เก็บความบางส่วนของจักรวาลกำลังฝัน The Dreaming Universe/ Fred Alan Wolf Ph.D. (ตอนที่ 1)

The Dreaming Universe ของ Fred Alan Wolf (พ่อมดควอนตัม) เช้าวันนี้ก็แจ่มชัดว่า เล่มนี้แหละที่จะมาต่อ จะก้าวข้ามธรณีประตูไปสู่ฝันร่วมกันทั้งจักรวาล..
ชัดเจนซะขนาดนั้น นั่นเพราะว่า... my research into the nature of shamanism and dreams suggest, it may be more real than the reality we perceive. It is, however, a reality that usually exists beyond our normal waking perception, although it dose appear to us in the form of lucid dreams, prophetic dreams, and other related phenomena such as near-death experience (NDE) and possibly UFO abduction.

ใช่!! เพราะมันจริงมากกว่าความเป็นจริงที่เรารับรู้กันอยู่ซะอีก ... lucid/ NDE/ OBE/ หรือแม้ UFO

หน้า 21 Self-Awareness in Dreams and Waking Life
ความฝันคืออะไร? คำถามนี้วางอยู่ตรงกลางหัวใจของสิ่งที่เรียกว่า mind-body problem (ปัญหากาย-จิต) เหล่านี้.. ซึ่งนำเราไปสู่แนวคิดอย่างเช่น dream-body (กายฝันของอาร์โนล มิเดล) และลูซิดกับ “witness” ของนักศึกษาความฝันอย่างเจอร์นี เกคเคนแบค และคนอื่นๆ 
ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญ สนใจเรื่อง lucid dreams เพราะมันต่างจากความฝันธรรมดาทั้งในเชิงสาระและประสบการณ์ ลูซิดมันต่างตรง “awareness” ของผู้ฝันตอนที่กำลังอยู่ในกระบวนการฝัน และความแจ่มกระจ่างชัดของรายละเอียดซึ่งผู้ฝันสามารถจะจดจำได้หลังจากฝัน อีกทั้งผู้ฝันก็ยังรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ในฝันได้ (ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของฝันลูซิด พ่อมดใช้คำว่า dreaming entity)
เค้าใช้คำว่า entity เพราะในลูซิดของเค้ามันแตกต่างจากชั่วขณะที่ตื่นปกติ พ่อมดบอกว่า แม้เค้าจะรู้ว่ามันเป็น “I” แต่มันต่างเพราะมันเป็น two conscious minds: คนนึงนอนอยู่บนเตียงที่บ้าน และกำลังฝัน และอีกคนก็ตื่นขึ้นในลูซิดควบคุมเหตุการณ์ในนั้นแล้วรู้ว่ามันคือฝันด้วย
พ่อมดควอนตัมเล่าว่า เขาสัมภาษณ์ผู้คนที่ไม่เพียงแต่เกิดฝันลูซิด หากแต่บางคนไปตื่นอยู่ในโลกคู่ขนาน (parallel world) ซึ่งเค้ามีชีวิตอีกชีวิตนึงไปเลย ซึ่งตัวอลันเองก็มีประสบการณ์นี้ ซึ่งมันใกล้เคียงกับฝันลูซิด แต่ไม่เชื่อมต่อกับลูซิดอื่นๆ แล้วก่อนหน้านั้นที่เขาเขียนเกี่ยวกับเรื่องฝันลูซิดเป็นงานศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฟิสิกส์สู่จิตวิญญาณ (relationship of Physics to consciousness)

Aware of self in lucid dreams? ตัวตนที่ตื่นขึ้นในลูซิด มันมีความหมายอะไร?!? self-awareness คืออะไร ... 

คำถามของพ่อมด.. โดนตรงๆ
เริ่มจากเรื่อง Big dream & little dream ของเค้าต่อไปก่อน .. คือพ่อมดบอกว่าเรื่อง UFO นั้นเป็นเรื่องที่ฝันใหญ่มาซ้อนทับกับฝันเล็กๆ (overlap) จากการมีประสบการณ์กับ UFO ในระดับปัจเจก เลื่อนขึ้นมาเป็น art (ผ่านภาพยนต์! และศิลปะแขนงอื่นๆ) แล้วเข้าสู่ระดับ politics จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับการเมืองในรัสเซียขึ้นแล้ว

หรืออีกเรื่องเค้าเล่าว่าเคยศึกษา shamans alter consciousness in order to heal and transform matter คือความสามารถในการเยียวยาและแปรเปลี่ยนสสาร (เล่นแร่แปรธาตุ) ของพวกพ่อมดแม่มดหมอผี

ตอนนี้ก็ทำให้แว๊บไปถึงคำของพ่อหมอประสาน ที่เคยบอกว่า ลูกเอ๋ย ก่อนที่อะไรมันจะถูกค้นพบ มันจะเป็นความฝันขึ้นมาก่อน แล้วจะเชื่อมกับปัจเจก ต่อไปเป็นมหภาค (ตรงนี้มหภาคกับปัจเจกของอลันจะมี art เข้ามาอยู่ระหว่าง หรือเป็นตัวเชื่อม?) อย่างสสารมืด จากสมมุติฐาน (ที่เป็นฝัน) กลายเป็นมาเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ ฯลฯ จนปัจจุบันก็เร่ิมมีการค้นพบกันแล้ว หลุมดำก็เช่นกัน

อลันเคยเขียนหนังสือชื่อ The Eagle’s Quest ซึ่งอธิบายว่าอาณาจักรแห่งจินตนาการนั้นมี source มาจาก Big Dream แล้วเค้าก็ยังได้ศึกษาว่าพ่อมดจัดระเบียบ ควบคุมใน alter (จะเป็นสิ่งที่มินเดลเรียกว่า alter state ล่ะมัง?!) ในการเยียวยา หรือเปลี่ยนสภาพสสาร (เล่นแร่แปรธาตุ) ภายใต้ความเข้าใจเรื่อง state of consciousness ในเทอมของฟิสิกส์วิชาการด้วย แล้วเค้าก็ยังยกตัวอย่างงานของ Wolfgang Pauli ซึ่งพ่อมดยกย่องว่าเป็นนักฟิสิกส์ที่ชาญฉลาดและยิ่งใหญ่ที่สุดคนนึงเท่าที่เคยมีมาจุติบนโลกนี้เลยทีเดียว เค้าว่าเพาลีตายในปี 1958 งานของเพาลีคือการรวมควอนตัมฟิสิกส์กับจิตวิทยาซึ่ง overlap ผ่านภาพฝันของเพาลี (นักฟิสิกส์ที่ทำเรื่อง synchronicity กับคาร์ล จุง)
ไปให้พ้น กาละ เทศะ
มันแปลว่าอะไรอ่ะ?!? ดีสเปนซาบอกว่า กาละ เทศะ เป็นสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางกายภาพ ซึ่งมันรวมตำแหน่งกับสัมผัส (อันชั่วคราว temporal) ของเราเข้าไปด้วย .. เมื่อเราพูดถึงแก้วที่วางอยู่บนโต๊ะ เราอ้างอิงมันกับสถานที่ (จุดที่มันดำรงอยู่ในอวกาศ) และห้วงเวลาที่มันปรากฏ (ซ้อนอยู่) .. และในฐานะมนุษย์ เราถูกครอบงำด้วย 2 แนวคิดนี้ตลอด .. เราอยู่ที่ไหน อยู่มานานแค่ไหน จะอยู่ต่ออีกนานเท่าไหร่ จะไปไหนต่อ.. เป็นอย่างนี้แม้ว่าเวลามันไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถสัมผัสมันได้อย่างแท้จริงเลย เรารู้สึกว่ามันผ่านไปในแบบเดียวกับที่เราสัมผัสตำแหน่งของเราในอวกาศ.. เรา “feel” วินาที, นาที, ชั่วโมง ผ่านไปเช่นเดียวกับที่เรา “feel” ร่างกายเราถูกกดต้านกับเก้าอี้ และฝ่าเท้าของเราวางลงบนพื้นผิว
ในสนามควอนตัม สนามแห่งความเป็นไปได้อันอเนกอนันต์ของความเป็นจริงทางวัตถุ เหนือกาลอวกาศ เพราะว่ามันเป็น “ศักยภาพ” ซึ่งยังไม่ปรากฏ .. ก็ในเมื่อมันยังไม่ปรากฏมันก็ไม่มีตำแหน่งแห่งที่หรือไม่ยึดครองตำแหน่ง (ชั่วคราว) เอาไว้ .. อะไรก็ตามที่ยังไม่ปรากฏก็คือมันยังไม่ล้มคลื่นความเป็นไปได้ (โดยตัวของมันเอง)ไปสู่ความเป็นจริง (เป็นอนุภาค) เรียกได้ว่ามัน exists beyond space and time
ณ จุดนี้สนามควอนตัมไม่ได้เป็นอะไร แต่เป็น “immaterial probability” ซึ่งอยู่นอกกาลอวกาศ จนกว่าเราจะเข้าไปสังเกตศักยภาพความเป็นไปได้นั้นแล้วให้ความเป็นจริง (ระดับ material) กับมัน มันจะยังดำรงสองสถานภาพอยู่

เพื่อเข้าสู่สนาม..เข้าสู่สภาวะที่คล้ายคลึงกับสนาม..
มันยอดเยี่ยมเลยใช่มั๊ย ที่เราทรงพลังอำนาจในการสร้างความเป็นจริงจากการเลือกของเราโดยเลือกจากสนามควอนตัม แต่เราจะต้องมีวิธีที่จะเข้าไป เราเชื่อมต่อกับมันอยู่ตลอดเวลาแต่ทำยังไงมันถึงจะตอบสนองเราล่ะ? .. ก็ถ้าเราแผ่รังสีพลังงานอย่างมั่นคง สม่ำเสมอ และส่งข้อมูลเข้าสู่สนามแล้วก็รับข้อมูลกลับมา เราจะทำยังไงให้การสื่อสารของเราได้ผลมากขึ้น!
ดีสเปนซาถามว่า คุณเคยมีประสบการณ์ตอนที่เวลากับพื้นที่ดูเสมือนหายวับไปรึเปล่า? ให้ลองคิดถึงตอนที่กายคุณกำลังเคลื่อนที่ไป ขณะที่ความคิดไปโฟกัสอยู่กับเรื่องที่เป็นห่วง เมื่อมันเกิดขึ้น คุณจะลืมร่างกายไปหมด (คุณจะไม่ตื่นรู้เลยว่าคุณได้สัมผัสอวกาศอยู่รึเปล่า) คุณลืมสิ่งแวดล้อมไปสิ้น โลกภายนอกหายวับไป แล้วคุณก็ลืมเวลา คุณไม่รู้เลยว่าอยู่ใน “tranced out” (ภวังค์?) นั้นนานแค่ไหน?

ชั่วขณะแบบนี้แหละ คุณได้ไปอยู่ตรงธรณีประตูซึ่งจะให้คุณผ่านเข้าสู่สนามควอนตัม อันพร้อมด้วยสิทธิ์ของการเข้าร่วมกับปัญญาแห่งจักรวาลซึ่งเนื้อแท้ของชั่วขณะแบบนี้ก็คือ คุณได้ทำให้ความคิดกลายเป็น “จริง” มากกว่าอะไรอื่นทั้งหมด

ถัดจากนั้น เฟรด อลัน วูล์ฟก็เล่าเรื่องความฝันของเขาพร้อมกับการตีความ ซึ่งก็ไม่แปลกใจอะไรที่อ่านพบว่าเค้าใช้วิถี ของคาร์ล ยุง ในการวิเคราะห์ฝัน
บทที่สอง พ่อมดให้ชื่อว่า Freudian Physics: a first look at how the universe dreams .. แต่คำโปรยใต้ชื่อบทกลับเป็นของพ่อมดยุง 
โดยฉับพลัน เกิดความรู้สึกขึ้นว่าเราจะต้องข้ามเรื่องฟรอยด์ไปก่อน ไม่ใช่คิดว่าเรื่องของฟรอยด์ไม่สำคัญ แต่.. มีลางมาบอกให้ไปที่ยุง.. แล้วก่อนที่จะเริ่มบทที่สาม Jungian Physics: synchronicity - evidence of the universe’s dream ก็นึกไปถึง ความทรงจำ ความฝัน ความคิดคำนึง หนังสือที่แปลมาจาก Memories, Dreams, Reflections โดยคาร์ล กุสตาฟ ยุง ซึ่งเราได้อ่านและเก็บความไว้ อยู่ในคลังกระทู้เก่าของวงน้ำชา จากชีวิตวัยเด็กจนเข้าถึงวาระสุดท้ายของพ่อมดคนสำคัญที่สุดแห่งจิตวิทยาตะวันตกคนนี้ 
จำความรู้สึกได้ว่าตอนอ่านนั้น เริ่มอ่านอย่างกระหาย ตะกรุมตะกราม และเต็มไปด้วยความเสียดายหยาดหยดสุดท้ายอ้อยอิ่งเมื่อหนังสือใกล้จะจบลง .. ทั้งตลอดช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ ก็เสมือนเข้าไปในโลกของยุง ได้อรรถรสอย่างที่ไม่เคยได้รู้สึกจากการอ่านชีวประวัติของใครมาก่อนเลย.. อินขนาดไหนหรือ? .. ก็ขนาด.. อยากจะเป็นยุง ชีวิตวัยเด็กมี overlap ในหลายๆ ส่วน .. ชีวิตบั้นปลาย ก้อนหิน สายธาร วิญญาณ .. ปลุกเร้าให้เข้าไปมีส่วนร่วม จนรู้สึกถึงกลิ่นไอของประสาทหิน ห้องลับที่ยุงสัมผัสอิฐทุกก้อนด้วยมือของเค้าเอง .. อยากตายแบบที่เค้าตายเลยทีเดียว 
ก็จะขอยก ปัจฉิมพินิจบทสุดท้าย.. ใน หวนคํานึง ยุงยอมรับว่าเขานั้นโดดเดี่ยว "ข้าพเจ้าได้ทําให้ผู้คนขัดเคืองใจเป็นจํานวนไม่น้อย เพราะในทันทีที่ พบว่า พวกเขามิได้เข้าใจ ข้าพเจ้าก็จะเลิกใส่ใจทันที ข้าพเจ้าจําเป็นต้องรุดหน้าต่อไป และหาได้มีความอดทนกับ ผู้คนไม่ นอกจากคนไข้ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจําเป็นจะต้องเคารพกฏเกณฑ์ภายในซึ่งดํารงอยู่และไม่เปิดโอกาสให้มี เสรีภาพที่จะเลือก แม้ว่าจะมิได้เชื่อฟังทุกครั้งก็ตาม เพราะเราจะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากความไม่คงเส้นคงวาได้ อย่างไรกัน" ... (ยุงเรียกว่า "ความไม่คงเส้นคงวาอันศักดิ์สิทธิ์") ... "สําหรับคนบางคนแล้ว ข้าพเจ้ามักจะอยู่ ร่วมด้วยและสนิทสนมใกล้ชิดกับเขานานตราบเท่าที่เขายัง สัมพันธ์กับโลกภายในของข้าพเจ้า แต่แล้วข้าพเจ้าก็ อาจมิได้ดํารงอยู่กับเขาอีกต่อไป ด้วยเหตุที่ไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างเราเหลืออยู่อีก"....
ยุงพูด คล้ายกับว่า หากความเชื่อมโยงภายในลึกๆ ระดับไร้สํานึกดํารงอยู่ ความแปลกแยกแตกต่างก็จะเป็นเพียง "บุคคลิกภาพแห่งปัจเจก" แต่หากความเชื่อมโยงภายในระดับไร้สํานึกไม่ดํารงอยู่แล้ว นั่นเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่ "อัตตา"
ในวัยเยาว์ ยุงรู้สึกว่าเขาค่อยๆ แบ่งแยกจากบรรดาพืชพรรณ ส่ำสัตว์ เมฆหมอกควัน และวันคืนเพื่อเข้าหาความ เป็นตัวเองอย่างช้าๆ ตรงกันข้ามกับวัยชราซึ่งยุงบอกว่า "ยิ่งข้าพเจ้าไม่แน่ใจในตนเองเพียงใด ความรู้สึกสนิทสนม ชิดเชื้อกับสรรพสิ่งก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเพียงนั้น อันที่จริงแล้ว ดูเหมือนว่าความแปลกแยกซึ่งกั้นขวางข้าพเจ้าออกจาก โลก ได้โยกย้ายแปรเปลี่ยนเข้ามาสู่โลกภายใน และได้เผยให้ข้าพเจ้าเห็นถึงความแปลกแยกกับตนเองอย่างคาด ไม่ถึง"......
แม่แบบแห่งปัจเจกภาพ .. มณฑลอันศักดิ์สิทธิ์

รู้สึกว่าต้องยกปัจฉิมพินิจมาไว้ ก่อนจะเริ่มเปิดปฐมบทใหม่ ผ่านมุมของพ่อมดควอนตัม
บทที่สามฟิสิกส์จุงเกี้ยน ซิงโครนิคซิตี้- หลักฐานของจักรวาลแห่งฝัน นี้ พ่อมดควอนตัมใช้คำโปรยของวูล์ฟกัง เพาลี ที่บอกว่า From an inner center the psyche seems to move outward, in the sense of an extraversion, into the physical world
พ่อมดบอกว่าฟรอยด์นั้นเพียงแค่นำเสนอศาสตร์ของโครงสร้างทางจิตอย่างเป็นกลไก แต่ยุงไปต่อแล้วก็ยังบ่งชี้ว่าโครงสร้างนั้นยังต้องรวม meaningful relationships อย่างอื่นซึ่งมากกว่า time-ordered กับ cause-effect (นี่ก็ตรงกับที่ดิสเปนซาพูดนะ คือเวลาที่เป็นเส้นตรงตามกฏเทอร์โมไดนามิกส์ กับเหตุก่อผล) ในหนทางที่ฟรอยด์ได้บอกใบ้เอาไว้ เมื่อเค้าสร้างโมเดล id as “timeless” ขึ้นมา (ปัจเจกภาพเหนือกาลเวลา) แล้วยุงก็เรียกมันว่าเป็นประเภทของ relationships synchronistic .. ความสัมพันธ์แบบจุงเกี้ยนซึ่งถือเป็นความพยายามให้วิทยาศาสตร์เข้าไปให้กำเนิดฟิสิกส์ที่มีความหมาย และความเข้าใจใน the self และ the psyche .. ในแนวคิดที่พิเศษนี้ยุงให้ความสำคัญอันยิ่งใหญ่กับความฝันมากกว่าฟรอยด์เยอะทีเดียว 
ในบทนี้อลันว่าเค้าขอไม่พูดถึงยุงเพียงแค่แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความฝัน แต่จะพูดถึงโมเดล “human psyche” ของยุงเลย แล้วต่อไปนี้ก็จะใช้โมเดลของยุงนี่แหละเชื่อมโยงระหว่างจิตกับกาย ทั้งเค้าก็จะพยายามสร้างโมเดลซึ่งจะแสดงว่าความฝันในสัมผัสของความจริงนั้นเป็นส่วนประกอบของสสารโดยตัวของมันเอง แสดงว่าจักรวาลฝันถึงตัวของมันเอง ซึ่งเรื่องมันยาวจริงๆ ที่จะพูดว่า.. “ความฝันเป็นส่วนประกอบของสสาร”
ความลี้ลับคณานับที่พวกเราพบเจอคือ “how matter becomes conscious” สสารกลายมีจิตรู้ขึ้นมาได้ยังไง? เอาอย่างง่ายเลยนะ ถ้าคุณเห็นด้วยว่าตัวเราก็ประกอบจากสสาร แล้วไอ่สสาร (เราเนี่ย) มันสร้างภาพ สร้างความคิดขึ้นมาได้ยังไง? หรือจะพูดแบบดิบๆ เลยก็คือ ก้อนเนื้อ (ร่างกายเราเนี่ย) มันฝันได้ยังไง? มันมีลักษณะของชีวิตชีวาอยู่ในสสารนั้นใช่มั๊ย ถ้าบางอย่างถูกเผยออกมา บางอย่างที่จะแสดงว่าสสารนั้น already conscious มันมีจิตวิญญาณอยู่แล้วเพียงแต่รอคอย right environment สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการเผยออกซึ่งจิตวิญญาณของมันกับเรา เป็นเรา แล้ว “characteristic” ที่ว่านั้นมันคืออะไรล่ะ?

จักรวาลความฝันต่อ ..เพื่อที่จะให้ได้พบคำตอบ (เรื่องความสัมพันธ์ของจิตกับสสาร) เราจะต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า จิต (psyche) คืออะไร และมันทำงานอย่างไร? .. พ่อมดวูล์ฟ บอกว่าเค้าจะแสดงให้เห็นในบทนี้ว่าแนวคิดจุงเกี้ยนในเรื่องจิตนั้นสามารถเชื่อมโยงกับกฏควอนตัมได้ -และนั่นก็เป็นสิ่งที่จุงเองก็เชื่อมั่นว่าเป็นไปได้ เพียงแต่มันมีความยากลำบากในการไปให้ถึงอยู่ ทั้งเค้ายังบอกอีกว่า เค้าอยากทำทั้งสองโมเดลไปเลย (คือทั้งของยุงและฟรอยด์ด้วย)
ซึ่งส่วนสำคัญยิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาก็คือบทบาทของสิ่งที่ยุงเรียกว่า “synchronicity” อันอาจให้คำจำกัดความได้ว่า ซิงโครนิคซิตี้ ก็คือความสืบเนื่องเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ซึ่งไม่อาจถูกเชื่อมต่อได้ด้วยกลไกปกติใดๆ งงมั๊ยคะ?.. ขอยกตัวอย่างช่วยสำหรับคนที่พึ่งมาเริ่มต้นอ่านหน่อยดีกว่า.. อย่างเช่น ถ้าเมื่อคืนคุณเกิดฝันเห็นตาหลานคู่นึงที่คุณไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนคู่นึง ในฝันตากำลังหอมแก้มหลานที่นั่งตักเค้าอยู่ แล้วจู่ๆ เช้าตื่นขึ้นมา คุณเดินออกจากบ้านไป ก็ไปเห็นภาพนั้น แป๊ะ!! .. หรือ (เหตุที่ชัดเจนว่ายุงเป็นพ่อมด ^_^) คือเมื่อยุงได้ดูแลคนไข้ของเขา ซึ่งป่วยทางจิตไปถึงระดับนึง แล้วไม่สามารถไปต่อได้ คือไม่มีความคืบหน้า .. แต่แล้ววันนึง ขณะที่คนไข้กำลังเล่าฝันให้ยุงฟัง ฝันของคนไข้คือฝันเห็นแมลงสีทองตัวนึง แล้วแมลงตัวที่เหมือนในฝันก็บินผ่านหน้าต่าง มาตกตรงหน้ายุงพอดี เขาหยิบขึ้นมาส่งให้คนไข้ดู แล้วถามว่า “ตัวนี้ใช่มั๊ย?” .. เคสนี้ยุงได้บันทึกไว้ว่า หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ผ่านพ้น ไปสู่ความก้าวหน้าของการรักษาเยียวยากันต่อไปได้.. นี่เป็นตัวอย่างซิงโครนิคซิตี้ ซึ่งมีฝัน (ตอนกลางคืนมาเชื่อมต่อ) ส่วนซิงโครนิคซิตี้ ของชีวิต (ที่อาจรวมฝันกลางคืนเข้ากับชีวิตตื่นตอนกลางวันอย่างสืบเนื่อง ก็คือการเกิดเหตุการณ์ที่เสมือนเป็นอุบัติเหตุในชีวิต ซึ่งคุณไม่เข้าใจว่ามันเกิดขึ้นมาได้ยังไง แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณก็กลับเห็นความสืบเนื่องเชื่อมโยงของมันอย่างชัดเจน) 
พ่อมดควอนตัมบอกว่า synchronicity นี้จัดเป็น concept ระดับ “โซ่ทอง” ที่จะมาสอดคล้อง ร้อยเรียง เชื่อมต่อ ทำให้ควอนตัมฟิสิกส์กับจิตและสสารเลยทีเดียว โซ่ทองที่ว่านี้จะผูกโยงหลักการจากระดับพื้นฐานของฝัน (ที่เราหลับตอนกลางคืน) กับฝัน (ในตอนกลางวันที่เรารู้สึกว่าเราตื่นอยู่นี่แหละ) มันเป็นอาณาจักรแห่งจินตนาการซึ่งเค้าจะอธิบายต่อไป ซิงโครนิคซิตี้ ถือเป็นเบาะแสที่จะนำไปสู่ “Big Dream” และเราเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในนั้นด้วย
แล้วเมื่อเราเปรียบเทียบคาร์ล ยุงกับฟรอยด์ เราจะเห็นว่ายุงได้นำเสนอมุมมองทางเลือกให้กับความฝันและจิตวิทยา ในปี 1970 ยุงไปเยี่ยมฟรอยด์ในเวียนนา และทั้งสองก็ตัดความสัมพันธ์กันอย่างชนิดที่ไม่มีทางเชื่อมต่อได้เลยในสองสามปีหลังจากนั้น ยุงรู้สึกว่าฟรอยด์หลงใหลไปว่าพลังจิตเป็นเรื่องเพศในธรรมชาติที่ยังไม่เผยตัวไปโดยสิ้นเชิง แล้วเค้าก็ยังคิดว่า Freud’s interpretation of dreams (การตีความ ความฝันแบบของฟรอยด์) นั้นมีข้อจำกัด ที่คับแคบเกินไป
ทฤษฎีความฝันของยุง (Jung's Theories of Dreams) ที่มองผ่านจักรวาลความฝันของพ่อมดควอนตัม เฟรด อลัน วูล์ฟ ...
ยุงเชื่อว่าฟรอยด์นั้นเน้นความสำคัญไปที่ปัจจัยเชิงอีโรติกของฝันมากเกินไป แล้วเค้าก็ยังเชื่อว่าความปรารถนาในอันที่จะเติมเต็มนั้นมันไกลเกินกว่าเหตุผลอันน้อยนิดที่จะมาขีดเส้นใต้ว่าเป็นเหตุแห่งความฝันทั้งหมด ยุงเชื่อว่าฝันไม่ได้เป็นแค่การอำพรางของความปรารถนาที่ไม่ได้รับการยอมรับ แต่เป็นสิ่งจำเป็นของ creative sense โดยแท้จริงแล้วฝันนั้นผลิตข้อมูลใหม่ให้กับ conscious mind (จิตสำนึกรู้) ยุงยังรู้สึกด้วยว่าสัญลักษณ์แห่งฝันนั้นไม่เพียงถูกสร้างขึ้นเพื่อเก็บงำข้อมูล แต่มันเป็นภาษาของจักรวาลที่ยุงเรียกว่า “archetypes” พวกมันอยู่ใน model terms การแก้สมการที่อธิบายความเป็นจริงใหม่จะใส่เอาไว้ใน symbolic term (เป็นสัญญลักษณ์) เช่นเดียวกับการแก้สมการทางคณิตศาสตร์ ที่จะถูกเขียนไว้ในรูปฟอร์มของสัญญลักษณ์แทนไอเดียของพวกเราเกี่ยวกับความเป็นจริงทางกายภาพ
กระชับให้สั้นๆ ก็คือขณะที่ฟรอยด์เชื่อว่าการหลับเป็นเหตุและความฝันเป็นผลอันจำเป็นที่ยอมให้การหลับสืบต่อไป ยุงเชื่อว่าความฝันเป็นปฐมและการหลับเป็นการแปรเปลี่ยนที่มีนัยยะสำคัญของจิตวิญญาณที่ทำให้ความฝันอุบัติขึ้น
คาร์ล กุสตาฟ ยุง เกิดในสวิตเซอร์แลนด์ ปี 1875 ตั้งแต่วัยเยาว์จนกระทั่งยุงตายในปี 1961 เขาเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับเรื่องจิตวิญญาณหรือด้านที่เป็นความลี้ลับของจิตมนุษย์ ทำงานวิจัยเรื่อง symbolism (สัญญลักษณ์ ในฝัน, ในพิธีกรรม), parapsychology (ปรจิตวิทยา ซึ่งคงจะแปลอีกทีว่าจิตวิทยาเกี่ยวกับญาณ), modern physics, และศาสนา โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ Christianity (ซึ่งมีบทบาทอย่างมีนัยยะสำคัญในทฤษฎีทางจิตวิทยาของเขา) เค้าจะให้ความหมายของจำนวนพอๆ กับคุณค่าของมัน เรียกได้ว่ายุงนั้นคล้ายจะเป็นจอมขมังเวทย์แบบโบราณและเป็นพวกถือหลักพิธากอรัสไปในตัวด้วย (ancient Cabalists and Pythagoreans)
ยุงเห็นว่ามีการส่งอิทธิพลถึงกันระหว่างจิตไร้สำนึกกับจิตสำนึก อย่างสืบเนื่องอยู่ตลอดเวลา เป็นสองลักษณะแห่งจิต ในทางตรงกันข้าม ฟรอยด์กลับรู้สึกว่าอยู่ “ภายใต้สภาวะสงคราม” ของ conscious mind ซึ่งพยายามที่จะส่งความไม่พึงปรารถนาของมันเข้ามาสู่ความหม่นมัวแห่งปัจเจกภาพ
ฟรอยด์มองว่า จิตไร้สำนึกก็เป็นส่วนที่อยู่ภายใต้สงครามของจิตสำนึกซึ่งส่งทุกข์เวทนามาให้เกิดความหม่นหมองในปัจเจกภาพเสมอ.. โห.. อ่านประโยคสุดท้ายนี้แล้วขนลุก.. ยอมรับว่าไม่ศรัทธาฟรอยด์ (ทั้งที่ก็ไม่ได้รู้จักเค้าสักเท่าไหร่เนี่ยนะ ) แต่ต้องยอมรับเลยว่าความคิดเค้ามันส่งอิทธิพลต่อโลก และต่อตัวเราเองด้วยจริงๆ...
แต่ทั้งสองก็เห็นตรงกันว่า จิตไร้สำนึก (unconscious mind) พูดกับเราโดยผ่านความฝัน ยุงเชื่อว่าฝันเป็นธรรมชาติและเป็นส่วนสำคัญของความเป็นองค์รวมทั้งหมดของเรา ความฝันใช้จินตภาพบอกเราเกี่ยวกับความเป็นตัวของเราเอง แต่ฝันจะบอกอะไรในสิ่งที่เรายังไม่รู้บ้างล่ะ? มันจะบอกถึงสิ่งเหล่านั้นในชีวิตที่เราเคยละเลย หรือเก็บงำไว้ หรือสิ่งธรรมดาเรียบง่ายซึ่งยังไม่ได้ถูกเอามาใช้ ความฝันไม่มีอันตรายและไม่ได้บ้าบอ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปอธิษฐานให้บรรลุผลอะไร ทั้งฝันยังไม่ได้พูดด้วยภาษาอันซ่อนเร้น แต่มันเป็นข้อความจากตัวเราเองที่่ส่งถึงตัวเอง ขณะที่ฟรอยด์เชื่อว่า โดยพื้นฐานที่สุดความฝันนั้น “ปกปิด” บางอย่างเอาไว้ แต่ยุงเชื่อว่าเป็นการ “เผยออก”
ยุงรู้สึกว่าฝันเกี่ยวพันกับ Origins เป็นจุดที่ new ideas ถูกสร้างสรรขึ้นมา ทั้งไม่ได้เป็นเหตุผลอะไรที่จะมาอธิบายพฤติกรรมของเราในอดีต แต่มักจะมาบอกเราถึงบางอย่างอันเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของเราในอนาคตมากกว่า
แล้วยุงอธิบายถึงการปรากฏอันแปลกประหลาดและความไม่ปกติของจินตภาพในฝันไว้อย่างไร? มันเป็นจุดที่ยุงดูเหมือนจะไปไกลพ้นขอบของวิทยาศาสตร์ ยุงวางสมมุติฐานการปรากฏของจิตไร้สำนึกแห่งจักรวาลไว้อย่างพ้นไปจากจินตภาพอันแน่ชัดซึ่งปรากฏอย่างเป็นปกติกับคนทั้งหลาย ถึงตอนนี้มันก็ไม่ใช่จินตภาพหรอกที่สำคัญ แต่มันเป็นความโน้มเอียงของจินตภาพ -แก่นแท้ซึ่งมาขีดเส้นใต้จินตภาพ -ที่มันอยู่ความสามัญของคนทั้งหลาย ยุงเรียกแก่นนี้ว่า archetype (ต้นแบบ)
ผลที่สุดก็คือ ถ้าเราละเลยบางส่วนซึ่งสำคัญของตัวเราเอง ฝันของเราก็จะสร้างภาพอันสะท้อนออกของ archetype นี้ จินตภาพที่ปรากฏจะแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ความหมายของ archetype จะเหมือนกัน .. พ่อมดควอนตัมบอกว่าเค้าจะพยายามผูกโยง archetype เข้ากับฟังก์ชั่นคลื่น (wave function) ของควอนตัมฟิสิกส์ ซึ่งสะท้อนความโน้มเอียงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกาลอวกาศและบ่งชี้ว่าแม่แบบนั้นเป็น signs ของการอ้างอิงตัวตนในระดับสูง (archetypes are signs of a higher level of self-reference) .. ตรงนี้อ่านยุงไป กว่าจะเข้าใจคำว่า archetype นี่ก็ไม่ง่าย แต่ตอนนี้เกิดนึกสนุก คิดไปว่า ต้นแบบนี่น่าจะเป็นประมาณเทพ ในแต่ละสังคมมีเทพที่ต่างกัน ซึ่งในความหมายแล้วก็ไม่ต่างกัน เป็นอะไรที่เหนือมนุษย์ อยู่สูงกว่า เราจินตนาการว่าสมบูรณ์กว่า เหมือนกันแต่ก็มีความเข้มข้นของ self สูง ในเชิงลักษณะเฉพาะ .. มั๊ง?!? .. โอ้..คุรุเทพ!!!
.. แล้วนี่ก็จะนำเราไปสู่การค้นหาความหมายของจินตภาพ มากกว่าจะมัวแต่พิจารณาว่าเป็นบางอย่างที่เราเก็บงำซ่อนเร้นไว้จากตัวของเราเอง .. แล้วทำไมเราถึงฝันเป็นภาพล่ะ? มันดูเหมือนว่าเราฝันเป็นภาพ ไม่ได้เป็นภาษาหรือคำพูดก็เพราะว่าภาพมันเป็นเบสิกหรือบางทีมันคงเป็นหนทางดั้งเดิมของการที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโลกข้างนอก พ่อมดยังตั้งข้อสังเกตว่าจินตภาพมีความเข้มข้นในการเชื่อมโยงกับความรู้สึกของเรา แล้วความรู้สึกก็มาสร้างสรรอารมณ์ และอารมณ์ก็เป็นชีวิตชีวา (แรง? พลัง?) ของความทรงจำทั้งหลาย หรือพูดได้ว่า เราจะไม่จดจำอะไรที่เราไม่มีความรู้สึกเกี่ยวข้องด้วย we do not remember anything that we have no feelings about.
ตอนนี้ก็มาพิจารณาเรื่องความรู้สึกคืออะไร? อย่างเป็นระเบียบหน่อย เค้าจะชวนเราไปดูว่ายุง จัดสรรพวกมันอย่างไร? และเพื่อที่จะทำอย่างนั้น ขั้นแรกเราจำเป็นต้องพิจารณาถึงความสำคัญของโครงสร้างทฤษฎี Jung’s model of the psyche. ซึ่งมันมีหลายอย่างแตกต่างจากของฟรอยด์
วันนี้หาญกล้าหยิบ On the Nature of the Psyche ของยุงไป นั่งอ่านแบบเปิดใจ คือปล่อยให้สมองว่าง วางใจไปรับรู้สัมผัสสายน้ำที่ไหลผ่านจากเท้าจรดเข่า ลมที่พัดมาตามลำธารก็ปล่อยให้แทรกผ่านร่างกายทั้งหมดไป .. รู้สึกดีมาก อ่านไปได้สองส่วนคือ Energism and Dynamism กับ Conscious and Unconscious .. ได้รู้ว่ายุงให้นิยมของคำว่า Psyche = Consciousness แล้วก็ได้พบการขยายความของคำที่ยุงใช้ อย่างเช่น Progression & Regression, Extraversion & Introversion กับ The Canalization of Libido ... : ซึ่งล้วนแต่เป็นคำที่เฟรด อลัน วูล์ฟ อ้างอิงถึงใน Jung’s model of the psyche.. แต่หากถามว่า..พอที่จะถ่ายทอดออกมาได้รึยัง? ก็ขอตอบตามตรงว่า ตอนนั่งอ่านริมธารน้ำได้ความรู้สึกที่ดี แต่พอกลับมา จะเขียน ก็ยังเขียนอะไรไม่ได้ .. รู้ตัวว่า ยังไม่เข้าใจมากพอที่จะทำอย่างนั้น มันเหมือนยังจับออกมาเป็นส่วนๆ ไม่ได้ ยุงพูดเหมือนสายธารน้ำตก จะอยู่ตรงชั้นไหน แอ่งไหน มันก็ไม่ได้อยู่เฉพาะตรงนั้น มันไหลมา ไหลไป ถ้าบอกแค่ว่า มันใช่แล้ว หมายความว่าอย่างนี้ (แบบเปิดพจนานุกรมเอา) มันก็ไม่ใช่อีก..
เลยตัดสินใจกลับไปต่อ Jungian Individuation : Self from Nonself ของพ่อมดควอนตัมก่อน 
Individuation แปลว่า the quality of being individual คุณภาพของความเป็นปัจเจก .. ปัจเจกภาพ?
ข้อแรก เป็นแนวคิดสำคัญมากในโมเดลของยุงก็คือกระบวนการคุณภาพแห่งปัจเจก (process of individuation) ซึ่งเป็นการพัฒนาส่วนบุคคล (personal development) ในการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์กลางของสำนึกรู้ อันมีลักษณะสองประการของจิตคือทั้งสำนึกและไร้สำนึก - ปรากฏ อีโก้ เป็นศูนย์กลางในส่วนของจิตสำนึก ยุงจะบอกว่าอีโก้เชื่อมโยงกับ self (ตัวตน)
ข้อสอง แนวคิดหลักรวมไว้กับ attitudes ซึ่งเป็นคุณลักษณะของพฤติกรรม ยุงเรียกพวกมันว่า introversion and extroversion (บุคคลิกภาพเก็บตัว กับบุคคลิกภาพเปิดเผย) พวกเก็บตัวก็เข้าข้างใน โฟกัสแต่กับเรื่องตัวเอง ส่วนพวกเปิดเผยก็จะออกข้างนอกโฟกัสแต่เรื่องข้างนอก แต่เค้าก็บอกว่ามันไม่มีใครเป็น pure attitudinal behavior (คือเป็นพวกเข้าข้างใน หรือออกข้างนอก ล้วนๆ) -บางทีคุณอาจรู้สึกว่าตัวเองโง่ แต่บางทีคุณก็ไม่ได้รู้สึกอย่างนั้น เราแต่ละคน มีความโน้มเอียงทีจะไปข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง
ทั้งกระบวนการเก็บตัวและเผยออกเป็นวงจรที่สมบูรณ์ ในช่วงที่เข้าข้างใน บุคคลก็จะอยู่กับความคิดของตัวเอง ขณะเดียวกันตอนที่ออกข้างนอกก็จะอยู่กับความคิดและประสบการณ์ของคนอื่น 
ด้านเก็บตัว จะเชื่อในความคิดของตัวเอง ส่วนด้านเผยออกจะขึ้นอยู่กับความคิดจากภายนอก ยุงจัดสรรกระบวนการเหล่านี้ในเทอมของ libido (ความต้องการที่ถูกกระตุ้นมาจากจิตไร้สำนึก โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องตัณหา ราคะ ความใคร่) ซึ่งยุงกำหนดให้เป็นกระบวนการของพลังงาน (energic process) หรือเป็นการไหลเลื่อนของพลังงาน -the flow of energy
ข้อสาม ยุงจัดเป็น functions, ฟังก์ชั่นของยุงคือความคิด (thinking), ความรู้สึก (feeling), สัมผัส (sensing) และญาณทัศนะ (intuiting) แต่ละอย่างก็มีความพิเศษเชื่อมโยงกับความหมายปกติที่เราใช้กันอยู่ แต่ก็มีความเฉพาะที่แตกต่างออกไปด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกใครบางคนว่าเขาไม่มีความสามารถในการคิด หรือความคิดมันอยู่ในฟังก์ชั่นที่อ่อนด้อยสำหรับเขา พ่อมดบอกเห็นภาพเลยว่าคงโดนหมัดซัดตรงเข้าจมูก หากคนๆ นั้นมีฟังก์ชั่นสัมผัส sensing function ที่เข้มแข็ง 
ฟังก์ชั่นเหล่านี้อาจถูกมองเป็น มิติทางจิต (psychic dimensions) หรือเป็นสิ่งที่ควบคุมจิต (psychic operators) แต่ที่น่าทึ่งก็คือพวกมันคล้ายกับการที่กลไกควอนตัมแสดงออกให้ผู้ควบคุมสังเกตเห็น ความคิดกับความรู้สึกเสริมเติมกัน (thinking and feeling are complementary) ในทำนองเดียวกับที่ตำแหน่งกับแรงในการเคลื่อนที่เสริมเติมกันในการสังเกตทางโลกกายภาพ 
ในความใกล้เคียงกัน คนที่ใช้ฟังก์ชั่นความคิด thinking function (เกือบจะตลอดเวลา) กับเหตุการณ์ในชีวิตของเธอ เธอจะพบว่าชีวิตเกี่ยวข้องกับ “ความจริง” ตัดสินอะไรต่ออะไรอย่างไม่ใช้ความเป็นส่วนตัว (impersonal) ถือตรรกะเป็นเกณฑ์ในการเข้าสู่สถานการณ์, มีเหตุผลเป็นนามธรรม, และมั่นคงในข้อตกลง ซึ่งแน่นอนว่าเธอจะต้องเป็นนักวางแผนที่ดี
ขณะที่ในอีกด้านนึง ถ้าเธอใช้ feeling function (เกือบจะตลอดเวลา) เธอจะจัดสรรเหตุการณ์โดยตัดสินเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นส่วนตัว ความจริงเพียงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เธอจะรู้จักว่า “อันนี้ใช่” แต่ไม่ได้คิดว่ามันจะต้องถูก อารมณ์ในการพิจารณาจะมีน้ำหนักมากว่าตรรกะเหตุผลเสมอ ดี, เลว, หรืออะไรอื่น เธอจะใช้ประสบการณ์ทางอารมณ์อันเข้มข้น ใช้ประสบการณ์ทางสติปัญญาเพียงเบาบาง
โดยสรุปก็คือ นักคิดจะใช้คำพูด และนักรู้สึก จะใช้อารมณ์เป็นจุดในการข้ามผ่าน
ถ้าอ้างถึงยุง, บุคคลไม่สามารถพัฒนาทั้งสองด้านอย่างเท่าเทียมกันได้ (ทั้งด้านคิดกับรู้สึก) ด้านนึงจะเด่นกว่าอีกด้าน หรือด้อยกว่าอีกด้านเสมอ.. พ่อมดเล่าว่าเค้ารู้สึกช็อกไปเลยเมื่อ Dr.Marie-Louise von Franz (นักเขียนและนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง: a protege of Jung’s) บอกกับเขาว่าฟังก์ชั่นความรู้สึกของเธอนั้นอยู่ในระดับอ่อนด้อย
ด้วยเหตุนี้ ความคิดกับความรู้สึกจะถูกผู้ควบคุมเอามาใช้ในการประเมินตัวเลือก และการตัดสินใจ บุคคลไม่สามารถจะประเมินเหตุการณ์ในขณะที่มีอารมณ์รุนแรงหรือใช้เหตุผลอย่างสุดๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ..หลังเหตุการณ์ปัญหาผ่านไปแล้วอาจจะมีความเป็นไปได้ แต่ในขณะที่กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ เธอจะพบว่าสามารถใช้ตัวควบคุมเพียงตัวเดียวในการเคลียร์
อย่างไรก็ตาม ความคิดกับความรู้สึก เป็นฟังก์ชั่นประเมินค่า นั่นคือบุคคลได้ให้ค่ากับความคิดหรือความรู้สึก สัมผัสกับญาณทัศนะไม่ได้ถูกเอามาใช้ Sensation ใช้เกี่ยวโยงเพื่อโฟกัสบนประสบการณ์ตรง, รูปธรรมความจริง, ใช้หลักฐานการทดลองมากกว่าทฤษฎี, และนั่นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้, รู้สึกได้, ชิมได้, สัมผัสได้ หรือฟังเสียงได้ นักสัมผัส (sensationists) จะต้องการสัมผัสกับประสบการณ์มากกว่าการวิเคราะห์ พวกเขาจัดการมันด้วย ผัสสะของเขา
พ่อมดบอกว่าพวก sensation นี้จะจัดการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดได้ดีมาก พลังงานเชื่อมโยงกับความคล่องตัวสูง ทั้งยังใช้เยียวยาร่างกายที่บาดเจ็บ คนประเภทนี้จะจัดการกับเครื่องไม้เครื่องมือได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 
ส่วนเสริมเติมกันของ sensation คือ intuitives คนเหล่านี้จะจัดสรรเวลาอย่างไม่เป็นเส้นตรง พวกเขาจัดกระบวนการข้อมูลบนฐานประสบการณ์จากอดีต, ปัจจุบัน และความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอนาคตจะมีความสำคัญกับคนประเภทใช้ญาณทัศนะนี้มากกว่าอดีตกับปัจจุบัน พวกเค้าสามารถร่วมรักและถักทอเรื่องราว ป่าวประกาศเกี่ยวกับชีวิตต่างดาว, หยั่งรู้จักรวาล และเปรียบเปรยการหลั่ง (อสุจิ) กับการสร้างสรรค์ของจักรวาล เช่นการแผ่รังสีของสสารอย่างเป็นไปเองย้อนเวลานอกหลุมดำ
บ่อยครั้งที่เค้าพัฒนาญาณทัศนะอย่างรุนแรงด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์และความหมายให้กับประสบการณ์อย่างรวดเร็วจนคนรอบๆ ตัวรู้สึกเหมือนถูกกระชากลมหายใจไป เป็นคนที่ปล่อยความเข้มข้นออกมาสูง พวกเขามีความสามารถในการมองจักรวาลอย่างเป็นองค์รวมและใช้ในการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ที่ยึดถือกันโดยทั่วไปได้อย่างกระทันหัน คนพวกนี้มีไอเดียที่ดีมากแต่ก็มักจะเป็นทุกข์จากความรู้สึกในการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ 
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีประสบการณ์กับโลกของญาณทัศนะกับโลก sensation ไปในเวลาเดียวกัน เพราะฟังก์ชั่นเหล่านี้เป็นส่วนเสริมเติมกันเช่นเดียวกับความคิดกับความรู้สึก อย่างไรก็ตามมันมีความเป็นไปได้ที่จะมีทั้งคู่ ญาณทัศนะกับความคิดและความรู้สึกที่เป็นสุดยอด หรือพูดอีกอย่างก็คือบุคคลสามารถพัฒนาฟังก์ชั่นเป็นนักคิดที่มีญาณทัศนะหรือนักรู้สึกที่มีญาณทัศนะได้อย่างเท่าเทียม

หรือบางทีบุคคลอาจจะมีความรู้สึกกับ sensation เป็นสุดยอดของฟังก์ชั่น เธออาจจะมีช่วงเวลาที่ยากลำบากกับคณิตศาสตร์แต่เป็นนักเต้นรำที่ดี เป็นประเภท intuitive-feeling superiority ซึ่งอาจจะเป็นนักการตลาดที่ดีแต่ขาดความชำนาญในการวางแผน หากเข้ากับคนได้หลากหลายประเภท หรืออาจจะเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาบุคคลิกภาพหรือเป็นเชียร์ลีดเดอร์

แล้วพ่อมดก็อธิบายภาพประกอบที่ยุงนำเสนอ functional typology graphically 
ช่างเป็นแบบแผนที่สมจริงสมจัง เรียบง่าย แล้วก็น่าทึงมากเลยทีเดียว..
สี่ภาพ สี่ประเภท ลักษณะเด่นด้อยตามแผนภาพฟังก์ชั่นที่ยุงนำเสนอ

ฟอร์มของแต่ละภาพก็คือแบ่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสครึ่งนึงด้วยเส้นขอบฟ้าจิต (horizon of consciousness) ส่วนบนเป็นสำนึกรู้ (conscious) ส่วนล่างเป็นไร้สำนึก (unconscious) และมีเส้นทะแยงสองเส้นที่ตัดกันตรงจุดกึ่งกลางกับเส้นขอบฟ้าจิต

ภาพแรก เส้นทะแยงจากซ้ายไปขวา ปลายบนในส่วนสำนึกรู้เป็น intuition ปลายล่างส่วนไร้สำนึกเป็น sensation ตัดกับเส้นทะแยงจากขวาไปซ้าย ปลายบนในส่วนสำนึกรู้เป็น feeling และปลายล่างส่วนไร้สำนึกเป็น thinking 
ภาพแรกนี้เส้นทะแยง (intuition-sensation) จะยาวกว่าเส้นทะแยง (feeling-thinking) มากทีเดียว
เป็นการแสดงถึงบุคคลประเภทที่มีพัฒนาการด้าน intuition สูง และมีพัฒนาการด้าน feeling ด้วย (แต่น้อยกว่าญาณทัศนะ) คนประเภทนี้จะมี thinking ซึ่งดูเหมือนจะด้อย (อยู่ในไร้สำนึก) ส่วน sensation ก็อยู่ลึกในระดับไร้สำนึก คนเหล่านี้จะเดินไปมาเหมือนหัวสมองถูกปกคลุมไปด้วยเมฆ เห็นโลกภายนอกเพียงน้อยนิด แล้วก็จะคอยเป็นห่วงว่าพฤติกรรมของตัวเองไปส่งผลกระทบกับคนอื่นยังไงบ้าง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในอดีตเค้าก็ทำได้ค่อนข้างดี และเค้าจะสามารถสร้างสรรหรือเปลี่ยนแปลงอนาคต กับสร้างความสัมพันธ์อันมั่นคงแน่นอนกับใครสักคนได้ยังไง

ภาพที่สอง เส้นทะแยงทั้งสอง (เส้น thinking-feeling กับเส้น intuition-sensation) ความยาวเท่ากัน ตัดกันตรงจุดกึ่งกลางเส้นขอบฟ้าแห่งจิตพอดี มีปลายด้าน thinking และ intuition อยู่ในส่วนสำนึกรู้ กับ sensation และ feeling อยู่ในส่วนไร้สำนึก
ในภาพที่สองนี้ เค้าบอกว่าคนประเภทนี้จะเป็นปัจเจกที่มีสมดุลมากขึ้น (เป็นพวกนักคิดที่มีญาณทัศนะ หากมีสัมผัสและความรู้สึกอยู่ในระดับไร้สำนึก) เหมาะแก่การจะเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ดี แต่ก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการคุมกำเนิดในเพศชายจะต้องถูกต่อต้านด้วย ฮ่าๆๆๆ (พ่อมดควอนตัมนี่ตลกจริงๆ)

ภาพที่สาม ก็สมดุลเช่นภาพที่สอง หากส่วนบนระดับสำนึกรู้ เป็นด้าน sensation และ thinking แล้วส่วนล่าง ไร้สำนึกเป็น feeling กับ intuition เค้าว่าคนพวกนี้เหมาะจะเป็น experimental scientist (นักวิจัยทดลองทางวิทยาศาสตร์) เป็นประเภทที่อยู่กับ here & now มีความสุขในการต่อจิกซอร์เพื่อแก้ปัญหา ชอบคณิตศาสตร์ และไม่ค่อยใช้จินตนาการเท่าไหร่ ถ้าคนประเภทนี้ไปเป็นนักพูดหรือนักเขียนงานของเค้าจะเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญสูง นิยมความเป็นจริงระดับ fact แล้วจะอ้างอิงทฤษฎีอย่างแฝงความฉนงด้วย

ภาพสุดท้าย ภาพที่สี่ feeling กับ sensation อยู่ในระดับสำนึกรู้ ส่วน intuition กับ thinking อยู่ส่วนไร้สำนึก ก็จะเป็นคนประเภทตรงข้ามกับภาพที่สอง คือเป็นพวกใช้ความรู้สึก สัมผัส เป็นนักเต้น นักแสดง ศิลปิน พอมดบอกว่าประเภทนี้จะดึงดูดใจพวกนักฟิสิกส์ทฤษฎี (เช่นตัวเค้า) ได้เป็นอย่างดี ฮ่าๆๆๆ

หากการแปรเปลี่ยนรูปฟอร์มไม่เกิดขึ้น มันจะดูเหมือนว่า แรงกระตุ้นจากภายใน (libido) ถูกทำให้หายวับไป .. ในเรื่องขำขันของริชาร์ด ฟายน์แมน (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล) “Dennis the Menace” เดนิสตัวร้าย ได้รับอิฐบล็อก 28 ก้อนจากแม่ของเค้า วันแรก แม่ปล่อยเค้าเอาไว้ในห้องกับอิฐทั้งหมดแล้วจากไป พอหมดวันแม่กลับมาพบเดนิสอยู่กับอิฐ 26 ก้อน แม่ค่อยๆ มองหาอิฐ ด้วยการมองออกไปนอกหน้าต่าง ก็ไปเห็นอิฐสองก้อนคู่กันอยู่ใต้พุ่มไม้ .. วันถัดมา เธอก็ต้องช็อกเมื่อพบว่าเค้าอยู่กับอิฐ 30 ก้อน แต่แล้วปริศนาก็คลี่คลายความกระจ่าง เมื่อรู้ว่าบรูซ เด็กข้างบ้านมาเยี่ยมและทิ้งอิฐสองก้อนของเค้าเอาไว้ เธอเอาไปคืนแล้วบอกแม่ของบรูซว่าอย่าให้เค้าเข้ามาอีก และเธอก็ปิดหน้าต่าง จากไป.. กลับเข้ามาใหม่ คราวนี้พบเดนิสอยู่กับอิฐ 25 ก้อน แต่อย่างไรก็ตาม มันมีกล่องของเล่นวางอยู่ในห้องด้วย เธอจะเดินไปเปิดกล่อง แต่เดนนิสก็ร้องเสียงหลง “อย่าเปิดนะ ห้ามเปิดเด็ดขาด” ด้วยความฉลาดเธอรู้ว่าอิฐหนักก้อนละ 3 ออนส์ กล่องเปล่าหนัก 16 ออนส์ เธอช่างน้ำหนัก (โดยไม่เปิด) พบว่ามันหนัก 25 ออนส์ เธอจึงได้สูตร conservation-of-blocks formula (มีภาพสมการให้ดู แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องบรรยาย สูตรไม่ได้ยากอะไร)
วันรุ่งขึ้น เซอร์ไพสใหม่ๆ รอเธออยู่ เธอเห็นว่าน้ำสกปรกในอ่างอาบน้ำเปลี่ยนระดับ เด็กเอาอิฐไปใส่ในน้ำ แต่เพราะน้ำนั้นขุ่นเธอเลยไม่เห็นก้อนอิฐ แต่เธอก็หาได้ว่าเค้าใส่อิฐลงไปกี่ก้อนจากการเพิ่มเทอมใหม่ๆ ลงไปในสูตรของเธอ (เดิมน้ำสูงอยู่ที่ระดับหกนิ้ว การใส่อิฐลงไปก้อนนึงจะทำให้น้ำสูงเพิ่มขึ้นหนึ่งนิ้ว .. ตามสูตรของเธอ..
ทุกครั้งที่เดนิสเล่นซ่อนอิฐใส่ความซับซ้อนลงไป โลกของเธอก็ยุ่งยากมากขึ้น หลังจากเวลาผ่านไปสักพัก เธอก็ได้ซีรี่ย์ของสูตร conservation-of-blocks formula กับเด็กมหัศจรรย์เดนิสและงานของเค้า บางทีเค้าก็อาจจะค้นพบวิธี “ทำลาย” หรือบดอิฐ แต่แม่ก็ยังมองหาฝุ่นตามซอกมุม หรือเขม่าบนเพดานได้อยู่ดี

แล้วในแต่ละครั้งที่เธอมองไม่เห็นอิฐ เธอก็จะรู้ว่ามันถูกเอาไปซ่อนหรือถูกแปรเปลี่ยน อิฐบล็อกเหล่านี้อุปมาได้กับความคิดเรื่องพลังงาน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อเมื่อมันถูกสงวนเอาไว้ ถ้าเราสามารถอธิบายถึงมันเมื่อมันไม่อยู่ในสภาพที่ชัดเจน ในทางกายภาพ, อย่างไรก็ตาม มันไม่มีอิฐบล็อกที่จะให้เริ่มตั้งต้น ที่เรามีอยู่ทั้งหมดก็คือสูตรที่แสดงให้เห็นว่าพลังงานก่อฟอร์ม แต่ไม่ได้บอกเลยว่า มันคืออะไร!!

ถึงตอนนี้พ่อมดจะบอกว่าทำไมเค้าถึงพูดเรื่อง energy diversion (การผันแปรของพลังงาน) .. พลังงานเป็นพื้นฐานหรือเป็นแนวคิดปฐม แรกเริ่ม.. ซึ่งเค้าจะเรียกมันว่า archetype (ต้นแบบ..เอาแล้วไงล่ะ.. ฮ่าๆๆ) เหมือนต้นแบบที่ปรากฏในฝัน รูปของพลังงานที่เราเห็นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าสังคมของเราใช้มันอย่างไร? แล้วเค้าก็อยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่าแนวคิดเรื่องพลังงานเกิดขึ้นมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ collective unconscious ..ว้าวว.. มันคือปัญญาของจักรวาลที่ก่อรูปฟอร์มขึ้นมา การค้นหาพลังงานจะหาจากระบบภายนอก “out there” โลกกายภาพ อันอุปมาได้กับการสืบค้นหาความหมายในฝันของยุง “in here” ในโลกแห่งความฝันของเรา
มันคือเหตุผลว่าสมมุติฐานของยุงซึ่งว่าด้วยพลังงานเป็นจักรวาลจัดสรรสู่ฟังก์ชั่นจิตอาจจะถูกต้องเช่นเดียวกับจักรวาลทางกายภาพ แล้วยุงก็ยังอธิบายว่าพลังมี 2 คุณลักษณะคือ intensity and extensity (หดเข้า-ขยายออก/เข้มข้นหนาแน่-แผ่กระจาย) การแผ่ขยายออกของพลังงานจะไม่เปลี่ยนรูปจากโครงสร้างหนึ่งไปเป็นอย่างอื่นถ้าหากมันไม่เปลี่ยนโครงสร้าง เป็นการหดเข้า โดยการขยายออก ยุงอ้างอิงถึงคุณภาพของพลังงาน หรือพูดอีกอย่างก็คือเค้าชี้ไปตรงที่ว่ามันมี “บางอย่าง” ซึ่งเดินทางผ่านจากแห่งหนึ่งไปที่อื่น เมื่อพลังงานมีการแปรเปลี่ยนเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น บอลถูกตีตรงขึ้นไปจะมีการแปรเปลี่ยนของพลังงานไปพร้อมกันด้วย มันมีพลังงานจลน์กับพลังงานศักย์ (gravitational potential energy) ปริมาณของพลังงานจลน์จะเคลื่อนไปสู่พลังงานศักย์เมื่อบอลพุ่งขึ้นไป พุ่งขึ้นไปจะไม่มีพลังงานจลน์เลยแต่จะเต็มไปด้วย potential energy การประเมินปริมาณของพลังงานคือความเข้มข้น แต่ลักษณะของการเคลื่อนไหวและศักยะเป็นการขยายออก (extensive) บอลจะไม่สามารถย้ายลักษณะจากการเคลื่อนไหวไปสู่ลักษณะของศักยะได้โดยไม่เปลี่ยนฟอร์มของมันโดยการแตกออกเป็นชิ้นๆ 

คล้ายคลึงกับในปัจจัยการขยายออกของจิต ซึ่งไม่มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอน ความคิดของยุงในเรื่องการขยายออกและหดเข้านี้นำทางไปสู่ David Bohm’s concept of implicate and explicate order.. ว้าวว.. แล้วพวกมันก็ยังนำทางไปสู่การแบ่งโลกออกเป็น object กับ action of objects : subjects กับ verbs พวกมันประกอบการเสริมเติมกัน เป็น 2 (dual way) ในการจัดสรรประสบการณ์ เป็นนัยยะ อันนำไปสู่การแบ่งระหว่าง จิตกับสสาร, กายภาพกับจิต, คำกับภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น