ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ ที่เหตุการณ์จะเกิด ก็จะไม่อาจบอกได้อีกว่าอะไรคือพลังที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น เรื่องพวกนี้พูดเอาไว้มากแล้วในหลักแห่งความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก

กาลอวกาศและพลังงานเป็นส่วนเสริมเติมกันนั่นคือสิ่งที่มาอธิบายเหตุการณ์ ซึ่งเป็นลักษณะอันคล้ายคลึงกันของซิงโครนิคซิตี้และเหตุผลสัมพันธ์ ซึ่งเสริมเติมกันและกันอยู่ พวกมันจัดความเป็นไปเช่นเดียวกับที่พลังงานและกาลอวกาศกระทำกับเหตุการณ์ เหตุการณ์เหล่านี้ถูกระบุโดยส่วนประกอบทางจิตพอๆ กับส่วนประกอบทางกายภาพ มันเป็นประเด็นสำคัญอันยุ่งยากของสสาร จิตวิญญาณตะวันตกจะให้ความสำคัญก็ต่อเมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นถูกติดป้ายของเหตุผลเข้าไปแล้ว (นึกถึงป้ายบนขวดยาที่อลิสดื่มแล้วทำให้ตัวใหญ่ขึ้น หรือไม่ก็เล็กลง ช่างสมเหตุสมผลจริงๆ) โดยการหลงลืมหรือยกเลิกเรื่องมิติอื่นของความหมายสมบูรณ์ไป ที่จริงแล้วเรากลายเป็นจิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล นี่คือแนวคิดสำคัญที่เรายึดมั่นเรื่องจักรวาลความฝัน ขั้นแรกเราต้องเริ่มต้นมองว่าความฝันและการตื่นไม่ได้ถูกแบ่งแยกพอๆ กับการปรากฏของความคิดเชิงตรรกะของเรา เป็นที่น่าสังเกตว่าเราแบกความคิดเรื่องแบ่งแยกนี้ไว้ในตรรกะสมบูรณ์แบบ (perfect logic)
วันนี้ Fibonacci Day 5 / 8 /13 ตามระบบคณิตศาสตร์ซึ่งค้นพบโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน .. ผลรวมของเลขตัวที่อยู่ข้างหน้าสองตัว จะเท่ากับเลขตัวที่สาม 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21... เมื่อนำมาพล็อตลงผังก็จะได้ลวดลายสไปรัล, fractal .. เสี้ยวส่วนแบบแผนของธรรมชาติ .. ก็คงเป็นระบบเหตุผลทางคณิตศาสตร์ .. “..ฉันจะให้เหตุผลกับเธอเพื่อใช้ทำความเข้าใจในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล..” ประโยคที่อ่านเมื่อวานนี้ดังก้องขึ้นมา ... 
ดังนั้น การเข้าใจปัญหาหลังเหตุมันเกิดขึ้นแล้ว เป็นระบบเหตุก่อผล แต่.. พ่อมดบอกว่า อนาคตนั้นเป็นเหตุอันมาร่วมก่อปัจจุบันด้วย .. ระบบคิดเชิงเหตุผลก็คงพอรับได้บ้าง บางระดับเท่านั้น อย่างไรก็ตามนายคนชื่อเดียวกันกับแกนี้ก็เขียนตัวอย่างเดียวกับแกก่อนที่แกจะเขียนซะอีก นี่ไงล่ะซิงโครนิคซิตี้ ที่เป็นประสบการณ์ตรงของเฟรด อลัน วูล์ฟ ซึ่งแกใช้คำว่า “handshake” ซึ่ง across time มา take place .. คำว่าจับมือเขย่า นี่ก็พาเรากลับไปนึกถึง standing wave... ซึ่งเป็นคำที่เอ็ดกา มิเชลใช้อธิบายเพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพ คลื่นมาสอดบรรสานกัน จนจุดสูงสุดและต่ำสุดของยอดคลื่นขนานกันพอดี (หากลากเส้นเชื่อมก็จะเกิดเส้นขนาน) การจับมือกันอย่างข้ามกาลเวลา แล้วมาปรากฏ.. take place.
เช้าวันนี้ ไปหยิบ The Red Book มาพลิกๆ ดูภาพมันดาลา เสร็จแล้วก็รู้สึกว่า อะไรนะ!! ที่จะมาเชื่อมต่อกับซิงโครนิคซิตี้ที่พ่อมดเฟรด อลัน วูล์ฟ เขียนเอาไว้ .. ก็เลยกลับไปอ่านกระทู้เก่า double signal, double standard, double slit experiment ที่เคยเขียนไว้ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2011.. แล้วก็ลืมไป เป็นกระทู้ที่ยาวมาก เขียนกันข้ามปีเลยทีเดียว .. สิ่งที่พบก็คือ เราไปหยุดฝันสุดท้ายของยุง (Jung's Last Dream : synchronicity ที่มินเดลเขียนไว้ใจจิตควอนตัม quantum mind) แล้วไปต่อด้วยการอ่านจักรวาลกำลังฝันของพ่อมด เสร็จแล้วก็กระโดดข้ามไป กระบวนการจิต (process mind) แล้วก็ไม่กลับมีอีก .. คือไปแล้วไปเลย .. ทีนี้มาอ่านพ่อมดอีก พอหยุดพักวันสองวัน.. เฮ้ยๆ อะไรมันขาดไปนี่หว่า มันยังไงๆ อยู่นะ คำตอบตอนนี้ก็คือ .. จะต้องวนไปทวนสั้นๆ เพื่อจะวนต่อ ฝันสุดท้ายของยุงนี่แหละ น่าจะเกี่ยวกับการนัดพบ คุยกัน วันที่ 29 ด้วย .. ความฝันสุดท้ายของยุง

I simply believe that some part of the human self or Soul is not subject to the laws of space and time.- Carl Jung

ผมก็แค่เชื่อว่าบางส่วนของตัวตนมนุษย์หรือวิญญาณไม่ได้เป็นไปตามกฏของพื้นที่และเวลา -คาร์ล ยุง

มินเดล เล่าว่าเขาไปถึงซูริคในวันที่ 13 มิถุนายน 1961 หลังจากที่ยุงตายไปได้ 6 วัน นั่นเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนในแวดวงของยุง ไม่ว่าจะเป็นญาติสนิทมิตรสหาย ต่างพากันโศกเศร้าจากการสูญเสีย บรรดาลูกศิษย์ก็พูดคุยกันถึงช่วงเวลาสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา
ในความฝัน ครั้งสุดท้ายก่อนตาย ยุงฝันว่าเขาเดินทางผ่านเข้าไปในพื้นที่พิเศษ พยายามค้นหาสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งจะมาช่วยให้เกิดความเข้าใจใน synchronicity พื้นที่พิเศษนั้นแสดงอย่างชัดเจนว่าเขากำลังเดินไปข้างหน้า แต่ก็มีกระจกที่ทำให้มองย้อนกลับหลังไปได้ และมีรูปทรงสามเหลี่ยมอยู่โดยรอบ

ยุง ฝันถึงเรื่องการสะท้อน (reflection) และเรื่องของสามเหลี่ยม เรขาคณิตแบบยูคลิด และแบบที่ไม่ใช่ยูคลิด เกี่ยวกับความหมายของเวลาและอวกาศ มินเดลบอกว่าในบทนี้เขาจะชวนผู้อ่านสืบค้นและพูดคุยอัพเดทแนวคิดของยุง เกี่ยวกับเรื่อง synchronicity 
ก่อนตายยุงศึกษาเรื่องพื้นฐานร่วม (common ground) ระหว่างจิตวิทยา, ฟิสิกส์ และซิงโครนิกซิตี้ กับวูล์ฟกัง เพาลี (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล) ในงานรวมข้อเขียนของเขา (เล่มที่ 8 ย่อหน้าที่ 845) ยุงบอกว่าซิงโครนิกซิตี้หมายถึง “a meaningful coincidence of inner and outer” ความประจวบเหมาะที่เต็มไปด้วยความหมายของภายในกับภายนอก ยุงบอกว่า หลักการของซิงโครนิกซิตี้อยู่บนสมมุติฐานว่ามีความพัวพันอันเป็นสากล หรือความเป็นหนึ่งเดียวกันของเหตุการณ์อันไม่มีมูลเหตุที่สัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันเลย มันเป็นการวางหลักของทิศทางการดำรงอยู่อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งเคยถูกอธิบายไว้แล้วเป็นอย่างดีใน “Unus Mundus” (ภาษาละตินแปลว่า โลกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน) และในความหมายของซิงโครนิคซิตี้ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ก็อยู่ในระดับ แห่งประสบการณ์ความเป็นจริงพ้นสมมุติ (non-consensus experience) ขณะที่ผู้สังเกตรู้สึกว่ามีสองเหตุการณ์อันไม่สัมพันธ์กันอยู่ในความเป็น จริงระดับ CR ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับอีกเหตุการณ์โดยผ่านความหมายระดับ NCR และเหตุการณ์นั้นๆ ได้ให้ประสบการณ์กับผู้สังเกตุอย่างเป็นหนึ่งเดียว นั่นก็คือ “one world” หรือนัยยะของความพัวพันอันเป็นสากล (interconnections)
สามสิบปีที่ผ่านมา มินเดลได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Unus Mundus และ synchronicity ในหลากหลายรูปแบบ ขั้นแรกเขาฝังตัวเองลงในความเชื่อมโยงระหว่างความฝันกับร่างกาย แล้วถัดมาก็ศึกษาเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างการทำงานของร่างกายและความ ตึงเครียดในระดับโลก
เดี๋ยวคนอ่านใหม่จะไปติดที่เรขาคณิต(แบบไม่เป็นยูคลิด) .. เอามาเสริมให้อีกหน่อยค่ะ ดูภาพยุงประกอบไปด้วย.. มินเดลให้เรขาคณิตแบบ Euclidean และจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เปรียบกับ เรขาคณิตแบบ non-Euclidean และวิถีพ่อมดหมอผี เขาอธิบายว่าจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมศาสตร์นั้นเวอร์คในระบบ การเชื่อมต่อเชิง เส้น ขณะที่วิถีพ่อมดนั้นจะเวอร์คกับระบบซึ่งไม่เป็นเชิงเส้น เคลื่อนไหว บิดงดพื้นที่ และเข้าสู่สภาวะจิตอันล้ําลึกได้
เขาว่าพวกเราก็หักเห เข้าสู่วิถีพ่อมดได้บ้างอย่างเช่นตอนที่เรานอนหลับ เต้นรํา สร้างจินตนาการ หรือ กําลังสนุกสนาน ในการเข้าสู่ภวังค์ทางจิตนั้นพื้นที่และสสารทั้งหลายจะดูเสมือนโค้ง งอ แนวความคิด เชิงเส้น ชีวิตที่เป็นเส้นตรงดูจะมีข้อจํากัด อย่างที่ครั้งหนึ่งเอมมี่กับอาร์นี่ ทดลองใช้ LSD แล้วสอง คนขับรถเรียบชายฝั่งโอเรกอน แล้วได้ประสบการณ์ที่ไม่ธรรมดา คือเห็นว่าถนน (ที่เป็นเส้นตรง) อยู่ เบื้องหน้า โค้งงอ (คล้ายยูเทิร์นกลับหัวในอากาศ) เขาสรุปว่าสัมผัสเกี่ยวกับการบิดโค้งงอของกาล อวกาศของเรานั้นขึ้นอยู่กับ สภาวะทางจิต นักจิตวิทยาและพ่อมดส่วนใหญ่รู้ดีว่าจักรวาลเป็นสถานที่ ซึ่งโค้งงอ ลักษณะรูปร่างของพื้นจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นกับมวลสารที่อยู่ใกล้ๆ และระดับของสภาวะทาง จิตซึ่งคุณดํารงอยู่ อย่างที่นักฟิสิกส์เรียกว่ามวลกับการบิดงอของพื้นที่ ส่วนนักจิตวิทยาจะเรียกว่าจิต กับประสบการณ์ ประสบการณ์เข้มข้นมากเท่าไหร่ การรับรู้มวลสสารก็จะยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น อย่าง การรับรู้ว่าถนนบิดงอกลับหัวได้นั้นก็เป็นสัมผัสรู้ถึงความโค้งงอของ แรงดึงดูด เรามีประสบการเกี่ยว กับพื้นที่อย่างเป็นเชิงเส้นสามมิติในชีวิตประจําวันของ เราขณะที่อาจมีประสบการณ์เกี่ยวกับมิติที่สูง กว่านั้น อย่างไฮเปอร์สเปซ หรือกาลอวกาศในภวังค์
ความฝันอาจจะเกิดขึ้นในไฮเปอร์สเปซ์ แต่ก็สอดแทรกอยู่ในกิจกรรมประจําวันของเราด้วย ชนเผ่าพื้น เมืองทั่วโลกให้ฝันชี้นําชีวิต หรือเอาชนะเกมส์การแข่งขัน (อย่างที่คนไทยเรามักฝันถึงเลขหวย ฯลฯ) ต่างจากการที่คนสมัยใหม่อย่างเราๆ คิดถึงแต่เพียงความเป็นไปในเชิงเส้น วิเคราะห์และตรวจวัดได้ มันเหมือนกับการรอคอยของความว่างเปล่าที่ปรารถนาการเติมเต็ม ด้วยแผนการและโปรแกรม มินเด ลบอกว่าถ้าเราไม่สนใจสภาวะเสมือนฝัน เราก็ไม่รู้จัก “power spots” (พื้นที่หรือจุดบรรจบแห่ง พลัง?) หรือบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชนเผ่าและผู้มีสัมผัสอันละเอียดอ่อนสัมผัสได้
จะรับรู้พื้นที่แห่งพลังได้ก็ต้องเข้าสู่ภวังค์ สัมผัสภูมิปัญญา แล้วเราก็จะมีประสบการณ์ระดับความจริง พ้นสมมุติ กาลอวกาศ กับหลักเกณฑ์อันจําเป็นสําหรับเราในการที่จะนําพาชีวิตอย่างสอดคล้องกับตัว ตน อันลึกล้ําที่สุดของเรา และส่วนที่ยังเหลือ (ไม่ถูกสํารวจ) ของจักรวาล
เรขาคณิตแบบไม่ใช่ยูคลิดอธิบายว่า อวกาศโค้งงอ ส่วนแบบยูคลิดว่าตามกฏ c กําลัง 2 = a กําลัง 2 + b กําลัง 2 นั้นใช้การได้เฉพาะแต่ใน flat world (โลกแบนๆ) หรือในโลกรอบๆ ตัวเราที่มันดู เสมือนแบนราบ ทะเลสาบเล็กๆ ก็ดูราบเรียบ จนถึงสมัยโคลัมบัส พวกยุโรปก็ยังรู้สึกว่าถ้าล่องเรือไป ไกลๆ จะตกขอบโลกได้ (มินเดลระบุว่า โลกใกล้ๆ ตัวเรา มันมีความเข้มข้นของสนามที่ทําให้สสารดู เสมือนสมบูรณ์ชัดเจน ทึบตัน) แต่ถ้าโลกของเราใหญ่ขึ้น มีสสารมากขึ้น เราก็ต้องใช้ระบบเรขาคณิต แบบไม่ใช่ยูคลิดมาอธิบาย คือจะต้องเอาเวลา (มิติที่สี่) รวมเข้ามาด้วย ไม่ใช่แค่กว้างคูณยาวคูณสูง มินเดลชวนให้พิจารณาสูตรหนึ่งของระบบใหม่ที่ใกล้เคียงแบบยูคลิด (ซึ่งน่าจะทําให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น) คือสูตร space-time separation ซึ่งเราแทนค่าการแบ่งแยกกาลอวกาศนี้ด้วย s, แทนค่า time- like factor ด้วย b และแทนค่า space-like factor ด้วย a แล้วถ้าว่ากันตามแบบยูคลิด ก็จะเป็น s กําลัง 2 = a กําลัง 2 + b กําลัง 2
แต่ถ้าไม่ใช่ยูคลิดล่ะ ต่างกันนิดเดียว คือเป็น s กําลัง 2 = a กําลัง 2 – b กําลัง 2 ถ้าจะหาค่าก็ ต้องถอดรากที่สองของ (a กําลังสอง ลบ b กําลังสอง) ที่เป็นลบก็เพราะมันคิดตามระบบ conjugation (ซึ่งสะท้อนตัวของมันเอง) และ จุดต่างที่สําคัญตรงก็อยู่ตรงมันเป็น "ลบ" นี่แหละ มันมาจากการสะท้อน (เพราะจะสะท้อนได้ก็ คือมีการบิดให้โค้งงอย้อนกลับ) เมื่อโค้งงอแล้วก็พ้นสภาพแบนราบ และจะต้องเพิ่มพื้นที่ขึ้นมา เป็น พื้นที่จากการเพิ่มมิติของจินตนาการเข้าไปด้วย (ถ้าจะให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นก็ลองนึกภาพการส่องกระจก อีกครั้งนะคะ) นั่นเป็นเหตุที่ทําให้เราต้องนําระบบคอนจูเกชั่นมาใช้ มิติที่เพิ่มเข้ามานี้จะเชื่อมต่อเรา เข้ากับโลกความเป็นจริงพ้นสมมุติ สัมผัสโลกแห่งประสบการณ์ ตํานานปรัมปราอันจะเข้ามาทําให้ชีวิต เราบริบูรณ์
ที่ สําคัญคือโลกที่ไม่ใช่ยูคลิด (NCR –โลกความเป็นจริงระดับพ้นสมมุติ) นี้แตกต่างจากโลกที่เป็นยู คลิด (CR -โลกความเป็นจริงสมมุติ) ตรงที่ว่า เส้นตรงคู่ขนานสองเส้นจะมาบรรจบกันได้ ไม่เหมือน กับโลก CR หรือระบบยูคลิดใน flat land ที่บอกว่าเส้นคู่ขนานไม่มีวันบรรจบ และเหตุผลที่ทําให้ parallel lines มาบรรจบกันก็เพราะว่าอวกาศโค้งงอ นั่นเอง
นักฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ได้ทดสอบสูตรตามระบบที่ไม่ใช่ยูคลิดนี้แล้วโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ตรวจจับ ว่าอวกาศบิดงอด้วยการวัดแสงดาวซึ่งเดินทางเสมือนเป็นเส้นตรงนั้นโค้ง งอเมื่อมันเคลื่อนเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ จักรวาลของเราถูกบิดงอในบริเวณที่อยู่ใกล้ดาวเคราะห์ใหญ่ๆ   Lucid Experiences and Temporal Discontinuities: A Parallel World Theory: (Transpersonal Dreaming and Death: The Dreaming Universe by Fred Alan Wolf)
ประสบการณ์ลูซิดกับช่องว่างของเลาและทฤษฎีโลกคู่ขนาน บทที่ 16 ประสบการพ้นสภาพบุคคลและความตาย ในจักรวาลกำลังฝัน โดยเฟรด อลัน วูล์ฟ 

ก่อนจะเข้าเรื่องให้คำว่า “Transpersonal” ทำให้นึกไปถึงนักจิตวิทยาในดวงใจอีกคนนึง.. Stanislav Grof กับการต่อยอดประสบการณ์ของเค้า..

กลับมาที่พ่อมดควอนตัม.. เค้าบอกว่าอยากจะอธิบายทั้งประสบการณ์ฝันลูซิดกับช่องว่างของเวลาบนฐานของควอนตัมฟิสิกส์ ใคร่ครวญที่โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะสมมุติฐานโลกคู่ขนาน, ซึ่งสามารถล้อมกรอบไว้ทั้งสองประสบการณ์เลย
ก่อนอื่น อ้างอิงถึงการตีความโลกคู่ขนานของกลศาสตร์ควอนตัม ระบบควอนตันนั้นสามารถปรากฏในลักษณะของซุปเปอร์โพสิชั่น (superposition of state) อิเลคตรอนสามารถปรากฏเป็นจำนวนอนันต์ของตำแหน่งในบริเวณใกล้เคียงกับอะตอมของนิวเคลียส หรือมันสามารถที่จะหมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา มันหมุนไปได้ทั้งสองทางอย่างเป็นไปเอง ตอนนี้ลองสมมุติให้สมองของคุณมีความสามารถตามระบบกลศาสตร์ควอนตัมซึ่งปรากฏเป็นซุปเปอร์โพสิชั่นในสภาวะความเป็นไปได้อันมากมายดู 
เมื่อผู้สังเกตมองไปยังระบบกายภาพ หาข้อมูลเกี่ยวกับระบบที่อยู่ในสภาวะ เค้าก็จะได้พบคำตอบ อ้างอิงถึงแนวคิดโลกคู่ขนาน เขาจะประสบความคลางแคลงใจในคำตอบของแต่ละความเป็นไปได้ที่อยู่ในระบบ หรือพูดอีกอย่างนึงก็คือจิตของเค้าจะแตกออกไปสู่ประสบการณ์ทางจิตอันแบ่งแยก ดูราวกับว่าถูกตัดออกจากสิ่งอื่นๆ ในแต่ละประสบการณ์ทางจิต แต่ละโลก เขาจะรู้สึกขาดกันโดยสิ้นเชิง เดียวดายอยู่กับข้อมูลเดี่ยวๆ โดดๆ ของเขา ..ขณะนี้เขาสามารถที่จะทำหนึ่งในสองสิ่ง .. หนึ่ง เขาสามารถส่งสัญญาณซ้ำในระบบเดิมได้ด้วยการทำเพียงแค่มองดูไปที่มัน เขาจะเห็นว่าระบบมันเป็นเหมือนเดิมทุกอย่างกับที่เขาเห็นก่อนหน้านั้น และถ้าเขาทำแบบเดิมสืบเนื่องไป เขาก็จะพบว่าระบบยังคงเสถียร เขาจะทำอย่างนี้กับระบบหนึ่งหรือทำสักกี่ครั้งก็ได้กับระบบที่ถูกเตรียมมาให้เหมือนๆ กัน ทุกครั้งเค้าทดสอบด้วยการทำให้มันแตกต่างออกไป แต่ระบบก็ยังถูกเตรียมไว้เหมือนเดิมอีก เขาอาจจะได้รับคำตอบที่แตกต่าง ระบบที่สองอาจจะไม่เป็นเหมือนกับสภาวะ (state) ที่อยู่ในระบบแรก หลังจากที่เค้ามองไปยังมัน เช่นเขาส่งสัญญาณซ้ำให้มันต่างออกไป แต่ทุกๆ ครั้งมันก็ถูกเตรียมกลับมาให้เหมือนเดิม เขารวบรวมสถิติตัวอย่างและชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นเรื่องราว ที่สอดคล้องต้องกันกับสิ่งที่เค้าค้นพบ
ในย่อหน้าถัดไปเรื่อง Parallel world ตามคำอธิบายของพ่อมดควอนตัม.. 

สมมุติว่าเขามองไปยังเหรียญ “ควอนตัม” 3 เหรียญ เขาจะพบว่าพวกมันจะปรากฏเป็นหนึ่งในแปดของความเป็นไปได้ ที่จะเกิดหัว (h) และก้อย(t) (hhh, hht, hth, htt, thh, tht, tth, ttt) แต่ละภาพปรากฏอย่างแบ่งแยก และมันอยู่ในโลกคู่ขนานกัน ขึ้นอยู่กับจิตของผู้สังเกต ตราบเท่าที่ระบบ (เหรียญ) ยังไม่เปลี่ยนแปลง เขาจะทำการสังเกตซ้ำสักกี่ครั้ง เขาก็จะพบกับสิ่งที่เค้าเคยเห็นมาแล้วก่อนหน้านั้น แต่ละการปรากฎจะอยู่ในโลกคู่ขนาน นอกจากนี้มันยังเป็นการยืนยันถึงการดำรงอยู่ของเขาใน “โลกของความเป็นจริง” (real world) ซึ่งมันไม่มีทางจะปรากฏร่องรอยของอย่างอื่นไปได้ ในกรณีนี้มันจะมีอยู่ 8 โลก ไม่ว่าสังเกตสักกี่ครั้ง และในแต่ละโลก เขาก็จะพบว่า เขาได้พบกับ previous observation (การสังเกตในครั้งก่อนหน้านั้น)
หรือเขาอาจจะมองไปยังระบบกายภาพซึ่งแม้ว่าพวกมันจะถูกเตรียมไว้สำหรับแสดงเหมือนกับระบบแรก เมื่อถูกเขามองดู (สังเกต) มันก็มีศักยภาพในการวิวัฒนาการโดยตัวของมันเอง ตอนนี้สมมุติว่าแต่ละระบบสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม ปนเปสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ แต่ระบบ เป็นต้นกำเนิด superposition ของสภาวะหนึ่ง แล้วถูกสังเกต ให้เป็นหนึ่ง ใน state นั้นๆ แล้วเฝ้าดูวิวัฒนาการไปสู่สภาวะ superposition ต่อไป นี่อาจจะหมายความว่าตัวอย่างข้างบน ตอนแรกเหรียญแต่ละเหรียญเคยอยู่ในสภาวะซุปเปอร์โพสิชั่น แล้วถูกสังเกตให้เป็นหัว แล้ววิวัฒน์เข้าสู่ซุปเปอร์โพสิชั่นอีกครั้ง หรืออีกนัยยะหนึ่งคือสมมุติว่าเหรียญแต่ละเหรียญในน้ำพุ เมื่อไม่ถูกสังเกตก็ไม่วิวัฒน์จากสภาวะหัวหรือก้อย ไปสู่สภาวะซุปเปอร์โพสิชั่นของหัวหรือก้อยตอนนี้ลองสมมุติอีกว่าให้คนมามองดูเหรียญ (สามเหรียญอีก) เขาก็จะเห็นมันเป็น 1 ใน 8 ของความเป็นไปได้ของหัวกับก้อย อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังมี “ความทรงจำ” ของเหรียญซึ่งเขาเคยเห็นมาก่อน เขามองพวกมันเป็นครั้งที่สอง จำไว้ว่าตราบเท่าที่เขายัง “concerned” เขาเพียงแต่มองเหรียญเป็นครั้งที่สอง จากที่เหรียญ “evolve” ไปสู่สภาวะซุปเปอร์โพสิชั่นระหว่างการสังเกต ซึ่งคราวนี้ก็จะมี 64 (แต่ละโลก 8 โลกก็สามารถ แยกไปได้อีก 8 โลก 8x8) ความเป็นไปได้อันแตกต่างจากการถูกสังเกต (จากตัวอย่าง ความเป็นไปได้นึง hht สามารถเปลี่ยนเป็น tht ด้วย)ทุกคนต่างก็รู้ดีว่าในครั้งที่สองของการสังเกตเหรียญแต่ละเหรียญจะเปลี่ยนอย่างน่าตื่นเต้น โลกแต่ละโลกใน 64 โลกตอนนี้เป็นความทรงจำของเหรียญก่อนหน้าที่เค้าจะมองดูเป็นครั้งที่สอง คำถามก็คือ โลกไหนเป็นโลกที่แห่งความเป็นจริง real world มันเป็นโลกที่เรามองดูครั้งแรกรึเปล่า? ในท้ายสุดของการมองครั้งที่สอง ทั้งหมดที่เค้ามีคือความทรงจำของสิ่งที่ปรากฏระหว่างการมองในครั้งแรก แต่ โลกของการมองครั้งแรก มันได้ผ่านไปแล้ว
นี่เป็นจุดที่ความเป็นจริงคลาสิกกับความเป็นจริงควอนตัมเกี่ยวพันกันอยู่ ในโลกคลาสิก เขาจะรู้ว่าสภาวะไหนของเหรียญที่มันเป็นจริง ได้จากการสังเกตครั้งแรก แต่ในโลกควอนตัม เขาไม่มี ความรู้นี้ถูกซ่อนเร้นไว้ เขาไม่มีทางรู้ว่าอันไหนจริง เขาจะรู้ได้เพียงหนึ่งในหกสิบสี่ของโลกแห่งความเป็นไปได้ และไม่ว่าจะเป็นโลกไหนหนึ่งในพวกมันทั้งหลาย ข้อมูลก็จะยืนยันว่าเป็นสภาวะซ้ำซ้อนและเป็นปัจจุบันในสภาวะใหม่ (in a previous state and are now in a new state)..
ครั้งแรก.. มีแต่ในโลกคลาสิก งั้นก็แสดงว่าความใหม่ ก็มีแต่ใหม่ในแบบเก่าๆ .. โลกควอนตัม ไม่มีครั้งแรก มีแต่เดจาวู.. สายธารของเดจาวู ไม่มีความใหม่ แต่ใหม่ตลอดเวลา เพราะไหลไปตลอด ไม่เคยหยุด
อะไรต่ออะไร ก็เป็นเงื่อนไขแรกเริ่ม ได้ทั้งนั้นถ้ากลับไปที่ไอ่สามเหรียญนั่นอีกครั้ง และวิวัฒน์ และให้เขาทำการสังเกตของเขาซ้ำเป็นครั้งที่สาม เขาก็จะเกิดตื่นรู้ขึ้นมาว่าอยู่ใน 512 (64x8) โลกของความเป็นไปได้ ซึ่งแต่ละโลกก็วิวัฒน์ไปแล้วตามการสังเกตจำนวนของโลกที่คูณด้วย 8 ในแต่ละโลกก็จะมีร่องรอยความทรงจำ แต่มันจะเป็นไม่ได้สำหรับเขาที่จะรู้ว่าเขาเคยอยู่ในโลกไหนมาก่อน
จุดนี้คือจุดเป็นจุดตายของควอนตัมฟิสิกส์ ในแต่ละโลกจะมีความทรงจำ มันอาจจะทำให้เขาสามารถย้อนระลึกสภาวะของระบบก่อนหน้าว่าพวกเขาเคยถูกสังเกตโดย alter ego (แปลว่าอะไรดีอ่ะ!) 
แต่ละโลกจะปรากฏบนวิถีนี้ และในแต่ละโลกทุกอย่างจะดูเหมือนเป็นธรรมชาติและเป็นปกติ ความทรงจำของเขาจะลงรอยกัน แม้ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาจากชั่วขณะของการสังเกตในครั้งล่าสุด แต่เขากลับไม่รู้สึกถึงความสั่นไหวของการสร้างสรรค์นี้ แม้ว่าชีวิตของเขาทั้งชีวิตอยู่บนการอ้างอิง coin experience ซึ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นในครั้งเดียว เขากลับจะไปรู้สึกว่าความทรงจำนั้นเป็นความทรงจำของเขาจริงๆถ้าวิวัฒนาการนี้สืบเนื่องตามหลักเหตุ-ผล ของกฏแห่งการเคลื่อนไหว เช่นกฏของ falling bodies (จะแปลว่าไรเนี่ยชื่อกฏนี้) แม้ว่าจำนวนของโลกจะเพิ่มทวีคูณ มากมายมหาศาลของจำนวนโลกซึ่งเป็นสภาวะสืบเนื่องตามกฏแรงดึงดูดจะดูเหมือนกับถูกสังเกต หรืออีกนัยยะหนึ่งคือผู้สังเกตอยู่ใกล้เคียงกับการตื่นขึ้นจากความปกติ จากโลกที่พัฒนาขึ้นมาด้วยเหตุผล ..สมมุติว่าตอนนี้เราให้สมองของเราเป็นเหมือน “สามเหรียญในน้ำพุ” และจิตวิญญาณเป็นเหมือนผู้สังเกต ในตัวอย่างข้างบน ระหว่างการรู้ตัวตอนตื่นปกติ โลกและสมองของเราจะควบคุมสั่งการอย่างคลาสิก นี่จะเป็นเหมือนตอนที่ผู้สังเกตสังเกตเหรียญครั้งแล้วครั้งเล่า ยืนยันว่าพวกมันเป็นอย่างที่เป็น แม้แต่จิตวิญญาณที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นมาใน alternative world ไม่มีอะไรต่างไปจากความเป็น ordinary เพราะว่าหลักแห่งเหตุผลมันได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก outside world ระบบสัมผัสมัน overload จากประสบการณ์ภายนอก ซึ่งมันไปไกลเกินกว่าความไม่ปกติ “unusual” developments.แต่ในระหว่างความฝันและระหว่างอาณาจักรจินตนาการเหล่านี้ สมองของเรา ควบคุมสั่งการด้วยระบบควอนตัมกายภาพ (quantum physically) จัดการกับประสบการณ์ซึ่งไม่เป็นไปตามกฏแห่งเหตุผล และไม่ถูกสังเกตจากกระบวนวิวัฒน์ของสมอง ซึ่งอยู่ในส่วน "temporal-lobe" (เออ มี lobe นี้ด้วยเหรอเนี่ย) ถูกกระตุ้นจากกระแสไฟฟ้า นั่นจะทำให้สมอง shift สภาวะเข้าสู่ตัวอย่างเหรียญ แล้วก็เข้าสู่ช่วง introspection (แปลว่าทบทวนความคิดความรู้สึกของตัวเอง) ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากกระแสไฟฟ้าถูกก่อกวน (ทำให้ไร้ระเบียบ)... ตรงนี้มันไปต่อกับ เคออส ที่บอกว่า consciousness เกิดจากการก่อกวนสภาวะหลับ พ่อมดตั้งข้อสังเกตว่าคุณภาพของสิ่งที่ถูกรับรู้ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของการรับรู้ของผู้สังเกต โดยจิตวิญญาณ แม้กระทั่งว่ามันไม่มีความทรงจำที่แน่ชัด ทุกอย่างเป็น path of perception มีแค่เพียง a flash of memory ในแต่ละโลก ณ แต่ละขณะของการรับรู้ ในโลกคู่ขนานจะมีความทรงจำของเหรียญว่าเป็นอย่างไรและตอนนี้พวกมันเป็นยังไง แล้ว แว๊บหนึ่งของชั่วขณะในสมองว่าตอนนี้พวกมันเป็นยังไง แว๊บๆ และแว๊บของ flashing ที่สืบเนื่องจะทำซ้ำๆ เสมอ แต่ไม่เคยซ้ำวิวเดิมกับ mind set เดิม นั่นนำมาอ้างอิงไม่ได้ว่าสมองเคยเป็นจริงในอดีต... ในอาณาจักรแห่งจินตนาการ มันไม่มีหลักยึดเหนี่ยวในความเป็นจริงของวัตถุ ไม่มีกฏคลาสิกของวัตถุทางกายภาพไปควบคุมการเชื่อมต่อระหว่าง flashes ดังนั้น ในแต่ละประสบการณ์ แต่ละแว๊บ มันใหม่ และบางส่วนก็ทำให้กระตุก (สะดุ้ง) ..ผลที่ตามมาคือทำให้ผู้สังเกตพร้อมเต็ม (ตื่นตัวเต็มที่) ในการใส่ใจ อย่างที่เค้าไม่จำเป็นต้องมีในการรับรู้โลกคลาสิก ซึ่งมันเป็นแค่เพียงการทำซ้ำประสบการณ์เคยๆ .. แล้วนี่ก็เป็นเหตุให้อาณาจักรจินตนการ ความฝัน UFO มันต่างออกไป .. พ่อมดบอกว่าบทต่อไป จะพาไปสำรวจว่าแว๊ปของแฟลชนั้นเข้ามาสู่ ordinary consciousness ได้ยังไง.. เค้าเรียกมันว่า “art"

บทที่ 17 Overlaps of the Imaginal and the Real: Dream in Art, Myth, and Reality

เช้านี้อ่านไปสองสามหน้า พบคำว่า Imaginal Realm (IR) อาณาจักรแห่งจินตนาการ และประสบการณ์ IR experiences ก็แทนด้วย IREs, IRE, NDEs, NDE ประสบการณ์ใกล้ตาย near death experiences, OBEs, OBE ประสบการณ์จากภายนอกร่างกาย out of body experiences, UFOs, UFO unidentified flying object จากบิน จานผี มนุษย์ต่างดาว.. ที่ซึ่งพ่อมดกล่าวถึงในบทที่ 17 นี้ .. อย่างไรก็ตามความคิดก็เลยเถิดไปถึง CR กับ NCR โลกความเป็นจริงระดับสมมุติ กับโลกความเป็นจริงระดับพ้นสมมุติ ของมินเดลเข้ามาด้วย .. อาณาจักรแห่งจินตนาการทั้งหมดที่พ่อมดกล่าวนี้ถึงก็อยู่ในเขตแดนความจริงระดับพ้นสมมุติ หากเปรียบกับของมินเดล  บทที่สิบเจ็ดนี้พ่อมดเริ่มที่ IR หรืออาณาจักรแห่งจินตนาการ ที่เค้าบอกว่าเป็น ontologically real (ภววิทยาของความเป็นจริง) คือเป็น being .. ถ้างั้นแล้วทำไมมันถึงจริงสำหรับบางคนเท่านั้นล่ะ .. แล้วทำไมเราถึงมองไม่เห็นมัน ทั้งที่ก็ต้องเคยมีประสบการณ์กันทุกคน แต่ที่มันไม่กลายเป็นจริงขึ้นมาก็เพราะเราไม่รู้ว่ามันจริง หรือไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ ตอนที่มันเกิดขึ้นกับเรา เราคิดว่ามันเป็นแฟนตาซีบ้าง เป็นภาพหลอนบ้าง หรือไม่ก็ว่าเป็นสภาวะที่ถูกครอบงำบ้าง (คุณอาจเคยเจอว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยังโดนแทรกแซงเป็นบางครั้ง แล้วทำไมมันถึงจะไม่เกิดขึ้นกับเราล่ะ?)
เค้าบอกว่าก่อนจะอธิบายว่า IRE เนี่ยมันกลายเป็น normal ขึ้นมาได้ยังไง หรืออะไรก่อประกอบมันขึ้นมา พ่อมดชวนไปพิจารณาสิ่งที่ Henri Corbin ซึ่งเป็นนักศึกษาแนวลึกเกี่ยวกับศาสตร์ลี้ลับและ visionary experience และงานวิจัยอื่นๆ ของคนที่เคยเป็นทั้งผู้สังเกตและถูกสังเกต ว่าพูดถึงเรื่องนี้อย่างไรกันดู
กรณีคอร์บินนั้น IR เป็นสิ่งที่หักล้างไปไม่ได้เลย ทั้ง coherent มากกว่าโลกที่เราประสบอยู่ในสัมผัสที่เรียกว่าตื่นปกติของเรานี่เสียอีก เพราะกลุ่มที่รายงาน IR ให้เขานั้นกลับมาอย่างตื่นเต็มสมบูรณ์แบบในการเดินทางไปที่นั่น (อาณาจักรในจินตนาการ) นักเดินทางเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคจิตเภท (แยกตัวจากสิ่งแวดล้อม) หรือเป็นโรคประสาท อีกทั้งโลกที่พวกเขาเข้าไปก็ไม่ได้เป็นโลกแฟนตาซีด้วย มันเป็นโลกของรูปแบบ (form), มิติ (dimension) และ life forms อื่นๆ แล้วก็มีผู้คนอาศัยอยู่ด้วย
แต่ IR ก็ยังไม่ได้ถูกทำให้เป็นสัมผัสปกติว่าเป็นจริงของพวกเราส่วนใหญ่ .. ความเป็นจริง ดูเหมือนจะกระจ่างกว่าสำหรับพวกเรา เพราะมันเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นและรู้สึก สัมผัสมันได้ด้วยผัสสะของเราเอง แล้วก็พูดต่อคนอื่นไปว่า ถ้ามันจริง ผมก็จะสามารถมองเห็นมัน ลิ้มรส ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสมันสิ .. ผมอาจจะไม่ต้องการทำเรื่องที่ว่ามานี้เลย แต่อย่างไรก็ตามผัสสะของผมคือความหมายของผม (เครื่องมือในการรับรู้) ซึ่งผมใช้ค้นหาความเป็นจริงมาถึงตรงนี้ก็อยากเสริม ประสบการณ์ที่ได้สัมผัสในโลกลูซิดของตัวเองนะคะ ขยายความที่พ่อมดบอกว่า “ผมอาจจะไม่ต้องทำเรื่องที่ว่ามานี้เลย” .. ตรงนี้เมว่าเมเข้าใจนะคะ .. ในอาณาจักร IR หรือ NCR นั้น ระบบสัมผัสพวกนี้เป็นสิ่งที่คลุมเครือมากกว่าเยอะค่ะ หากเราเข้าสู่ประสบการณ์ เราจะเข้าใจความหมายของคำว่า “being” ไม่ใช่ “in” นะคะ .. มันเป็นเลย .. มันไม่มีตัวแยก หรือตัวดูอยู่ อย่างเวลาเราสัมผัสอะไรตอนตื่นปกติเนี่ย เราจะมีตัวดู (ซึ่งเมว่าส่วนนึงมันทำให้การรับรู้ไม่เป็น หรือไม่เต็มร้อย .. กระทั่งเราอินเข้าไปแล้ว เราก็ยังมีตัวดูซ้อนอยู่) ตัวดูก็มีประโยชน์นะคะ มันช่วยให้เราไม่อินเกินไป คือถ้าคุณอินแบบเต็มๆ เนี่ย คุณจะทนโลกแทบไม่ได้ เวลาคุณเสียใจคุณอาจจะแตกสลายไปเลย หรือคุณเห็นสีแดง คุณก็อาจจะเป็นบ้าไปเลย เพราะมันมากเกินกว่าที่การรับรู้ของคุณจะทนข้อมูลไหว .. ทีนี้กลับมาในลูซิด เมื่อคุณเห็นกอไผ่สีทอง มันไม่ใช่แค่คุณมองดูไผ่สีทอง แต่คุณ “เป็น” ไผ่สีทอง คุณรับรู้ได้ถึงมดแมลงที่ไต่อยู่ เหมือนมันบนไต่อยู่บนผิวคุณ คุณได้กลิ่นละเอียดมาก ของเส้นใยที่ก่อประกอบ คุณรู้สึกถึงความเย็นของหยดน้ำบนใบไผ่.. มันละเอียดอ่ะ .. บรรยายไม่ได้ เวลารับรู้อะไร มันจะครบสมบูรณ์เต็มทั้งหมด คือเป็นทั้งผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต นั่นแหละใกล้เคียงที่สุด .. ทีนี้พอเป็นประสบการณ์ละเอียดขนาดนี้แล้ว คุณตื่นขึ้นมาในโลกปกติ ที่สัมผัสมันเจือจาง คุณจะต้องการการพิสูจน์ไปเพื่ออะไร?!?
ต่อจากนั้น พ่อมดก็ตั้งคำถามว่า ถ้าคุณไม่เคยกินแอปเปิ้ลมาก่อนเลย แล้วก็เกิดได้กิน .. “ครั้งแรก” คุณอาจจะขัดแย้งกับมันก็ได้นะ เหมือนจินตนาการ บางทีเราปฏิเสธจินตนาการเช่นเดียวกันกับที่เราปฏิเสธรสชาติที่ไม่คุ้น บอกว่ามันเป็นความทรงจำ หรือไม่ก็ภาพหลอน แต่ถ้ามันมีผัสสะสัก 2 ใน 5 เข้ามาเกี่ยวข้องล่ะ สิ่งที่ถูกสังเกตจะเป็น reality ได้รึยัง? แล้วเราต้องการสักกี่ผัสสะ ในการที่จะใส่ object เข้าไปในแคมป์ของความเป็นจริง 

คอร์บินใส่เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่ง เค้าเรียกมันว่า “psychospiritual” ซึ่งพ่อมดบอกว่าเค้าเคยเขียนไว้ในหนังสือเล่มเก่า The Eagle’s Quest เล่าไว้ว่าบรรดา shamans นั้นกุมบังเหียนผัสสะทั้งห้าอยู่หมัด แต่น่าเสียดายที่พวกเราส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้ (แล้วใช้วิธีหลบหลีก) .. แล้วใน NDEs นี่ไม่ได้เป็นแฟนตาซี แต่เป็นการเผชิญ (อันหลีกเลี่ยงไม่ได้) มันก็เลยทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับประสบการณ์ psychospiritual sensory awareness

แล้วก็เล่าเรื่อง Carl Sagal ซึ่งเขาใคร่ครวญเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างความฝันกับวิวัฒนาการ หรือย้อนไปถึงช่วงก่อนมีมนุษย์ เรื่องของ Julain Jaynes ที่ว่าพอมีมนุษย์แล้วก็ยังไม่มี real consciousness หากหลังจากนั้น consciousness ก็ผ่านเข้ามาทาง dream state

ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริง แสดงว่ามันจะต้องมีบางอย่างเกิดขึ้น บางอย่างที่เป็น consciousness evolved หรือวิวัฒนาการทางจิต จิตวิวัฒน์นั่นแหละ.. มันเกิดในเวลาหนึ่งนาที ชั่วโมง วัน ทศวรรษ ศตวรรษ หรือยาวนานกว่านั้น .. หรือจิตวิญญาณเพียงกระโดดข้าม (just take a quantum leap) IREs เป็นสมมุติฐานของวิวัฒนาการได้มั๊ย? .. คราวนี้ทีมนักวิจัยก็เรียงหน้ากันเข้าหลายคนเลย

McKenna ที่บอกว่าพวกพ่อมดหมอผีจะมองว่าความฝันเป็นหลักฐานการดำรงอยู่ของโลกคู่ขนาน หรือ continuum overlapping (คือเป็นการโอเวอร์แลปอย่างสืบเนื่องเข้ามาใน real world) แล้วเค้าก็ยังเชื่อว่ากายจิต โผล่ปรากฏขึ้นมาในความฝันที่ปรากฏอยู่ใน higher-order spatial dimension ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ ซึ่งวางฐานอยู่บนวัตถุ ที่เห็นว่าจิต (mind) เป็น emerging biological phenomenon ในกรณีนี้ จิตกับสสาร ทั้งคู่โผล่ปรากฏขึ้นเป็นบางส่วนของความเป็นจริง อยากเสริมส่วนนี้ด้วย โลกของหมอผีกับโลกของคนธรรมดา.. ในหยุดโลก ตอนที่ชื่อว่า “หยุดโลก” ..เมื่อดอนเกเนโร เข้ามาป่วนคาร์ลอส จนกระทั่งคาลอสได้พบหมาป่า แล้วเค้ารู้สึกว่ามันเป็นเพื่อน พูดคุยกัน .. ดอนฮวนบอกกับเขาว่า.. “เมื่อวานนี้คุณเชื่อว่าหมาป่าตัวนั้นพูดกับคุณได้ หมอผีคนใด แม้ยังไม่เห็น เค้าก็จะเชื่อเช่นเดียวกับคุณ แต่ถ้าหมอผีที่เห็นแล้วจะรู้ว่าการเชื่ออย่างนั้นคือการถูกตรึงไว้ในโลกของหมอผี และในทำนองเดียวกับ การไม่เชื่อว่าหมาป่าพูดได้ก็จะถูกตรึงไว้ในโลกของคนธรรมดา”
“หมายความว่าทั้งโลกของคนธรรมดาและโลกของหมอผี ไม่จริงใช่ไหม ดอนฮวน”
“โลกทั้งสองนั้นจริง ทั้งสองโลกนั้นสามารถที่จะกระทำกับคุณได้ ...” “ดอนเกเนโร เพียงบีบให้คุณมองโลกของคนธรรมดาในลักษณะที่หมอผีทั้งหลายมอง แกต้องการทำให้ความเชื่อมั่น (ในโลกเดิม) ของคุณอ่อนตัวลง”..“โลกที่คุณมองเห็นอยู่ทุกวัน เป็นเพียงแค่คำอธิบายเท่านั้น จุดมุ่งหวังของผมอยู่ตรงที่จะแสดงให้คุณเห็นในเรื่องนี้ .. มันไม่มีทางเลี่ยงหรอก การที่คุณจะ “เห็น” คุณต้องเรียนรู้วิถีทางในการมองโลก.. เรียนที่จะมองดูโลกในอีกลักษณะหนึ่ง และลักษณะเดียวที่ผมรู้คือ วิถีทางของหมอผี”

โลกหมอผีอันน่าประหวั่นพรั่นพรึง.. โลกที่เราหลีกลี้ไม่ต้องการจะถูกตรึงไว้ แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ หากปฏิเสธ เราก็จะกลายเป็นคนธรรมดา ถูกตรึงไว้ในโลกของคนธรรมดาอย่างน่าสมเพช

สำหรับพ่อมดแม่มดยุคใหม่ ควอนตัมเข้ามาช่วยเป็นรอยต่อได้อย่างเนียนๆ ทีเดียว คุณไม่ต้องตกไปอยู่ในโลกอันน่าประหวั่นพรั่นพรึง ที่มันกระทำกับคุณได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องเดียวดาย อ่อนแออยู่ในโลกของคนธรรมดาซึ่งวันนึงข้างหน้าจะต้องถูกผลักให้ไปเผชิญกับ NDE (ประสบการณ์ใกล้ตาย) อย่างหวาดกลัว สิ้นไร้พลัง

เก็บความบางส่วนของจักรวาลกำลังฝัน The Dreaming Universe/ Fred Alan Wolf Ph.D. (ตอนที่ 1)

The Dreaming Universe ของ Fred Alan Wolf (พ่อมดควอนตัม) เช้าวันนี้ก็แจ่มชัดว่า เล่มนี้แหละที่จะมาต่อ จะก้าวข้ามธรณีประตูไปสู่ฝันร่วมกันทั้งจักรวาล..
ชัดเจนซะขนาดนั้น นั่นเพราะว่า... my research into the nature of shamanism and dreams suggest, it may be more real than the reality we perceive. It is, however, a reality that usually exists beyond our normal waking perception, although it dose appear to us in the form of lucid dreams, prophetic dreams, and other related phenomena such as near-death experience (NDE) and possibly UFO abduction.

ใช่!! เพราะมันจริงมากกว่าความเป็นจริงที่เรารับรู้กันอยู่ซะอีก ... lucid/ NDE/ OBE/ หรือแม้ UFO

หน้า 21 Self-Awareness in Dreams and Waking Life
ความฝันคืออะไร? คำถามนี้วางอยู่ตรงกลางหัวใจของสิ่งที่เรียกว่า mind-body problem (ปัญหากาย-จิต) เหล่านี้.. ซึ่งนำเราไปสู่แนวคิดอย่างเช่น dream-body (กายฝันของอาร์โนล มิเดล) และลูซิดกับ “witness” ของนักศึกษาความฝันอย่างเจอร์นี เกคเคนแบค และคนอื่นๆ 
ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญ สนใจเรื่อง lucid dreams เพราะมันต่างจากความฝันธรรมดาทั้งในเชิงสาระและประสบการณ์ ลูซิดมันต่างตรง “awareness” ของผู้ฝันตอนที่กำลังอยู่ในกระบวนการฝัน และความแจ่มกระจ่างชัดของรายละเอียดซึ่งผู้ฝันสามารถจะจดจำได้หลังจากฝัน อีกทั้งผู้ฝันก็ยังรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ในฝันได้ (ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของฝันลูซิด พ่อมดใช้คำว่า dreaming entity)
เค้าใช้คำว่า entity เพราะในลูซิดของเค้ามันแตกต่างจากชั่วขณะที่ตื่นปกติ พ่อมดบอกว่า แม้เค้าจะรู้ว่ามันเป็น “I” แต่มันต่างเพราะมันเป็น two conscious minds: คนนึงนอนอยู่บนเตียงที่บ้าน และกำลังฝัน และอีกคนก็ตื่นขึ้นในลูซิดควบคุมเหตุการณ์ในนั้นแล้วรู้ว่ามันคือฝันด้วย
พ่อมดควอนตัมเล่าว่า เขาสัมภาษณ์ผู้คนที่ไม่เพียงแต่เกิดฝันลูซิด หากแต่บางคนไปตื่นอยู่ในโลกคู่ขนาน (parallel world) ซึ่งเค้ามีชีวิตอีกชีวิตนึงไปเลย ซึ่งตัวอลันเองก็มีประสบการณ์นี้ ซึ่งมันใกล้เคียงกับฝันลูซิด แต่ไม่เชื่อมต่อกับลูซิดอื่นๆ แล้วก่อนหน้านั้นที่เขาเขียนเกี่ยวกับเรื่องฝันลูซิดเป็นงานศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฟิสิกส์สู่จิตวิญญาณ (relationship of Physics to consciousness)

Aware of self in lucid dreams? ตัวตนที่ตื่นขึ้นในลูซิด มันมีความหมายอะไร?!? self-awareness คืออะไร ... 

คำถามของพ่อมด.. โดนตรงๆ
เริ่มจากเรื่อง Big dream & little dream ของเค้าต่อไปก่อน .. คือพ่อมดบอกว่าเรื่อง UFO นั้นเป็นเรื่องที่ฝันใหญ่มาซ้อนทับกับฝันเล็กๆ (overlap) จากการมีประสบการณ์กับ UFO ในระดับปัจเจก เลื่อนขึ้นมาเป็น art (ผ่านภาพยนต์! และศิลปะแขนงอื่นๆ) แล้วเข้าสู่ระดับ politics จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับการเมืองในรัสเซียขึ้นแล้ว

หรืออีกเรื่องเค้าเล่าว่าเคยศึกษา shamans alter consciousness in order to heal and transform matter คือความสามารถในการเยียวยาและแปรเปลี่ยนสสาร (เล่นแร่แปรธาตุ) ของพวกพ่อมดแม่มดหมอผี

ตอนนี้ก็ทำให้แว๊บไปถึงคำของพ่อหมอประสาน ที่เคยบอกว่า ลูกเอ๋ย ก่อนที่อะไรมันจะถูกค้นพบ มันจะเป็นความฝันขึ้นมาก่อน แล้วจะเชื่อมกับปัจเจก ต่อไปเป็นมหภาค (ตรงนี้มหภาคกับปัจเจกของอลันจะมี art เข้ามาอยู่ระหว่าง หรือเป็นตัวเชื่อม?) อย่างสสารมืด จากสมมุติฐาน (ที่เป็นฝัน) กลายเป็นมาเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ ฯลฯ จนปัจจุบันก็เร่ิมมีการค้นพบกันแล้ว หลุมดำก็เช่นกัน

อลันเคยเขียนหนังสือชื่อ The Eagle’s Quest ซึ่งอธิบายว่าอาณาจักรแห่งจินตนาการนั้นมี source มาจาก Big Dream แล้วเค้าก็ยังได้ศึกษาว่าพ่อมดจัดระเบียบ ควบคุมใน alter (จะเป็นสิ่งที่มินเดลเรียกว่า alter state ล่ะมัง?!) ในการเยียวยา หรือเปลี่ยนสภาพสสาร (เล่นแร่แปรธาตุ) ภายใต้ความเข้าใจเรื่อง state of consciousness ในเทอมของฟิสิกส์วิชาการด้วย แล้วเค้าก็ยังยกตัวอย่างงานของ Wolfgang Pauli ซึ่งพ่อมดยกย่องว่าเป็นนักฟิสิกส์ที่ชาญฉลาดและยิ่งใหญ่ที่สุดคนนึงเท่าที่เคยมีมาจุติบนโลกนี้เลยทีเดียว เค้าว่าเพาลีตายในปี 1958 งานของเพาลีคือการรวมควอนตัมฟิสิกส์กับจิตวิทยาซึ่ง overlap ผ่านภาพฝันของเพาลี (นักฟิสิกส์ที่ทำเรื่อง synchronicity กับคาร์ล จุง)
ไปให้พ้น กาละ เทศะ
มันแปลว่าอะไรอ่ะ?!? ดีสเปนซาบอกว่า กาละ เทศะ เป็นสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางกายภาพ ซึ่งมันรวมตำแหน่งกับสัมผัส (อันชั่วคราว temporal) ของเราเข้าไปด้วย .. เมื่อเราพูดถึงแก้วที่วางอยู่บนโต๊ะ เราอ้างอิงมันกับสถานที่ (จุดที่มันดำรงอยู่ในอวกาศ) และห้วงเวลาที่มันปรากฏ (ซ้อนอยู่) .. และในฐานะมนุษย์ เราถูกครอบงำด้วย 2 แนวคิดนี้ตลอด .. เราอยู่ที่ไหน อยู่มานานแค่ไหน จะอยู่ต่ออีกนานเท่าไหร่ จะไปไหนต่อ.. เป็นอย่างนี้แม้ว่าเวลามันไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถสัมผัสมันได้อย่างแท้จริงเลย เรารู้สึกว่ามันผ่านไปในแบบเดียวกับที่เราสัมผัสตำแหน่งของเราในอวกาศ.. เรา “feel” วินาที, นาที, ชั่วโมง ผ่านไปเช่นเดียวกับที่เรา “feel” ร่างกายเราถูกกดต้านกับเก้าอี้ และฝ่าเท้าของเราวางลงบนพื้นผิว
ในสนามควอนตัม สนามแห่งความเป็นไปได้อันอเนกอนันต์ของความเป็นจริงทางวัตถุ เหนือกาลอวกาศ เพราะว่ามันเป็น “ศักยภาพ” ซึ่งยังไม่ปรากฏ .. ก็ในเมื่อมันยังไม่ปรากฏมันก็ไม่มีตำแหน่งแห่งที่หรือไม่ยึดครองตำแหน่ง (ชั่วคราว) เอาไว้ .. อะไรก็ตามที่ยังไม่ปรากฏก็คือมันยังไม่ล้มคลื่นความเป็นไปได้ (โดยตัวของมันเอง)ไปสู่ความเป็นจริง (เป็นอนุภาค) เรียกได้ว่ามัน exists beyond space and time
ณ จุดนี้สนามควอนตัมไม่ได้เป็นอะไร แต่เป็น “immaterial probability” ซึ่งอยู่นอกกาลอวกาศ จนกว่าเราจะเข้าไปสังเกตศักยภาพความเป็นไปได้นั้นแล้วให้ความเป็นจริง (ระดับ material) กับมัน มันจะยังดำรงสองสถานภาพอยู่

เพื่อเข้าสู่สนาม..เข้าสู่สภาวะที่คล้ายคลึงกับสนาม..
มันยอดเยี่ยมเลยใช่มั๊ย ที่เราทรงพลังอำนาจในการสร้างความเป็นจริงจากการเลือกของเราโดยเลือกจากสนามควอนตัม แต่เราจะต้องมีวิธีที่จะเข้าไป เราเชื่อมต่อกับมันอยู่ตลอดเวลาแต่ทำยังไงมันถึงจะตอบสนองเราล่ะ? .. ก็ถ้าเราแผ่รังสีพลังงานอย่างมั่นคง สม่ำเสมอ และส่งข้อมูลเข้าสู่สนามแล้วก็รับข้อมูลกลับมา เราจะทำยังไงให้การสื่อสารของเราได้ผลมากขึ้น!
ดีสเปนซาถามว่า คุณเคยมีประสบการณ์ตอนที่เวลากับพื้นที่ดูเสมือนหายวับไปรึเปล่า? ให้ลองคิดถึงตอนที่กายคุณกำลังเคลื่อนที่ไป ขณะที่ความคิดไปโฟกัสอยู่กับเรื่องที่เป็นห่วง เมื่อมันเกิดขึ้น คุณจะลืมร่างกายไปหมด (คุณจะไม่ตื่นรู้เลยว่าคุณได้สัมผัสอวกาศอยู่รึเปล่า) คุณลืมสิ่งแวดล้อมไปสิ้น โลกภายนอกหายวับไป แล้วคุณก็ลืมเวลา คุณไม่รู้เลยว่าอยู่ใน “tranced out” (ภวังค์?) นั้นนานแค่ไหน?

ชั่วขณะแบบนี้แหละ คุณได้ไปอยู่ตรงธรณีประตูซึ่งจะให้คุณผ่านเข้าสู่สนามควอนตัม อันพร้อมด้วยสิทธิ์ของการเข้าร่วมกับปัญญาแห่งจักรวาลซึ่งเนื้อแท้ของชั่วขณะแบบนี้ก็คือ คุณได้ทำให้ความคิดกลายเป็น “จริง” มากกว่าอะไรอื่นทั้งหมด

ถัดจากนั้น เฟรด อลัน วูล์ฟก็เล่าเรื่องความฝันของเขาพร้อมกับการตีความ ซึ่งก็ไม่แปลกใจอะไรที่อ่านพบว่าเค้าใช้วิถี ของคาร์ล ยุง ในการวิเคราะห์ฝัน
บทที่สอง พ่อมดให้ชื่อว่า Freudian Physics: a first look at how the universe dreams .. แต่คำโปรยใต้ชื่อบทกลับเป็นของพ่อมดยุง 
โดยฉับพลัน เกิดความรู้สึกขึ้นว่าเราจะต้องข้ามเรื่องฟรอยด์ไปก่อน ไม่ใช่คิดว่าเรื่องของฟรอยด์ไม่สำคัญ แต่.. มีลางมาบอกให้ไปที่ยุง.. แล้วก่อนที่จะเริ่มบทที่สาม Jungian Physics: synchronicity - evidence of the universe’s dream ก็นึกไปถึง ความทรงจำ ความฝัน ความคิดคำนึง หนังสือที่แปลมาจาก Memories, Dreams, Reflections โดยคาร์ล กุสตาฟ ยุง ซึ่งเราได้อ่านและเก็บความไว้ อยู่ในคลังกระทู้เก่าของวงน้ำชา จากชีวิตวัยเด็กจนเข้าถึงวาระสุดท้ายของพ่อมดคนสำคัญที่สุดแห่งจิตวิทยาตะวันตกคนนี้ 
จำความรู้สึกได้ว่าตอนอ่านนั้น เริ่มอ่านอย่างกระหาย ตะกรุมตะกราม และเต็มไปด้วยความเสียดายหยาดหยดสุดท้ายอ้อยอิ่งเมื่อหนังสือใกล้จะจบลง .. ทั้งตลอดช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ ก็เสมือนเข้าไปในโลกของยุง ได้อรรถรสอย่างที่ไม่เคยได้รู้สึกจากการอ่านชีวประวัติของใครมาก่อนเลย.. อินขนาดไหนหรือ? .. ก็ขนาด.. อยากจะเป็นยุง ชีวิตวัยเด็กมี overlap ในหลายๆ ส่วน .. ชีวิตบั้นปลาย ก้อนหิน สายธาร วิญญาณ .. ปลุกเร้าให้เข้าไปมีส่วนร่วม จนรู้สึกถึงกลิ่นไอของประสาทหิน ห้องลับที่ยุงสัมผัสอิฐทุกก้อนด้วยมือของเค้าเอง .. อยากตายแบบที่เค้าตายเลยทีเดียว 
ก็จะขอยก ปัจฉิมพินิจบทสุดท้าย.. ใน หวนคํานึง ยุงยอมรับว่าเขานั้นโดดเดี่ยว "ข้าพเจ้าได้ทําให้ผู้คนขัดเคืองใจเป็นจํานวนไม่น้อย เพราะในทันทีที่ พบว่า พวกเขามิได้เข้าใจ ข้าพเจ้าก็จะเลิกใส่ใจทันที ข้าพเจ้าจําเป็นต้องรุดหน้าต่อไป และหาได้มีความอดทนกับ ผู้คนไม่ นอกจากคนไข้ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจําเป็นจะต้องเคารพกฏเกณฑ์ภายในซึ่งดํารงอยู่และไม่เปิดโอกาสให้มี เสรีภาพที่จะเลือก แม้ว่าจะมิได้เชื่อฟังทุกครั้งก็ตาม เพราะเราจะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากความไม่คงเส้นคงวาได้ อย่างไรกัน" ... (ยุงเรียกว่า "ความไม่คงเส้นคงวาอันศักดิ์สิทธิ์") ... "สําหรับคนบางคนแล้ว ข้าพเจ้ามักจะอยู่ ร่วมด้วยและสนิทสนมใกล้ชิดกับเขานานตราบเท่าที่เขายัง สัมพันธ์กับโลกภายในของข้าพเจ้า แต่แล้วข้าพเจ้าก็ อาจมิได้ดํารงอยู่กับเขาอีกต่อไป ด้วยเหตุที่ไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างเราเหลืออยู่อีก"....
ยุงพูด คล้ายกับว่า หากความเชื่อมโยงภายในลึกๆ ระดับไร้สํานึกดํารงอยู่ ความแปลกแยกแตกต่างก็จะเป็นเพียง "บุคคลิกภาพแห่งปัจเจก" แต่หากความเชื่อมโยงภายในระดับไร้สํานึกไม่ดํารงอยู่แล้ว นั่นเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่ "อัตตา"
ในวัยเยาว์ ยุงรู้สึกว่าเขาค่อยๆ แบ่งแยกจากบรรดาพืชพรรณ ส่ำสัตว์ เมฆหมอกควัน และวันคืนเพื่อเข้าหาความ เป็นตัวเองอย่างช้าๆ ตรงกันข้ามกับวัยชราซึ่งยุงบอกว่า "ยิ่งข้าพเจ้าไม่แน่ใจในตนเองเพียงใด ความรู้สึกสนิทสนม ชิดเชื้อกับสรรพสิ่งก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเพียงนั้น อันที่จริงแล้ว ดูเหมือนว่าความแปลกแยกซึ่งกั้นขวางข้าพเจ้าออกจาก โลก ได้โยกย้ายแปรเปลี่ยนเข้ามาสู่โลกภายใน และได้เผยให้ข้าพเจ้าเห็นถึงความแปลกแยกกับตนเองอย่างคาด ไม่ถึง"......
แม่แบบแห่งปัจเจกภาพ .. มณฑลอันศักดิ์สิทธิ์

รู้สึกว่าต้องยกปัจฉิมพินิจมาไว้ ก่อนจะเริ่มเปิดปฐมบทใหม่ ผ่านมุมของพ่อมดควอนตัม
บทที่สามฟิสิกส์จุงเกี้ยน ซิงโครนิคซิตี้- หลักฐานของจักรวาลแห่งฝัน นี้ พ่อมดควอนตัมใช้คำโปรยของวูล์ฟกัง เพาลี ที่บอกว่า From an inner center the psyche seems to move outward, in the sense of an extraversion, into the physical world
พ่อมดบอกว่าฟรอยด์นั้นเพียงแค่นำเสนอศาสตร์ของโครงสร้างทางจิตอย่างเป็นกลไก แต่ยุงไปต่อแล้วก็ยังบ่งชี้ว่าโครงสร้างนั้นยังต้องรวม meaningful relationships อย่างอื่นซึ่งมากกว่า time-ordered กับ cause-effect (นี่ก็ตรงกับที่ดิสเปนซาพูดนะ คือเวลาที่เป็นเส้นตรงตามกฏเทอร์โมไดนามิกส์ กับเหตุก่อผล) ในหนทางที่ฟรอยด์ได้บอกใบ้เอาไว้ เมื่อเค้าสร้างโมเดล id as “timeless” ขึ้นมา (ปัจเจกภาพเหนือกาลเวลา) แล้วยุงก็เรียกมันว่าเป็นประเภทของ relationships synchronistic .. ความสัมพันธ์แบบจุงเกี้ยนซึ่งถือเป็นความพยายามให้วิทยาศาสตร์เข้าไปให้กำเนิดฟิสิกส์ที่มีความหมาย และความเข้าใจใน the self และ the psyche .. ในแนวคิดที่พิเศษนี้ยุงให้ความสำคัญอันยิ่งใหญ่กับความฝันมากกว่าฟรอยด์เยอะทีเดียว 
ในบทนี้อลันว่าเค้าขอไม่พูดถึงยุงเพียงแค่แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความฝัน แต่จะพูดถึงโมเดล “human psyche” ของยุงเลย แล้วต่อไปนี้ก็จะใช้โมเดลของยุงนี่แหละเชื่อมโยงระหว่างจิตกับกาย ทั้งเค้าก็จะพยายามสร้างโมเดลซึ่งจะแสดงว่าความฝันในสัมผัสของความจริงนั้นเป็นส่วนประกอบของสสารโดยตัวของมันเอง แสดงว่าจักรวาลฝันถึงตัวของมันเอง ซึ่งเรื่องมันยาวจริงๆ ที่จะพูดว่า.. “ความฝันเป็นส่วนประกอบของสสาร”
ความลี้ลับคณานับที่พวกเราพบเจอคือ “how matter becomes conscious” สสารกลายมีจิตรู้ขึ้นมาได้ยังไง? เอาอย่างง่ายเลยนะ ถ้าคุณเห็นด้วยว่าตัวเราก็ประกอบจากสสาร แล้วไอ่สสาร (เราเนี่ย) มันสร้างภาพ สร้างความคิดขึ้นมาได้ยังไง? หรือจะพูดแบบดิบๆ เลยก็คือ ก้อนเนื้อ (ร่างกายเราเนี่ย) มันฝันได้ยังไง? มันมีลักษณะของชีวิตชีวาอยู่ในสสารนั้นใช่มั๊ย ถ้าบางอย่างถูกเผยออกมา บางอย่างที่จะแสดงว่าสสารนั้น already conscious มันมีจิตวิญญาณอยู่แล้วเพียงแต่รอคอย right environment สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการเผยออกซึ่งจิตวิญญาณของมันกับเรา เป็นเรา แล้ว “characteristic” ที่ว่านั้นมันคืออะไรล่ะ?

จักรวาลความฝันต่อ ..เพื่อที่จะให้ได้พบคำตอบ (เรื่องความสัมพันธ์ของจิตกับสสาร) เราจะต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า จิต (psyche) คืออะไร และมันทำงานอย่างไร? .. พ่อมดวูล์ฟ บอกว่าเค้าจะแสดงให้เห็นในบทนี้ว่าแนวคิดจุงเกี้ยนในเรื่องจิตนั้นสามารถเชื่อมโยงกับกฏควอนตัมได้ -และนั่นก็เป็นสิ่งที่จุงเองก็เชื่อมั่นว่าเป็นไปได้ เพียงแต่มันมีความยากลำบากในการไปให้ถึงอยู่ ทั้งเค้ายังบอกอีกว่า เค้าอยากทำทั้งสองโมเดลไปเลย (คือทั้งของยุงและฟรอยด์ด้วย)
ซึ่งส่วนสำคัญยิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาก็คือบทบาทของสิ่งที่ยุงเรียกว่า “synchronicity” อันอาจให้คำจำกัดความได้ว่า ซิงโครนิคซิตี้ ก็คือความสืบเนื่องเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ซึ่งไม่อาจถูกเชื่อมต่อได้ด้วยกลไกปกติใดๆ งงมั๊ยคะ?.. ขอยกตัวอย่างช่วยสำหรับคนที่พึ่งมาเริ่มต้นอ่านหน่อยดีกว่า.. อย่างเช่น ถ้าเมื่อคืนคุณเกิดฝันเห็นตาหลานคู่นึงที่คุณไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนคู่นึง ในฝันตากำลังหอมแก้มหลานที่นั่งตักเค้าอยู่ แล้วจู่ๆ เช้าตื่นขึ้นมา คุณเดินออกจากบ้านไป ก็ไปเห็นภาพนั้น แป๊ะ!! .. หรือ (เหตุที่ชัดเจนว่ายุงเป็นพ่อมด ^_^) คือเมื่อยุงได้ดูแลคนไข้ของเขา ซึ่งป่วยทางจิตไปถึงระดับนึง แล้วไม่สามารถไปต่อได้ คือไม่มีความคืบหน้า .. แต่แล้ววันนึง ขณะที่คนไข้กำลังเล่าฝันให้ยุงฟัง ฝันของคนไข้คือฝันเห็นแมลงสีทองตัวนึง แล้วแมลงตัวที่เหมือนในฝันก็บินผ่านหน้าต่าง มาตกตรงหน้ายุงพอดี เขาหยิบขึ้นมาส่งให้คนไข้ดู แล้วถามว่า “ตัวนี้ใช่มั๊ย?” .. เคสนี้ยุงได้บันทึกไว้ว่า หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ผ่านพ้น ไปสู่ความก้าวหน้าของการรักษาเยียวยากันต่อไปได้.. นี่เป็นตัวอย่างซิงโครนิคซิตี้ ซึ่งมีฝัน (ตอนกลางคืนมาเชื่อมต่อ) ส่วนซิงโครนิคซิตี้ ของชีวิต (ที่อาจรวมฝันกลางคืนเข้ากับชีวิตตื่นตอนกลางวันอย่างสืบเนื่อง ก็คือการเกิดเหตุการณ์ที่เสมือนเป็นอุบัติเหตุในชีวิต ซึ่งคุณไม่เข้าใจว่ามันเกิดขึ้นมาได้ยังไง แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณก็กลับเห็นความสืบเนื่องเชื่อมโยงของมันอย่างชัดเจน) 
พ่อมดควอนตัมบอกว่า synchronicity นี้จัดเป็น concept ระดับ “โซ่ทอง” ที่จะมาสอดคล้อง ร้อยเรียง เชื่อมต่อ ทำให้ควอนตัมฟิสิกส์กับจิตและสสารเลยทีเดียว โซ่ทองที่ว่านี้จะผูกโยงหลักการจากระดับพื้นฐานของฝัน (ที่เราหลับตอนกลางคืน) กับฝัน (ในตอนกลางวันที่เรารู้สึกว่าเราตื่นอยู่นี่แหละ) มันเป็นอาณาจักรแห่งจินตนาการซึ่งเค้าจะอธิบายต่อไป ซิงโครนิคซิตี้ ถือเป็นเบาะแสที่จะนำไปสู่ “Big Dream” และเราเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในนั้นด้วย
แล้วเมื่อเราเปรียบเทียบคาร์ล ยุงกับฟรอยด์ เราจะเห็นว่ายุงได้นำเสนอมุมมองทางเลือกให้กับความฝันและจิตวิทยา ในปี 1970 ยุงไปเยี่ยมฟรอยด์ในเวียนนา และทั้งสองก็ตัดความสัมพันธ์กันอย่างชนิดที่ไม่มีทางเชื่อมต่อได้เลยในสองสามปีหลังจากนั้น ยุงรู้สึกว่าฟรอยด์หลงใหลไปว่าพลังจิตเป็นเรื่องเพศในธรรมชาติที่ยังไม่เผยตัวไปโดยสิ้นเชิง แล้วเค้าก็ยังคิดว่า Freud’s interpretation of dreams (การตีความ ความฝันแบบของฟรอยด์) นั้นมีข้อจำกัด ที่คับแคบเกินไป
ทฤษฎีความฝันของยุง (Jung's Theories of Dreams) ที่มองผ่านจักรวาลความฝันของพ่อมดควอนตัม เฟรด อลัน วูล์ฟ ...
ยุงเชื่อว่าฟรอยด์นั้นเน้นความสำคัญไปที่ปัจจัยเชิงอีโรติกของฝันมากเกินไป แล้วเค้าก็ยังเชื่อว่าความปรารถนาในอันที่จะเติมเต็มนั้นมันไกลเกินกว่าเหตุผลอันน้อยนิดที่จะมาขีดเส้นใต้ว่าเป็นเหตุแห่งความฝันทั้งหมด ยุงเชื่อว่าฝันไม่ได้เป็นแค่การอำพรางของความปรารถนาที่ไม่ได้รับการยอมรับ แต่เป็นสิ่งจำเป็นของ creative sense โดยแท้จริงแล้วฝันนั้นผลิตข้อมูลใหม่ให้กับ conscious mind (จิตสำนึกรู้) ยุงยังรู้สึกด้วยว่าสัญลักษณ์แห่งฝันนั้นไม่เพียงถูกสร้างขึ้นเพื่อเก็บงำข้อมูล แต่มันเป็นภาษาของจักรวาลที่ยุงเรียกว่า “archetypes” พวกมันอยู่ใน model terms การแก้สมการที่อธิบายความเป็นจริงใหม่จะใส่เอาไว้ใน symbolic term (เป็นสัญญลักษณ์) เช่นเดียวกับการแก้สมการทางคณิตศาสตร์ ที่จะถูกเขียนไว้ในรูปฟอร์มของสัญญลักษณ์แทนไอเดียของพวกเราเกี่ยวกับความเป็นจริงทางกายภาพ
กระชับให้สั้นๆ ก็คือขณะที่ฟรอยด์เชื่อว่าการหลับเป็นเหตุและความฝันเป็นผลอันจำเป็นที่ยอมให้การหลับสืบต่อไป ยุงเชื่อว่าความฝันเป็นปฐมและการหลับเป็นการแปรเปลี่ยนที่มีนัยยะสำคัญของจิตวิญญาณที่ทำให้ความฝันอุบัติขึ้น
คาร์ล กุสตาฟ ยุง เกิดในสวิตเซอร์แลนด์ ปี 1875 ตั้งแต่วัยเยาว์จนกระทั่งยุงตายในปี 1961 เขาเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับเรื่องจิตวิญญาณหรือด้านที่เป็นความลี้ลับของจิตมนุษย์ ทำงานวิจัยเรื่อง symbolism (สัญญลักษณ์ ในฝัน, ในพิธีกรรม), parapsychology (ปรจิตวิทยา ซึ่งคงจะแปลอีกทีว่าจิตวิทยาเกี่ยวกับญาณ), modern physics, และศาสนา โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ Christianity (ซึ่งมีบทบาทอย่างมีนัยยะสำคัญในทฤษฎีทางจิตวิทยาของเขา) เค้าจะให้ความหมายของจำนวนพอๆ กับคุณค่าของมัน เรียกได้ว่ายุงนั้นคล้ายจะเป็นจอมขมังเวทย์แบบโบราณและเป็นพวกถือหลักพิธากอรัสไปในตัวด้วย (ancient Cabalists and Pythagoreans)
ยุงเห็นว่ามีการส่งอิทธิพลถึงกันระหว่างจิตไร้สำนึกกับจิตสำนึก อย่างสืบเนื่องอยู่ตลอดเวลา เป็นสองลักษณะแห่งจิต ในทางตรงกันข้าม ฟรอยด์กลับรู้สึกว่าอยู่ “ภายใต้สภาวะสงคราม” ของ conscious mind ซึ่งพยายามที่จะส่งความไม่พึงปรารถนาของมันเข้ามาสู่ความหม่นมัวแห่งปัจเจกภาพ
ฟรอยด์มองว่า จิตไร้สำนึกก็เป็นส่วนที่อยู่ภายใต้สงครามของจิตสำนึกซึ่งส่งทุกข์เวทนามาให้เกิดความหม่นหมองในปัจเจกภาพเสมอ.. โห.. อ่านประโยคสุดท้ายนี้แล้วขนลุก.. ยอมรับว่าไม่ศรัทธาฟรอยด์ (ทั้งที่ก็ไม่ได้รู้จักเค้าสักเท่าไหร่เนี่ยนะ ) แต่ต้องยอมรับเลยว่าความคิดเค้ามันส่งอิทธิพลต่อโลก และต่อตัวเราเองด้วยจริงๆ...
แต่ทั้งสองก็เห็นตรงกันว่า จิตไร้สำนึก (unconscious mind) พูดกับเราโดยผ่านความฝัน ยุงเชื่อว่าฝันเป็นธรรมชาติและเป็นส่วนสำคัญของความเป็นองค์รวมทั้งหมดของเรา ความฝันใช้จินตภาพบอกเราเกี่ยวกับความเป็นตัวของเราเอง แต่ฝันจะบอกอะไรในสิ่งที่เรายังไม่รู้บ้างล่ะ? มันจะบอกถึงสิ่งเหล่านั้นในชีวิตที่เราเคยละเลย หรือเก็บงำไว้ หรือสิ่งธรรมดาเรียบง่ายซึ่งยังไม่ได้ถูกเอามาใช้ ความฝันไม่มีอันตรายและไม่ได้บ้าบอ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปอธิษฐานให้บรรลุผลอะไร ทั้งฝันยังไม่ได้พูดด้วยภาษาอันซ่อนเร้น แต่มันเป็นข้อความจากตัวเราเองที่่ส่งถึงตัวเอง ขณะที่ฟรอยด์เชื่อว่า โดยพื้นฐานที่สุดความฝันนั้น “ปกปิด” บางอย่างเอาไว้ แต่ยุงเชื่อว่าเป็นการ “เผยออก”
ยุงรู้สึกว่าฝันเกี่ยวพันกับ Origins เป็นจุดที่ new ideas ถูกสร้างสรรขึ้นมา ทั้งไม่ได้เป็นเหตุผลอะไรที่จะมาอธิบายพฤติกรรมของเราในอดีต แต่มักจะมาบอกเราถึงบางอย่างอันเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของเราในอนาคตมากกว่า
แล้วยุงอธิบายถึงการปรากฏอันแปลกประหลาดและความไม่ปกติของจินตภาพในฝันไว้อย่างไร? มันเป็นจุดที่ยุงดูเหมือนจะไปไกลพ้นขอบของวิทยาศาสตร์ ยุงวางสมมุติฐานการปรากฏของจิตไร้สำนึกแห่งจักรวาลไว้อย่างพ้นไปจากจินตภาพอันแน่ชัดซึ่งปรากฏอย่างเป็นปกติกับคนทั้งหลาย ถึงตอนนี้มันก็ไม่ใช่จินตภาพหรอกที่สำคัญ แต่มันเป็นความโน้มเอียงของจินตภาพ -แก่นแท้ซึ่งมาขีดเส้นใต้จินตภาพ -ที่มันอยู่ความสามัญของคนทั้งหลาย ยุงเรียกแก่นนี้ว่า archetype (ต้นแบบ)
ผลที่สุดก็คือ ถ้าเราละเลยบางส่วนซึ่งสำคัญของตัวเราเอง ฝันของเราก็จะสร้างภาพอันสะท้อนออกของ archetype นี้ จินตภาพที่ปรากฏจะแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ความหมายของ archetype จะเหมือนกัน .. พ่อมดควอนตัมบอกว่าเค้าจะพยายามผูกโยง archetype เข้ากับฟังก์ชั่นคลื่น (wave function) ของควอนตัมฟิสิกส์ ซึ่งสะท้อนความโน้มเอียงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกาลอวกาศและบ่งชี้ว่าแม่แบบนั้นเป็น signs ของการอ้างอิงตัวตนในระดับสูง (archetypes are signs of a higher level of self-reference) .. ตรงนี้อ่านยุงไป กว่าจะเข้าใจคำว่า archetype นี่ก็ไม่ง่าย แต่ตอนนี้เกิดนึกสนุก คิดไปว่า ต้นแบบนี่น่าจะเป็นประมาณเทพ ในแต่ละสังคมมีเทพที่ต่างกัน ซึ่งในความหมายแล้วก็ไม่ต่างกัน เป็นอะไรที่เหนือมนุษย์ อยู่สูงกว่า เราจินตนาการว่าสมบูรณ์กว่า เหมือนกันแต่ก็มีความเข้มข้นของ self สูง ในเชิงลักษณะเฉพาะ .. มั๊ง?!? .. โอ้..คุรุเทพ!!!
.. แล้วนี่ก็จะนำเราไปสู่การค้นหาความหมายของจินตภาพ มากกว่าจะมัวแต่พิจารณาว่าเป็นบางอย่างที่เราเก็บงำซ่อนเร้นไว้จากตัวของเราเอง .. แล้วทำไมเราถึงฝันเป็นภาพล่ะ? มันดูเหมือนว่าเราฝันเป็นภาพ ไม่ได้เป็นภาษาหรือคำพูดก็เพราะว่าภาพมันเป็นเบสิกหรือบางทีมันคงเป็นหนทางดั้งเดิมของการที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโลกข้างนอก พ่อมดยังตั้งข้อสังเกตว่าจินตภาพมีความเข้มข้นในการเชื่อมโยงกับความรู้สึกของเรา แล้วความรู้สึกก็มาสร้างสรรอารมณ์ และอารมณ์ก็เป็นชีวิตชีวา (แรง? พลัง?) ของความทรงจำทั้งหลาย หรือพูดได้ว่า เราจะไม่จดจำอะไรที่เราไม่มีความรู้สึกเกี่ยวข้องด้วย we do not remember anything that we have no feelings about.
ตอนนี้ก็มาพิจารณาเรื่องความรู้สึกคืออะไร? อย่างเป็นระเบียบหน่อย เค้าจะชวนเราไปดูว่ายุง จัดสรรพวกมันอย่างไร? และเพื่อที่จะทำอย่างนั้น ขั้นแรกเราจำเป็นต้องพิจารณาถึงความสำคัญของโครงสร้างทฤษฎี Jung’s model of the psyche. ซึ่งมันมีหลายอย่างแตกต่างจากของฟรอยด์
วันนี้หาญกล้าหยิบ On the Nature of the Psyche ของยุงไป นั่งอ่านแบบเปิดใจ คือปล่อยให้สมองว่าง วางใจไปรับรู้สัมผัสสายน้ำที่ไหลผ่านจากเท้าจรดเข่า ลมที่พัดมาตามลำธารก็ปล่อยให้แทรกผ่านร่างกายทั้งหมดไป .. รู้สึกดีมาก อ่านไปได้สองส่วนคือ Energism and Dynamism กับ Conscious and Unconscious .. ได้รู้ว่ายุงให้นิยมของคำว่า Psyche = Consciousness แล้วก็ได้พบการขยายความของคำที่ยุงใช้ อย่างเช่น Progression & Regression, Extraversion & Introversion กับ The Canalization of Libido ... : ซึ่งล้วนแต่เป็นคำที่เฟรด อลัน วูล์ฟ อ้างอิงถึงใน Jung’s model of the psyche.. แต่หากถามว่า..พอที่จะถ่ายทอดออกมาได้รึยัง? ก็ขอตอบตามตรงว่า ตอนนั่งอ่านริมธารน้ำได้ความรู้สึกที่ดี แต่พอกลับมา จะเขียน ก็ยังเขียนอะไรไม่ได้ .. รู้ตัวว่า ยังไม่เข้าใจมากพอที่จะทำอย่างนั้น มันเหมือนยังจับออกมาเป็นส่วนๆ ไม่ได้ ยุงพูดเหมือนสายธารน้ำตก จะอยู่ตรงชั้นไหน แอ่งไหน มันก็ไม่ได้อยู่เฉพาะตรงนั้น มันไหลมา ไหลไป ถ้าบอกแค่ว่า มันใช่แล้ว หมายความว่าอย่างนี้ (แบบเปิดพจนานุกรมเอา) มันก็ไม่ใช่อีก..
เลยตัดสินใจกลับไปต่อ Jungian Individuation : Self from Nonself ของพ่อมดควอนตัมก่อน 
Individuation แปลว่า the quality of being individual คุณภาพของความเป็นปัจเจก .. ปัจเจกภาพ?
ข้อแรก เป็นแนวคิดสำคัญมากในโมเดลของยุงก็คือกระบวนการคุณภาพแห่งปัจเจก (process of individuation) ซึ่งเป็นการพัฒนาส่วนบุคคล (personal development) ในการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์กลางของสำนึกรู้ อันมีลักษณะสองประการของจิตคือทั้งสำนึกและไร้สำนึก - ปรากฏ อีโก้ เป็นศูนย์กลางในส่วนของจิตสำนึก ยุงจะบอกว่าอีโก้เชื่อมโยงกับ self (ตัวตน)
ข้อสอง แนวคิดหลักรวมไว้กับ attitudes ซึ่งเป็นคุณลักษณะของพฤติกรรม ยุงเรียกพวกมันว่า introversion and extroversion (บุคคลิกภาพเก็บตัว กับบุคคลิกภาพเปิดเผย) พวกเก็บตัวก็เข้าข้างใน โฟกัสแต่กับเรื่องตัวเอง ส่วนพวกเปิดเผยก็จะออกข้างนอกโฟกัสแต่เรื่องข้างนอก แต่เค้าก็บอกว่ามันไม่มีใครเป็น pure attitudinal behavior (คือเป็นพวกเข้าข้างใน หรือออกข้างนอก ล้วนๆ) -บางทีคุณอาจรู้สึกว่าตัวเองโง่ แต่บางทีคุณก็ไม่ได้รู้สึกอย่างนั้น เราแต่ละคน มีความโน้มเอียงทีจะไปข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง
ทั้งกระบวนการเก็บตัวและเผยออกเป็นวงจรที่สมบูรณ์ ในช่วงที่เข้าข้างใน บุคคลก็จะอยู่กับความคิดของตัวเอง ขณะเดียวกันตอนที่ออกข้างนอกก็จะอยู่กับความคิดและประสบการณ์ของคนอื่น 
ด้านเก็บตัว จะเชื่อในความคิดของตัวเอง ส่วนด้านเผยออกจะขึ้นอยู่กับความคิดจากภายนอก ยุงจัดสรรกระบวนการเหล่านี้ในเทอมของ libido (ความต้องการที่ถูกกระตุ้นมาจากจิตไร้สำนึก โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องตัณหา ราคะ ความใคร่) ซึ่งยุงกำหนดให้เป็นกระบวนการของพลังงาน (energic process) หรือเป็นการไหลเลื่อนของพลังงาน -the flow of energy
ข้อสาม ยุงจัดเป็น functions, ฟังก์ชั่นของยุงคือความคิด (thinking), ความรู้สึก (feeling), สัมผัส (sensing) และญาณทัศนะ (intuiting) แต่ละอย่างก็มีความพิเศษเชื่อมโยงกับความหมายปกติที่เราใช้กันอยู่ แต่ก็มีความเฉพาะที่แตกต่างออกไปด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกใครบางคนว่าเขาไม่มีความสามารถในการคิด หรือความคิดมันอยู่ในฟังก์ชั่นที่อ่อนด้อยสำหรับเขา พ่อมดบอกเห็นภาพเลยว่าคงโดนหมัดซัดตรงเข้าจมูก หากคนๆ นั้นมีฟังก์ชั่นสัมผัส sensing function ที่เข้มแข็ง 
ฟังก์ชั่นเหล่านี้อาจถูกมองเป็น มิติทางจิต (psychic dimensions) หรือเป็นสิ่งที่ควบคุมจิต (psychic operators) แต่ที่น่าทึ่งก็คือพวกมันคล้ายกับการที่กลไกควอนตัมแสดงออกให้ผู้ควบคุมสังเกตเห็น ความคิดกับความรู้สึกเสริมเติมกัน (thinking and feeling are complementary) ในทำนองเดียวกับที่ตำแหน่งกับแรงในการเคลื่อนที่เสริมเติมกันในการสังเกตทางโลกกายภาพ 
ในความใกล้เคียงกัน คนที่ใช้ฟังก์ชั่นความคิด thinking function (เกือบจะตลอดเวลา) กับเหตุการณ์ในชีวิตของเธอ เธอจะพบว่าชีวิตเกี่ยวข้องกับ “ความจริง” ตัดสินอะไรต่ออะไรอย่างไม่ใช้ความเป็นส่วนตัว (impersonal) ถือตรรกะเป็นเกณฑ์ในการเข้าสู่สถานการณ์, มีเหตุผลเป็นนามธรรม, และมั่นคงในข้อตกลง ซึ่งแน่นอนว่าเธอจะต้องเป็นนักวางแผนที่ดี
ขณะที่ในอีกด้านนึง ถ้าเธอใช้ feeling function (เกือบจะตลอดเวลา) เธอจะจัดสรรเหตุการณ์โดยตัดสินเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นส่วนตัว ความจริงเพียงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เธอจะรู้จักว่า “อันนี้ใช่” แต่ไม่ได้คิดว่ามันจะต้องถูก อารมณ์ในการพิจารณาจะมีน้ำหนักมากว่าตรรกะเหตุผลเสมอ ดี, เลว, หรืออะไรอื่น เธอจะใช้ประสบการณ์ทางอารมณ์อันเข้มข้น ใช้ประสบการณ์ทางสติปัญญาเพียงเบาบาง
โดยสรุปก็คือ นักคิดจะใช้คำพูด และนักรู้สึก จะใช้อารมณ์เป็นจุดในการข้ามผ่าน
ถ้าอ้างถึงยุง, บุคคลไม่สามารถพัฒนาทั้งสองด้านอย่างเท่าเทียมกันได้ (ทั้งด้านคิดกับรู้สึก) ด้านนึงจะเด่นกว่าอีกด้าน หรือด้อยกว่าอีกด้านเสมอ.. พ่อมดเล่าว่าเค้ารู้สึกช็อกไปเลยเมื่อ Dr.Marie-Louise von Franz (นักเขียนและนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง: a protege of Jung’s) บอกกับเขาว่าฟังก์ชั่นความรู้สึกของเธอนั้นอยู่ในระดับอ่อนด้อย
ด้วยเหตุนี้ ความคิดกับความรู้สึกจะถูกผู้ควบคุมเอามาใช้ในการประเมินตัวเลือก และการตัดสินใจ บุคคลไม่สามารถจะประเมินเหตุการณ์ในขณะที่มีอารมณ์รุนแรงหรือใช้เหตุผลอย่างสุดๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ..หลังเหตุการณ์ปัญหาผ่านไปแล้วอาจจะมีความเป็นไปได้ แต่ในขณะที่กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ เธอจะพบว่าสามารถใช้ตัวควบคุมเพียงตัวเดียวในการเคลียร์
อย่างไรก็ตาม ความคิดกับความรู้สึก เป็นฟังก์ชั่นประเมินค่า นั่นคือบุคคลได้ให้ค่ากับความคิดหรือความรู้สึก สัมผัสกับญาณทัศนะไม่ได้ถูกเอามาใช้ Sensation ใช้เกี่ยวโยงเพื่อโฟกัสบนประสบการณ์ตรง, รูปธรรมความจริง, ใช้หลักฐานการทดลองมากกว่าทฤษฎี, และนั่นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้, รู้สึกได้, ชิมได้, สัมผัสได้ หรือฟังเสียงได้ นักสัมผัส (sensationists) จะต้องการสัมผัสกับประสบการณ์มากกว่าการวิเคราะห์ พวกเขาจัดการมันด้วย ผัสสะของเขา
พ่อมดบอกว่าพวก sensation นี้จะจัดการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดได้ดีมาก พลังงานเชื่อมโยงกับความคล่องตัวสูง ทั้งยังใช้เยียวยาร่างกายที่บาดเจ็บ คนประเภทนี้จะจัดการกับเครื่องไม้เครื่องมือได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 
ส่วนเสริมเติมกันของ sensation คือ intuitives คนเหล่านี้จะจัดสรรเวลาอย่างไม่เป็นเส้นตรง พวกเขาจัดกระบวนการข้อมูลบนฐานประสบการณ์จากอดีต, ปัจจุบัน และความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอนาคตจะมีความสำคัญกับคนประเภทใช้ญาณทัศนะนี้มากกว่าอดีตกับปัจจุบัน พวกเค้าสามารถร่วมรักและถักทอเรื่องราว ป่าวประกาศเกี่ยวกับชีวิตต่างดาว, หยั่งรู้จักรวาล และเปรียบเปรยการหลั่ง (อสุจิ) กับการสร้างสรรค์ของจักรวาล เช่นการแผ่รังสีของสสารอย่างเป็นไปเองย้อนเวลานอกหลุมดำ
บ่อยครั้งที่เค้าพัฒนาญาณทัศนะอย่างรุนแรงด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์และความหมายให้กับประสบการณ์อย่างรวดเร็วจนคนรอบๆ ตัวรู้สึกเหมือนถูกกระชากลมหายใจไป เป็นคนที่ปล่อยความเข้มข้นออกมาสูง พวกเขามีความสามารถในการมองจักรวาลอย่างเป็นองค์รวมและใช้ในการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ที่ยึดถือกันโดยทั่วไปได้อย่างกระทันหัน คนพวกนี้มีไอเดียที่ดีมากแต่ก็มักจะเป็นทุกข์จากความรู้สึกในการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ 
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีประสบการณ์กับโลกของญาณทัศนะกับโลก sensation ไปในเวลาเดียวกัน เพราะฟังก์ชั่นเหล่านี้เป็นส่วนเสริมเติมกันเช่นเดียวกับความคิดกับความรู้สึก อย่างไรก็ตามมันมีความเป็นไปได้ที่จะมีทั้งคู่ ญาณทัศนะกับความคิดและความรู้สึกที่เป็นสุดยอด หรือพูดอีกอย่างก็คือบุคคลสามารถพัฒนาฟังก์ชั่นเป็นนักคิดที่มีญาณทัศนะหรือนักรู้สึกที่มีญาณทัศนะได้อย่างเท่าเทียม

หรือบางทีบุคคลอาจจะมีความรู้สึกกับ sensation เป็นสุดยอดของฟังก์ชั่น เธออาจจะมีช่วงเวลาที่ยากลำบากกับคณิตศาสตร์แต่เป็นนักเต้นรำที่ดี เป็นประเภท intuitive-feeling superiority ซึ่งอาจจะเป็นนักการตลาดที่ดีแต่ขาดความชำนาญในการวางแผน หากเข้ากับคนได้หลากหลายประเภท หรืออาจจะเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาบุคคลิกภาพหรือเป็นเชียร์ลีดเดอร์

แล้วพ่อมดก็อธิบายภาพประกอบที่ยุงนำเสนอ functional typology graphically 
ช่างเป็นแบบแผนที่สมจริงสมจัง เรียบง่าย แล้วก็น่าทึงมากเลยทีเดียว..
สี่ภาพ สี่ประเภท ลักษณะเด่นด้อยตามแผนภาพฟังก์ชั่นที่ยุงนำเสนอ

ฟอร์มของแต่ละภาพก็คือแบ่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสครึ่งนึงด้วยเส้นขอบฟ้าจิต (horizon of consciousness) ส่วนบนเป็นสำนึกรู้ (conscious) ส่วนล่างเป็นไร้สำนึก (unconscious) และมีเส้นทะแยงสองเส้นที่ตัดกันตรงจุดกึ่งกลางกับเส้นขอบฟ้าจิต

ภาพแรก เส้นทะแยงจากซ้ายไปขวา ปลายบนในส่วนสำนึกรู้เป็น intuition ปลายล่างส่วนไร้สำนึกเป็น sensation ตัดกับเส้นทะแยงจากขวาไปซ้าย ปลายบนในส่วนสำนึกรู้เป็น feeling และปลายล่างส่วนไร้สำนึกเป็น thinking 
ภาพแรกนี้เส้นทะแยง (intuition-sensation) จะยาวกว่าเส้นทะแยง (feeling-thinking) มากทีเดียว
เป็นการแสดงถึงบุคคลประเภทที่มีพัฒนาการด้าน intuition สูง และมีพัฒนาการด้าน feeling ด้วย (แต่น้อยกว่าญาณทัศนะ) คนประเภทนี้จะมี thinking ซึ่งดูเหมือนจะด้อย (อยู่ในไร้สำนึก) ส่วน sensation ก็อยู่ลึกในระดับไร้สำนึก คนเหล่านี้จะเดินไปมาเหมือนหัวสมองถูกปกคลุมไปด้วยเมฆ เห็นโลกภายนอกเพียงน้อยนิด แล้วก็จะคอยเป็นห่วงว่าพฤติกรรมของตัวเองไปส่งผลกระทบกับคนอื่นยังไงบ้าง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในอดีตเค้าก็ทำได้ค่อนข้างดี และเค้าจะสามารถสร้างสรรหรือเปลี่ยนแปลงอนาคต กับสร้างความสัมพันธ์อันมั่นคงแน่นอนกับใครสักคนได้ยังไง

ภาพที่สอง เส้นทะแยงทั้งสอง (เส้น thinking-feeling กับเส้น intuition-sensation) ความยาวเท่ากัน ตัดกันตรงจุดกึ่งกลางเส้นขอบฟ้าแห่งจิตพอดี มีปลายด้าน thinking และ intuition อยู่ในส่วนสำนึกรู้ กับ sensation และ feeling อยู่ในส่วนไร้สำนึก
ในภาพที่สองนี้ เค้าบอกว่าคนประเภทนี้จะเป็นปัจเจกที่มีสมดุลมากขึ้น (เป็นพวกนักคิดที่มีญาณทัศนะ หากมีสัมผัสและความรู้สึกอยู่ในระดับไร้สำนึก) เหมาะแก่การจะเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ดี แต่ก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการคุมกำเนิดในเพศชายจะต้องถูกต่อต้านด้วย ฮ่าๆๆๆ (พ่อมดควอนตัมนี่ตลกจริงๆ)

ภาพที่สาม ก็สมดุลเช่นภาพที่สอง หากส่วนบนระดับสำนึกรู้ เป็นด้าน sensation และ thinking แล้วส่วนล่าง ไร้สำนึกเป็น feeling กับ intuition เค้าว่าคนพวกนี้เหมาะจะเป็น experimental scientist (นักวิจัยทดลองทางวิทยาศาสตร์) เป็นประเภทที่อยู่กับ here & now มีความสุขในการต่อจิกซอร์เพื่อแก้ปัญหา ชอบคณิตศาสตร์ และไม่ค่อยใช้จินตนาการเท่าไหร่ ถ้าคนประเภทนี้ไปเป็นนักพูดหรือนักเขียนงานของเค้าจะเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญสูง นิยมความเป็นจริงระดับ fact แล้วจะอ้างอิงทฤษฎีอย่างแฝงความฉนงด้วย

ภาพสุดท้าย ภาพที่สี่ feeling กับ sensation อยู่ในระดับสำนึกรู้ ส่วน intuition กับ thinking อยู่ส่วนไร้สำนึก ก็จะเป็นคนประเภทตรงข้ามกับภาพที่สอง คือเป็นพวกใช้ความรู้สึก สัมผัส เป็นนักเต้น นักแสดง ศิลปิน พอมดบอกว่าประเภทนี้จะดึงดูดใจพวกนักฟิสิกส์ทฤษฎี (เช่นตัวเค้า) ได้เป็นอย่างดี ฮ่าๆๆๆ

หากการแปรเปลี่ยนรูปฟอร์มไม่เกิดขึ้น มันจะดูเหมือนว่า แรงกระตุ้นจากภายใน (libido) ถูกทำให้หายวับไป .. ในเรื่องขำขันของริชาร์ด ฟายน์แมน (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล) “Dennis the Menace” เดนิสตัวร้าย ได้รับอิฐบล็อก 28 ก้อนจากแม่ของเค้า วันแรก แม่ปล่อยเค้าเอาไว้ในห้องกับอิฐทั้งหมดแล้วจากไป พอหมดวันแม่กลับมาพบเดนิสอยู่กับอิฐ 26 ก้อน แม่ค่อยๆ มองหาอิฐ ด้วยการมองออกไปนอกหน้าต่าง ก็ไปเห็นอิฐสองก้อนคู่กันอยู่ใต้พุ่มไม้ .. วันถัดมา เธอก็ต้องช็อกเมื่อพบว่าเค้าอยู่กับอิฐ 30 ก้อน แต่แล้วปริศนาก็คลี่คลายความกระจ่าง เมื่อรู้ว่าบรูซ เด็กข้างบ้านมาเยี่ยมและทิ้งอิฐสองก้อนของเค้าเอาไว้ เธอเอาไปคืนแล้วบอกแม่ของบรูซว่าอย่าให้เค้าเข้ามาอีก และเธอก็ปิดหน้าต่าง จากไป.. กลับเข้ามาใหม่ คราวนี้พบเดนิสอยู่กับอิฐ 25 ก้อน แต่อย่างไรก็ตาม มันมีกล่องของเล่นวางอยู่ในห้องด้วย เธอจะเดินไปเปิดกล่อง แต่เดนนิสก็ร้องเสียงหลง “อย่าเปิดนะ ห้ามเปิดเด็ดขาด” ด้วยความฉลาดเธอรู้ว่าอิฐหนักก้อนละ 3 ออนส์ กล่องเปล่าหนัก 16 ออนส์ เธอช่างน้ำหนัก (โดยไม่เปิด) พบว่ามันหนัก 25 ออนส์ เธอจึงได้สูตร conservation-of-blocks formula (มีภาพสมการให้ดู แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องบรรยาย สูตรไม่ได้ยากอะไร)
วันรุ่งขึ้น เซอร์ไพสใหม่ๆ รอเธออยู่ เธอเห็นว่าน้ำสกปรกในอ่างอาบน้ำเปลี่ยนระดับ เด็กเอาอิฐไปใส่ในน้ำ แต่เพราะน้ำนั้นขุ่นเธอเลยไม่เห็นก้อนอิฐ แต่เธอก็หาได้ว่าเค้าใส่อิฐลงไปกี่ก้อนจากการเพิ่มเทอมใหม่ๆ ลงไปในสูตรของเธอ (เดิมน้ำสูงอยู่ที่ระดับหกนิ้ว การใส่อิฐลงไปก้อนนึงจะทำให้น้ำสูงเพิ่มขึ้นหนึ่งนิ้ว .. ตามสูตรของเธอ..
ทุกครั้งที่เดนิสเล่นซ่อนอิฐใส่ความซับซ้อนลงไป โลกของเธอก็ยุ่งยากมากขึ้น หลังจากเวลาผ่านไปสักพัก เธอก็ได้ซีรี่ย์ของสูตร conservation-of-blocks formula กับเด็กมหัศจรรย์เดนิสและงานของเค้า บางทีเค้าก็อาจจะค้นพบวิธี “ทำลาย” หรือบดอิฐ แต่แม่ก็ยังมองหาฝุ่นตามซอกมุม หรือเขม่าบนเพดานได้อยู่ดี

แล้วในแต่ละครั้งที่เธอมองไม่เห็นอิฐ เธอก็จะรู้ว่ามันถูกเอาไปซ่อนหรือถูกแปรเปลี่ยน อิฐบล็อกเหล่านี้อุปมาได้กับความคิดเรื่องพลังงาน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อเมื่อมันถูกสงวนเอาไว้ ถ้าเราสามารถอธิบายถึงมันเมื่อมันไม่อยู่ในสภาพที่ชัดเจน ในทางกายภาพ, อย่างไรก็ตาม มันไม่มีอิฐบล็อกที่จะให้เริ่มตั้งต้น ที่เรามีอยู่ทั้งหมดก็คือสูตรที่แสดงให้เห็นว่าพลังงานก่อฟอร์ม แต่ไม่ได้บอกเลยว่า มันคืออะไร!!

ถึงตอนนี้พ่อมดจะบอกว่าทำไมเค้าถึงพูดเรื่อง energy diversion (การผันแปรของพลังงาน) .. พลังงานเป็นพื้นฐานหรือเป็นแนวคิดปฐม แรกเริ่ม.. ซึ่งเค้าจะเรียกมันว่า archetype (ต้นแบบ..เอาแล้วไงล่ะ.. ฮ่าๆๆ) เหมือนต้นแบบที่ปรากฏในฝัน รูปของพลังงานที่เราเห็นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าสังคมของเราใช้มันอย่างไร? แล้วเค้าก็อยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่าแนวคิดเรื่องพลังงานเกิดขึ้นมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ collective unconscious ..ว้าวว.. มันคือปัญญาของจักรวาลที่ก่อรูปฟอร์มขึ้นมา การค้นหาพลังงานจะหาจากระบบภายนอก “out there” โลกกายภาพ อันอุปมาได้กับการสืบค้นหาความหมายในฝันของยุง “in here” ในโลกแห่งความฝันของเรา
มันคือเหตุผลว่าสมมุติฐานของยุงซึ่งว่าด้วยพลังงานเป็นจักรวาลจัดสรรสู่ฟังก์ชั่นจิตอาจจะถูกต้องเช่นเดียวกับจักรวาลทางกายภาพ แล้วยุงก็ยังอธิบายว่าพลังมี 2 คุณลักษณะคือ intensity and extensity (หดเข้า-ขยายออก/เข้มข้นหนาแน่-แผ่กระจาย) การแผ่ขยายออกของพลังงานจะไม่เปลี่ยนรูปจากโครงสร้างหนึ่งไปเป็นอย่างอื่นถ้าหากมันไม่เปลี่ยนโครงสร้าง เป็นการหดเข้า โดยการขยายออก ยุงอ้างอิงถึงคุณภาพของพลังงาน หรือพูดอีกอย่างก็คือเค้าชี้ไปตรงที่ว่ามันมี “บางอย่าง” ซึ่งเดินทางผ่านจากแห่งหนึ่งไปที่อื่น เมื่อพลังงานมีการแปรเปลี่ยนเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น บอลถูกตีตรงขึ้นไปจะมีการแปรเปลี่ยนของพลังงานไปพร้อมกันด้วย มันมีพลังงานจลน์กับพลังงานศักย์ (gravitational potential energy) ปริมาณของพลังงานจลน์จะเคลื่อนไปสู่พลังงานศักย์เมื่อบอลพุ่งขึ้นไป พุ่งขึ้นไปจะไม่มีพลังงานจลน์เลยแต่จะเต็มไปด้วย potential energy การประเมินปริมาณของพลังงานคือความเข้มข้น แต่ลักษณะของการเคลื่อนไหวและศักยะเป็นการขยายออก (extensive) บอลจะไม่สามารถย้ายลักษณะจากการเคลื่อนไหวไปสู่ลักษณะของศักยะได้โดยไม่เปลี่ยนฟอร์มของมันโดยการแตกออกเป็นชิ้นๆ 

คล้ายคลึงกับในปัจจัยการขยายออกของจิต ซึ่งไม่มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอน ความคิดของยุงในเรื่องการขยายออกและหดเข้านี้นำทางไปสู่ David Bohm’s concept of implicate and explicate order.. ว้าวว.. แล้วพวกมันก็ยังนำทางไปสู่การแบ่งโลกออกเป็น object กับ action of objects : subjects กับ verbs พวกมันประกอบการเสริมเติมกัน เป็น 2 (dual way) ในการจัดสรรประสบการณ์ เป็นนัยยะ อันนำไปสู่การแบ่งระหว่าง จิตกับสสาร, กายภาพกับจิต, คำกับภาพ