เก็บความบางส่วนของ จักรวาลกำลังฝัน พ่อมดควอนตัม The Dreaming Universe / Fred Alan Wolf Ph.D. (ตอนที่ 2)

ต่อไปก็เป็นเรื่องซิงโครนิคซิตี้ของยุงและยุงได้รับอิทธิพลจากยุคเริ่มฟิสิกส์ใหม่อย่างไรบ้าง...
จักรวาลกำลังฝัน กำลังสนุก .. เหมือนได้กลับไปสู่ยุคนั้น กลับเข้าไปสัมผัสความคิดของบรรดาบุคคลในตำนานควอนตัม ... ยุงหลงใหล “ฟิสิกส์ใหม่” ซึ่งมันก็คือฟิสิกส์ที่ใหม่สำหรับเค้าในเวลานั้น ไอเดียแรกเกี่ยวกับซิงโครนิคซิตี้ของเกิดขึ้นระหว่างปี 1920 อันเป็นยุครุ่งเรืองของฟิสิกส์ใหม่ และเป็นการเริ่มต้นเรื่องระเบียบใหม่ (new order) แห่งตรรกะทางควอนตัม ยุงได้รับอิทธิจากนักฟิสิกส์อย่างนีล บอห์ร และวูล์ฟกัง เพาลี

บอห์รเริ่มตั้งเรื่อง “ระเบียบใหม่” ในโมเดลอะตอมของเค้า เค้าแสดงให้เห็นว่าอิเลคตรอนในอะตอมสามารถกระโดด “quantum jump” จากที่นึง (วงโคจร) ไปอีกที่ ก่อนที่จะมีเหตุอะไร (จู่ๆ ก็โดดไป) ในความเป็นจริง หลังจากนั้น บอร์หก็เป็นที่รู้จักขึ้นจาก quantum-jumping atomic model ที่มาก่อนกาลของเค้า และติดสัญญลักษณ์หยินหยางไว้ที่แขนเสื้อ เหมือนเป็นศูนย์กลางมันดาลาด้วย

วูล์ฟกัง เพาลี ยังเป็นนักฟิสิกส์หนุ่มผู้ปราดเปรื่องอยู่ในเวลานั้น พ่อมดว่าเดี๋ยวเค้าจะเล่าเพิ่มว่ายุงนั้นส่งอิทธิพลถึงวูล์ฟกัง ผ่านฝันของเพาลีเองด้วย เขาได้ตีพิมพ์แนวคิดใหม่ทางฟิสิกส์ซึ่งกลายมาเป็นแรงผลักดันความเข้าใจของเราเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมและความสามารถของอะตอมในการทำปฏิกริยาต่อกัน และฟอร์มโครงสร้างโมเลกุล ซึ่งมันถูกเรียกว่า Pauli exclusion principle (PEP)

ในปี 1952 เพาลีได้เข้ามาช่วยยุงในแนวคิดซิงโครนิคซิตี้ ถ้าวาดรูปกากบาท (ซึ่งมีเส้นแนวตั้งตัดกับแนวนอน และบนเส้นนั้นจะเป็นความสืบเนื่องเชื่อมโยงตลอดแนว) เส้นแนวตั้งปลายด้านบนจะแทนด้วยพลังงานที่ไม่มีวันดับสูญ (indestructible energy) ส่วนปลายล่างแทนด้วยกาลอวกาศอันสืบเนื่อง (space-time continuum) ตัดกับเส้นแนวนอนที่ปลายซ้ายแทนความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล (causality) ส่วนปลายด้านขวาก็คือซิงโครนิคซิตี้ (synchronicity) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแสดงแผนภาพอันวางสมมุติฐานด้านนึงอยู่บนฟิสิกส์ใหม่ และอีกด้านของบนจิตวิทยา
จากการฟังวีดีโอที่ลิงค์ก็พึ่งทราบว่าเพาลีนั้น mind collapse .. แปลว่าเสียจริต.. นั่นอาจเป็นเหตุ หรือมองได้ว่าเป็นเหตุ(หลักแห่งเหตุผลมาละ .. ) ที่ทำให้เค้าได้มาพบกับยุง ..พ่อหมอประสานก็เคยเล่าให้ฟังว่าเพาลีนั้น จะเดินพูดคนเดียวไปตามถนนเสมอ.... จักรวาลฝันต่อค่ะ... แนวความคิดนี้มันดูเหมือนจะตรงข้ามกัน พลังงานตรงข้ามกับกาลอวกาศ เช่นเดียวกับที่ความเป็นเหตุเป็นผลอยู่ตรงกันข้ามกับซิงโครนิคซิตี้ ตอนนี้พลังงานกับกาลอวกาศเป็นวิถีที่เราใช้อธิบายประสบการณ์ “ข้างนอก” .. พวกมันเป็นเฟรมเวอร์คที่ใช้สะดวก เราตั้งมันขึ้นมาเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของเหตุการณ์.. เหตุการณ์ซึ่งพลังงานแบบเดียวกันไม่สามารถจะอธิบายได้ด้วยความแน่นอนภายในกาลอวกาศ เหตุการณ์ซึ่งดูเหมือนเกิดภายใต้กาลอวกาศแต่ไม่ได้เป็นการสงวนพลังงาน เหตุผลที่ขัดแย้งนี้อยู่ในหลักความไม่แน่นอน principle of uncertainty หรือ indeterminism (หลักการที่ไม่เชื่อว่ามีการกำหนดความเป็นไปเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว) ซึ่งต่อยอดโดย Werner Heisenberg.

เพื่อขยายเพิ่มเติมจากที่เรารู้เรื่องพลังงาน อย่างในการเรียงลำดับความสัมพันธ์สืบเนื่อง (เป็นเหตุเป็นผล) ของเหตุการณ์ แต่เราไม่รู้ว่ามันมีการประสานกันอยู่ภายในกาลอวกาศ นั่นคือเราไม่อาจบอกได้ว่าพวกมันจะเกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไหร่ แต่ถ้าจะให้เรารู้ได้ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ ที่เหตุการณ์จะเกิด ก็จะไม่อาจบอกได้อีกว่าอะไรคือพลังที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น เรื่องพวกนี้พูดเอาไว้มากแล้วในหลักแห่งความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก

กาลอวกาศและพลังงานเป็นส่วนเสริมเติมกันนั่นคือสิ่งที่มาอธิบายเหตุการณ์ ซึ่งเป็นลักษณะอันคล้ายคลึงกันของซิงโครนิคซิตี้และเหตุผลสัมพันธ์ ซึ่งเสริมเติมกันและกันอยู่ พวกมันจัดความเป็นไปเช่นเดียวกับที่พลังงานและกาลอวกาศกระทำกับเหตุการณ์ เหตุการณ์เหล่านี้ถูกระบุโดยส่วนประกอบทางจิตพอๆ กับส่วนประกอบทางกายภาพ มันเป็นประเด็นสำคัญอันยุ่งยากของสสาร จิตวิญญาณตะวันตกจะให้ความสำคัญก็ต่อเมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นถูกติดป้ายของเหตุผลเข้าไปแล้ว (นึกถึงป้ายบนขวดยาที่อลิสดื่มแล้วทำให้ตัวใหญ่ขึ้น หรือไม่ก็เล็กลง ช่างสมเหตุสมผลจริงๆ) โดยการหลงลืมหรือยกเลิกเรื่องมิติอื่นของความหมายสมบูรณ์ไป ที่จริงแล้วเรากลายเป็นจิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล นี่คือแนวคิดสำคัญที่เรายึดมั่นเรื่องจักรวาลความฝัน ขั้นแรกเราต้องเริ่มต้นมองว่าความฝันและการตื่นไม่ได้ถูกแบ่งแยกพอๆ กับการปรากฏของความคิดเชิงตรรกะของเรา เป็นที่น่าสังเกตว่าเราแบกความคิดเรื่องแบ่งแยกนี้ไว้ในตรรกะสมบูรณ์แบบ (perfect logic)
วันนี้ Fibonacci Day 5 / 8 /13 ตามระบบคณิตศาสตร์ซึ่งค้นพบโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน .. ผลรวมของเลขตัวที่อยู่ข้างหน้าสองตัว จะเท่ากับเลขตัวที่สาม 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21... เมื่อนำมาพล็อตลงผังก็จะได้ลวดลายสไปรัล, fractal .. เสี้ยวส่วนแบบแผนของธรรมชาติ .. ก็คงเป็นระบบเหตุผลทางคณิตศาสตร์ .. “..ฉันจะให้เหตุผลกับเธอเพื่อใช้ทำความเข้าใจในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล..” ประโยคที่อ่านเมื่อวานนี้ดังก้องขึ้นมา ... 
ดังนั้น การเข้าใจปัญหาหลังเหตุมันเกิดขึ้นแล้ว เป็นระบบเหตุก่อผล แต่.. พ่อมดบอกว่า อนาคตนั้นเป็นเหตุอันมาร่วมก่อปัจจุบันด้วย .. ระบบคิดเชิงเหตุผลก็คงพอรับได้บ้าง บางระดับเท่านั้น อย่างไรก็ตามนายคนชื่อเดียวกันกับแกนี้ก็เขียนตัวอย่างเดียวกับแกก่อนที่แกจะเขียนซะอีก นี่ไงล่ะซิงโครนิคซิตี้ ที่เป็นประสบการณ์ตรงของเฟรด อลัน วูล์ฟ ซึ่งแกใช้คำว่า “handshake” ซึ่ง across time มา take place .. คำว่าจับมือเขย่า นี่ก็พาเรากลับไปนึกถึง standing wave... ซึ่งเป็นคำที่เอ็ดกา มิเชลใช้อธิบายเพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพ คลื่นมาสอดบรรสานกัน จนจุดสูงสุดและต่ำสุดของยอดคลื่นขนานกันพอดี (หากลากเส้นเชื่อมก็จะเกิดเส้นขนาน) การจับมือกันอย่างข้ามกาลเวลา แล้วมาปรากฏ.. take place.
เช้าวันนี้ ไปหยิบ The Red Book มาพลิกๆ ดูภาพมันดาลา เสร็จแล้วก็รู้สึกว่า อะไรนะ!! ที่จะมาเชื่อมต่อกับซิงโครนิคซิตี้ที่พ่อมดเฟรด อลัน วูล์ฟ เขียนเอาไว้ .. ก็เลยกลับไปอ่านกระทู้เก่า double signal, double standard, double slit experiment ที่เคยเขียนไว้ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2011.. แล้วก็ลืมไป เป็นกระทู้ที่ยาวมาก เขียนกันข้ามปีเลยทีเดียว .. สิ่งที่พบก็คือ เราไปหยุดฝันสุดท้ายของยุง (Jung's Last Dream : synchronicity ที่มินเดลเขียนไว้ใจจิตควอนตัม quantum mind) แล้วไปต่อด้วยการอ่านจักรวาลกำลังฝันของพ่อมด เสร็จแล้วก็กระโดดข้ามไป กระบวนการจิต (process mind) แล้วก็ไม่กลับมีอีก .. คือไปแล้วไปเลย .. ทีนี้มาอ่านพ่อมดอีก พอหยุดพักวันสองวัน.. เฮ้ยๆ อะไรมันขาดไปนี่หว่า มันยังไงๆ อยู่นะ คำตอบตอนนี้ก็คือ .. จะต้องวนไปทวนสั้นๆ เพื่อจะวนต่อ ฝันสุดท้ายของยุงนี่แหละ น่าจะเกี่ยวกับการนัดพบ คุยกัน วันที่ 29 ด้วย .. ความฝันสุดท้ายของยุง

I simply believe that some part of the human self or Soul is not subject to the laws of space and time.- Carl Jung

ผมก็แค่เชื่อว่าบางส่วนของตัวตนมนุษย์หรือวิญญาณไม่ได้เป็นไปตามกฏของพื้นที่และเวลา -คาร์ล ยุง

มินเดล เล่าว่าเขาไปถึงซูริคในวันที่ 13 มิถุนายน 1961 หลังจากที่ยุงตายไปได้ 6 วัน นั่นเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนในแวดวงของยุง ไม่ว่าจะเป็นญาติสนิทมิตรสหาย ต่างพากันโศกเศร้าจากการสูญเสีย บรรดาลูกศิษย์ก็พูดคุยกันถึงช่วงเวลาสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา
ในความฝัน ครั้งสุดท้ายก่อนตาย ยุงฝันว่าเขาเดินทางผ่านเข้าไปในพื้นที่พิเศษ พยายามค้นหาสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งจะมาช่วยให้เกิดความเข้าใจใน synchronicity พื้นที่พิเศษนั้นแสดงอย่างชัดเจนว่าเขากำลังเดินไปข้างหน้า แต่ก็มีกระจกที่ทำให้มองย้อนกลับหลังไปได้ และมีรูปทรงสามเหลี่ยมอยู่โดยรอบ

ยุง ฝันถึงเรื่องการสะท้อน (reflection) และเรื่องของสามเหลี่ยม เรขาคณิตแบบยูคลิด และแบบที่ไม่ใช่ยูคลิด เกี่ยวกับความหมายของเวลาและอวกาศ มินเดลบอกว่าในบทนี้เขาจะชวนผู้อ่านสืบค้นและพูดคุยอัพเดทแนวคิดของยุง เกี่ยวกับเรื่อง synchronicity 
ก่อนตายยุงศึกษาเรื่องพื้นฐานร่วม (common ground) ระหว่างจิตวิทยา, ฟิสิกส์ และซิงโครนิกซิตี้ กับวูล์ฟกัง เพาลี (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล) ในงานรวมข้อเขียนของเขา (เล่มที่ 8 ย่อหน้าที่ 845) ยุงบอกว่าซิงโครนิกซิตี้หมายถึง “a meaningful coincidence of inner and outer” ความประจวบเหมาะที่เต็มไปด้วยความหมายของภายในกับภายนอก ยุงบอกว่า หลักการของซิงโครนิกซิตี้อยู่บนสมมุติฐานว่ามีความพัวพันอันเป็นสากล หรือความเป็นหนึ่งเดียวกันของเหตุการณ์อันไม่มีมูลเหตุที่สัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันเลย มันเป็นการวางหลักของทิศทางการดำรงอยู่อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งเคยถูกอธิบายไว้แล้วเป็นอย่างดีใน “Unus Mundus” (ภาษาละตินแปลว่า โลกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน) และในความหมายของซิงโครนิคซิตี้ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ก็อยู่ในระดับ แห่งประสบการณ์ความเป็นจริงพ้นสมมุติ (non-consensus experience) ขณะที่ผู้สังเกตรู้สึกว่ามีสองเหตุการณ์อันไม่สัมพันธ์กันอยู่ในความเป็น จริงระดับ CR ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับอีกเหตุการณ์โดยผ่านความหมายระดับ NCR และเหตุการณ์นั้นๆ ได้ให้ประสบการณ์กับผู้สังเกตุอย่างเป็นหนึ่งเดียว นั่นก็คือ “one world” หรือนัยยะของความพัวพันอันเป็นสากล (interconnections)
สามสิบปีที่ผ่านมา มินเดลได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Unus Mundus และ synchronicity ในหลากหลายรูปแบบ ขั้นแรกเขาฝังตัวเองลงในความเชื่อมโยงระหว่างความฝันกับร่างกาย แล้วถัดมาก็ศึกษาเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างการทำงานของร่างกายและความ ตึงเครียดในระดับโลก
เดี๋ยวคนอ่านใหม่จะไปติดที่เรขาคณิต(แบบไม่เป็นยูคลิด) .. เอามาเสริมให้อีกหน่อยค่ะ ดูภาพยุงประกอบไปด้วย.. มินเดลให้เรขาคณิตแบบ Euclidean และจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เปรียบกับ เรขาคณิตแบบ non-Euclidean และวิถีพ่อมดหมอผี เขาอธิบายว่าจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมศาสตร์นั้นเวอร์คในระบบ การเชื่อมต่อเชิง เส้น ขณะที่วิถีพ่อมดนั้นจะเวอร์คกับระบบซึ่งไม่เป็นเชิงเส้น เคลื่อนไหว บิดงดพื้นที่ และเข้าสู่สภาวะจิตอันล้ําลึกได้
เขาว่าพวกเราก็หักเห เข้าสู่วิถีพ่อมดได้บ้างอย่างเช่นตอนที่เรานอนหลับ เต้นรํา สร้างจินตนาการ หรือ กําลังสนุกสนาน ในการเข้าสู่ภวังค์ทางจิตนั้นพื้นที่และสสารทั้งหลายจะดูเสมือนโค้ง งอ แนวความคิด เชิงเส้น ชีวิตที่เป็นเส้นตรงดูจะมีข้อจํากัด อย่างที่ครั้งหนึ่งเอมมี่กับอาร์นี่ ทดลองใช้ LSD แล้วสอง คนขับรถเรียบชายฝั่งโอเรกอน แล้วได้ประสบการณ์ที่ไม่ธรรมดา คือเห็นว่าถนน (ที่เป็นเส้นตรง) อยู่ เบื้องหน้า โค้งงอ (คล้ายยูเทิร์นกลับหัวในอากาศ) เขาสรุปว่าสัมผัสเกี่ยวกับการบิดโค้งงอของกาล อวกาศของเรานั้นขึ้นอยู่กับ สภาวะทางจิต นักจิตวิทยาและพ่อมดส่วนใหญ่รู้ดีว่าจักรวาลเป็นสถานที่ ซึ่งโค้งงอ ลักษณะรูปร่างของพื้นจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นกับมวลสารที่อยู่ใกล้ๆ และระดับของสภาวะทาง จิตซึ่งคุณดํารงอยู่ อย่างที่นักฟิสิกส์เรียกว่ามวลกับการบิดงอของพื้นที่ ส่วนนักจิตวิทยาจะเรียกว่าจิต กับประสบการณ์ ประสบการณ์เข้มข้นมากเท่าไหร่ การรับรู้มวลสสารก็จะยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น อย่าง การรับรู้ว่าถนนบิดงอกลับหัวได้นั้นก็เป็นสัมผัสรู้ถึงความโค้งงอของ แรงดึงดูด เรามีประสบการเกี่ยว กับพื้นที่อย่างเป็นเชิงเส้นสามมิติในชีวิตประจําวันของ เราขณะที่อาจมีประสบการณ์เกี่ยวกับมิติที่สูง กว่านั้น อย่างไฮเปอร์สเปซ หรือกาลอวกาศในภวังค์
ความฝันอาจจะเกิดขึ้นในไฮเปอร์สเปซ์ แต่ก็สอดแทรกอยู่ในกิจกรรมประจําวันของเราด้วย ชนเผ่าพื้น เมืองทั่วโลกให้ฝันชี้นําชีวิต หรือเอาชนะเกมส์การแข่งขัน (อย่างที่คนไทยเรามักฝันถึงเลขหวย ฯลฯ) ต่างจากการที่คนสมัยใหม่อย่างเราๆ คิดถึงแต่เพียงความเป็นไปในเชิงเส้น วิเคราะห์และตรวจวัดได้ มันเหมือนกับการรอคอยของความว่างเปล่าที่ปรารถนาการเติมเต็ม ด้วยแผนการและโปรแกรม มินเด ลบอกว่าถ้าเราไม่สนใจสภาวะเสมือนฝัน เราก็ไม่รู้จัก “power spots” (พื้นที่หรือจุดบรรจบแห่ง พลัง?) หรือบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชนเผ่าและผู้มีสัมผัสอันละเอียดอ่อนสัมผัสได้
จะรับรู้พื้นที่แห่งพลังได้ก็ต้องเข้าสู่ภวังค์ สัมผัสภูมิปัญญา แล้วเราก็จะมีประสบการณ์ระดับความจริง พ้นสมมุติ กาลอวกาศ กับหลักเกณฑ์อันจําเป็นสําหรับเราในการที่จะนําพาชีวิตอย่างสอดคล้องกับตัว ตน อันลึกล้ําที่สุดของเรา และส่วนที่ยังเหลือ (ไม่ถูกสํารวจ) ของจักรวาล
เรขาคณิตแบบไม่ใช่ยูคลิดอธิบายว่า อวกาศโค้งงอ ส่วนแบบยูคลิดว่าตามกฏ c กําลัง 2 = a กําลัง 2 + b กําลัง 2 นั้นใช้การได้เฉพาะแต่ใน flat world (โลกแบนๆ) หรือในโลกรอบๆ ตัวเราที่มันดู เสมือนแบนราบ ทะเลสาบเล็กๆ ก็ดูราบเรียบ จนถึงสมัยโคลัมบัส พวกยุโรปก็ยังรู้สึกว่าถ้าล่องเรือไป ไกลๆ จะตกขอบโลกได้ (มินเดลระบุว่า โลกใกล้ๆ ตัวเรา มันมีความเข้มข้นของสนามที่ทําให้สสารดู เสมือนสมบูรณ์ชัดเจน ทึบตัน) แต่ถ้าโลกของเราใหญ่ขึ้น มีสสารมากขึ้น เราก็ต้องใช้ระบบเรขาคณิต แบบไม่ใช่ยูคลิดมาอธิบาย คือจะต้องเอาเวลา (มิติที่สี่) รวมเข้ามาด้วย ไม่ใช่แค่กว้างคูณยาวคูณสูง มินเดลชวนให้พิจารณาสูตรหนึ่งของระบบใหม่ที่ใกล้เคียงแบบยูคลิด (ซึ่งน่าจะทําให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น) คือสูตร space-time separation ซึ่งเราแทนค่าการแบ่งแยกกาลอวกาศนี้ด้วย s, แทนค่า time- like factor ด้วย b และแทนค่า space-like factor ด้วย a แล้วถ้าว่ากันตามแบบยูคลิด ก็จะเป็น s กําลัง 2 = a กําลัง 2 + b กําลัง 2
แต่ถ้าไม่ใช่ยูคลิดล่ะ ต่างกันนิดเดียว คือเป็น s กําลัง 2 = a กําลัง 2 – b กําลัง 2 ถ้าจะหาค่าก็ ต้องถอดรากที่สองของ (a กําลังสอง ลบ b กําลังสอง) ที่เป็นลบก็เพราะมันคิดตามระบบ conjugation (ซึ่งสะท้อนตัวของมันเอง) และ จุดต่างที่สําคัญตรงก็อยู่ตรงมันเป็น "ลบ" นี่แหละ มันมาจากการสะท้อน (เพราะจะสะท้อนได้ก็ คือมีการบิดให้โค้งงอย้อนกลับ) เมื่อโค้งงอแล้วก็พ้นสภาพแบนราบ และจะต้องเพิ่มพื้นที่ขึ้นมา เป็น พื้นที่จากการเพิ่มมิติของจินตนาการเข้าไปด้วย (ถ้าจะให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นก็ลองนึกภาพการส่องกระจก อีกครั้งนะคะ) นั่นเป็นเหตุที่ทําให้เราต้องนําระบบคอนจูเกชั่นมาใช้ มิติที่เพิ่มเข้ามานี้จะเชื่อมต่อเรา เข้ากับโลกความเป็นจริงพ้นสมมุติ สัมผัสโลกแห่งประสบการณ์ ตํานานปรัมปราอันจะเข้ามาทําให้ชีวิต เราบริบูรณ์
ที่ สําคัญคือโลกที่ไม่ใช่ยูคลิด (NCR –โลกความเป็นจริงระดับพ้นสมมุติ) นี้แตกต่างจากโลกที่เป็นยู คลิด (CR -โลกความเป็นจริงสมมุติ) ตรงที่ว่า เส้นตรงคู่ขนานสองเส้นจะมาบรรจบกันได้ ไม่เหมือน กับโลก CR หรือระบบยูคลิดใน flat land ที่บอกว่าเส้นคู่ขนานไม่มีวันบรรจบ และเหตุผลที่ทําให้ parallel lines มาบรรจบกันก็เพราะว่าอวกาศโค้งงอ นั่นเอง
นักฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ได้ทดสอบสูตรตามระบบที่ไม่ใช่ยูคลิดนี้แล้วโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ตรวจจับ ว่าอวกาศบิดงอด้วยการวัดแสงดาวซึ่งเดินทางเสมือนเป็นเส้นตรงนั้นโค้ง งอเมื่อมันเคลื่อนเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ จักรวาลของเราถูกบิดงอในบริเวณที่อยู่ใกล้ดาวเคราะห์ใหญ่ๆ   Lucid Experiences and Temporal Discontinuities: A Parallel World Theory: (Transpersonal Dreaming and Death: The Dreaming Universe by Fred Alan Wolf)
ประสบการณ์ลูซิดกับช่องว่างของเลาและทฤษฎีโลกคู่ขนาน บทที่ 16 ประสบการพ้นสภาพบุคคลและความตาย ในจักรวาลกำลังฝัน โดยเฟรด อลัน วูล์ฟ 

ก่อนจะเข้าเรื่องให้คำว่า “Transpersonal” ทำให้นึกไปถึงนักจิตวิทยาในดวงใจอีกคนนึง.. Stanislav Grof กับการต่อยอดประสบการณ์ของเค้า..

กลับมาที่พ่อมดควอนตัม.. เค้าบอกว่าอยากจะอธิบายทั้งประสบการณ์ฝันลูซิดกับช่องว่างของเวลาบนฐานของควอนตัมฟิสิกส์ ใคร่ครวญที่โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะสมมุติฐานโลกคู่ขนาน, ซึ่งสามารถล้อมกรอบไว้ทั้งสองประสบการณ์เลย
ก่อนอื่น อ้างอิงถึงการตีความโลกคู่ขนานของกลศาสตร์ควอนตัม ระบบควอนตันนั้นสามารถปรากฏในลักษณะของซุปเปอร์โพสิชั่น (superposition of state) อิเลคตรอนสามารถปรากฏเป็นจำนวนอนันต์ของตำแหน่งในบริเวณใกล้เคียงกับอะตอมของนิวเคลียส หรือมันสามารถที่จะหมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา มันหมุนไปได้ทั้งสองทางอย่างเป็นไปเอง ตอนนี้ลองสมมุติให้สมองของคุณมีความสามารถตามระบบกลศาสตร์ควอนตัมซึ่งปรากฏเป็นซุปเปอร์โพสิชั่นในสภาวะความเป็นไปได้อันมากมายดู 
เมื่อผู้สังเกตมองไปยังระบบกายภาพ หาข้อมูลเกี่ยวกับระบบที่อยู่ในสภาวะ เค้าก็จะได้พบคำตอบ อ้างอิงถึงแนวคิดโลกคู่ขนาน เขาจะประสบความคลางแคลงใจในคำตอบของแต่ละความเป็นไปได้ที่อยู่ในระบบ หรือพูดอีกอย่างนึงก็คือจิตของเค้าจะแตกออกไปสู่ประสบการณ์ทางจิตอันแบ่งแยก ดูราวกับว่าถูกตัดออกจากสิ่งอื่นๆ ในแต่ละประสบการณ์ทางจิต แต่ละโลก เขาจะรู้สึกขาดกันโดยสิ้นเชิง เดียวดายอยู่กับข้อมูลเดี่ยวๆ โดดๆ ของเขา ..ขณะนี้เขาสามารถที่จะทำหนึ่งในสองสิ่ง .. หนึ่ง เขาสามารถส่งสัญญาณซ้ำในระบบเดิมได้ด้วยการทำเพียงแค่มองดูไปที่มัน เขาจะเห็นว่าระบบมันเป็นเหมือนเดิมทุกอย่างกับที่เขาเห็นก่อนหน้านั้น และถ้าเขาทำแบบเดิมสืบเนื่องไป เขาก็จะพบว่าระบบยังคงเสถียร เขาจะทำอย่างนี้กับระบบหนึ่งหรือทำสักกี่ครั้งก็ได้กับระบบที่ถูกเตรียมมาให้เหมือนๆ กัน ทุกครั้งเค้าทดสอบด้วยการทำให้มันแตกต่างออกไป แต่ระบบก็ยังถูกเตรียมไว้เหมือนเดิมอีก เขาอาจจะได้รับคำตอบที่แตกต่าง ระบบที่สองอาจจะไม่เป็นเหมือนกับสภาวะ (state) ที่อยู่ในระบบแรก หลังจากที่เค้ามองไปยังมัน เช่นเขาส่งสัญญาณซ้ำให้มันต่างออกไป แต่ทุกๆ ครั้งมันก็ถูกเตรียมกลับมาให้เหมือนเดิม เขารวบรวมสถิติตัวอย่างและชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นเรื่องราว ที่สอดคล้องต้องกันกับสิ่งที่เค้าค้นพบ
ในย่อหน้าถัดไปเรื่อง Parallel world ตามคำอธิบายของพ่อมดควอนตัม.. 

สมมุติว่าเขามองไปยังเหรียญ “ควอนตัม” 3 เหรียญ เขาจะพบว่าพวกมันจะปรากฏเป็นหนึ่งในแปดของความเป็นไปได้ ที่จะเกิดหัว (h) และก้อย(t) (hhh, hht, hth, htt, thh, tht, tth, ttt) แต่ละภาพปรากฏอย่างแบ่งแยก และมันอยู่ในโลกคู่ขนานกัน ขึ้นอยู่กับจิตของผู้สังเกต ตราบเท่าที่ระบบ (เหรียญ) ยังไม่เปลี่ยนแปลง เขาจะทำการสังเกตซ้ำสักกี่ครั้ง เขาก็จะพบกับสิ่งที่เค้าเคยเห็นมาแล้วก่อนหน้านั้น แต่ละการปรากฎจะอยู่ในโลกคู่ขนาน นอกจากนี้มันยังเป็นการยืนยันถึงการดำรงอยู่ของเขาใน “โลกของความเป็นจริง” (real world) ซึ่งมันไม่มีทางจะปรากฏร่องรอยของอย่างอื่นไปได้ ในกรณีนี้มันจะมีอยู่ 8 โลก ไม่ว่าสังเกตสักกี่ครั้ง และในแต่ละโลก เขาก็จะพบว่า เขาได้พบกับ previous observation (การสังเกตในครั้งก่อนหน้านั้น)
หรือเขาอาจจะมองไปยังระบบกายภาพซึ่งแม้ว่าพวกมันจะถูกเตรียมไว้สำหรับแสดงเหมือนกับระบบแรก เมื่อถูกเขามองดู (สังเกต) มันก็มีศักยภาพในการวิวัฒนาการโดยตัวของมันเอง ตอนนี้สมมุติว่าแต่ละระบบสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม ปนเปสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ แต่ระบบ เป็นต้นกำเนิด superposition ของสภาวะหนึ่ง แล้วถูกสังเกต ให้เป็นหนึ่ง ใน state นั้นๆ แล้วเฝ้าดูวิวัฒนาการไปสู่สภาวะ superposition ต่อไป นี่อาจจะหมายความว่าตัวอย่างข้างบน ตอนแรกเหรียญแต่ละเหรียญเคยอยู่ในสภาวะซุปเปอร์โพสิชั่น แล้วถูกสังเกตให้เป็นหัว แล้ววิวัฒน์เข้าสู่ซุปเปอร์โพสิชั่นอีกครั้ง หรืออีกนัยยะหนึ่งคือสมมุติว่าเหรียญแต่ละเหรียญในน้ำพุ เมื่อไม่ถูกสังเกตก็ไม่วิวัฒน์จากสภาวะหัวหรือก้อย ไปสู่สภาวะซุปเปอร์โพสิชั่นของหัวหรือก้อยตอนนี้ลองสมมุติอีกว่าให้คนมามองดูเหรียญ (สามเหรียญอีก) เขาก็จะเห็นมันเป็น 1 ใน 8 ของความเป็นไปได้ของหัวกับก้อย อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังมี “ความทรงจำ” ของเหรียญซึ่งเขาเคยเห็นมาก่อน เขามองพวกมันเป็นครั้งที่สอง จำไว้ว่าตราบเท่าที่เขายัง “concerned” เขาเพียงแต่มองเหรียญเป็นครั้งที่สอง จากที่เหรียญ “evolve” ไปสู่สภาวะซุปเปอร์โพสิชั่นระหว่างการสังเกต ซึ่งคราวนี้ก็จะมี 64 (แต่ละโลก 8 โลกก็สามารถ แยกไปได้อีก 8 โลก 8x8) ความเป็นไปได้อันแตกต่างจากการถูกสังเกต (จากตัวอย่าง ความเป็นไปได้นึง hht สามารถเปลี่ยนเป็น tht ด้วย)ทุกคนต่างก็รู้ดีว่าในครั้งที่สองของการสังเกตเหรียญแต่ละเหรียญจะเปลี่ยนอย่างน่าตื่นเต้น โลกแต่ละโลกใน 64 โลกตอนนี้เป็นความทรงจำของเหรียญก่อนหน้าที่เค้าจะมองดูเป็นครั้งที่สอง คำถามก็คือ โลกไหนเป็นโลกที่แห่งความเป็นจริง real world มันเป็นโลกที่เรามองดูครั้งแรกรึเปล่า? ในท้ายสุดของการมองครั้งที่สอง ทั้งหมดที่เค้ามีคือความทรงจำของสิ่งที่ปรากฏระหว่างการมองในครั้งแรก แต่ โลกของการมองครั้งแรก มันได้ผ่านไปแล้ว
นี่เป็นจุดที่ความเป็นจริงคลาสิกกับความเป็นจริงควอนตัมเกี่ยวพันกันอยู่ ในโลกคลาสิก เขาจะรู้ว่าสภาวะไหนของเหรียญที่มันเป็นจริง ได้จากการสังเกตครั้งแรก แต่ในโลกควอนตัม เขาไม่มี ความรู้นี้ถูกซ่อนเร้นไว้ เขาไม่มีทางรู้ว่าอันไหนจริง เขาจะรู้ได้เพียงหนึ่งในหกสิบสี่ของโลกแห่งความเป็นไปได้ และไม่ว่าจะเป็นโลกไหนหนึ่งในพวกมันทั้งหลาย ข้อมูลก็จะยืนยันว่าเป็นสภาวะซ้ำซ้อนและเป็นปัจจุบันในสภาวะใหม่ (in a previous state and are now in a new state)..
ครั้งแรก.. มีแต่ในโลกคลาสิก งั้นก็แสดงว่าความใหม่ ก็มีแต่ใหม่ในแบบเก่าๆ .. โลกควอนตัม ไม่มีครั้งแรก มีแต่เดจาวู.. สายธารของเดจาวู ไม่มีความใหม่ แต่ใหม่ตลอดเวลา เพราะไหลไปตลอด ไม่เคยหยุด
อะไรต่ออะไร ก็เป็นเงื่อนไขแรกเริ่ม ได้ทั้งนั้นถ้ากลับไปที่ไอ่สามเหรียญนั่นอีกครั้ง และวิวัฒน์ และให้เขาทำการสังเกตของเขาซ้ำเป็นครั้งที่สาม เขาก็จะเกิดตื่นรู้ขึ้นมาว่าอยู่ใน 512 (64x8) โลกของความเป็นไปได้ ซึ่งแต่ละโลกก็วิวัฒน์ไปแล้วตามการสังเกตจำนวนของโลกที่คูณด้วย 8 ในแต่ละโลกก็จะมีร่องรอยความทรงจำ แต่มันจะเป็นไม่ได้สำหรับเขาที่จะรู้ว่าเขาเคยอยู่ในโลกไหนมาก่อน
จุดนี้คือจุดเป็นจุดตายของควอนตัมฟิสิกส์ ในแต่ละโลกจะมีความทรงจำ มันอาจจะทำให้เขาสามารถย้อนระลึกสภาวะของระบบก่อนหน้าว่าพวกเขาเคยถูกสังเกตโดย alter ego (แปลว่าอะไรดีอ่ะ!) 
แต่ละโลกจะปรากฏบนวิถีนี้ และในแต่ละโลกทุกอย่างจะดูเหมือนเป็นธรรมชาติและเป็นปกติ ความทรงจำของเขาจะลงรอยกัน แม้ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาจากชั่วขณะของการสังเกตในครั้งล่าสุด แต่เขากลับไม่รู้สึกถึงความสั่นไหวของการสร้างสรรค์นี้ แม้ว่าชีวิตของเขาทั้งชีวิตอยู่บนการอ้างอิง coin experience ซึ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นในครั้งเดียว เขากลับจะไปรู้สึกว่าความทรงจำนั้นเป็นความทรงจำของเขาจริงๆถ้าวิวัฒนาการนี้สืบเนื่องตามหลักเหตุ-ผล ของกฏแห่งการเคลื่อนไหว เช่นกฏของ falling bodies (จะแปลว่าไรเนี่ยชื่อกฏนี้) แม้ว่าจำนวนของโลกจะเพิ่มทวีคูณ มากมายมหาศาลของจำนวนโลกซึ่งเป็นสภาวะสืบเนื่องตามกฏแรงดึงดูดจะดูเหมือนกับถูกสังเกต หรืออีกนัยยะหนึ่งคือผู้สังเกตอยู่ใกล้เคียงกับการตื่นขึ้นจากความปกติ จากโลกที่พัฒนาขึ้นมาด้วยเหตุผล ..สมมุติว่าตอนนี้เราให้สมองของเราเป็นเหมือน “สามเหรียญในน้ำพุ” และจิตวิญญาณเป็นเหมือนผู้สังเกต ในตัวอย่างข้างบน ระหว่างการรู้ตัวตอนตื่นปกติ โลกและสมองของเราจะควบคุมสั่งการอย่างคลาสิก นี่จะเป็นเหมือนตอนที่ผู้สังเกตสังเกตเหรียญครั้งแล้วครั้งเล่า ยืนยันว่าพวกมันเป็นอย่างที่เป็น แม้แต่จิตวิญญาณที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นมาใน alternative world ไม่มีอะไรต่างไปจากความเป็น ordinary เพราะว่าหลักแห่งเหตุผลมันได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก outside world ระบบสัมผัสมัน overload จากประสบการณ์ภายนอก ซึ่งมันไปไกลเกินกว่าความไม่ปกติ “unusual” developments.แต่ในระหว่างความฝันและระหว่างอาณาจักรจินตนาการเหล่านี้ สมองของเรา ควบคุมสั่งการด้วยระบบควอนตัมกายภาพ (quantum physically) จัดการกับประสบการณ์ซึ่งไม่เป็นไปตามกฏแห่งเหตุผล และไม่ถูกสังเกตจากกระบวนวิวัฒน์ของสมอง ซึ่งอยู่ในส่วน "temporal-lobe" (เออ มี lobe นี้ด้วยเหรอเนี่ย) ถูกกระตุ้นจากกระแสไฟฟ้า นั่นจะทำให้สมอง shift สภาวะเข้าสู่ตัวอย่างเหรียญ แล้วก็เข้าสู่ช่วง introspection (แปลว่าทบทวนความคิดความรู้สึกของตัวเอง) ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากกระแสไฟฟ้าถูกก่อกวน (ทำให้ไร้ระเบียบ)... ตรงนี้มันไปต่อกับ เคออส ที่บอกว่า consciousness เกิดจากการก่อกวนสภาวะหลับ พ่อมดตั้งข้อสังเกตว่าคุณภาพของสิ่งที่ถูกรับรู้ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของการรับรู้ของผู้สังเกต โดยจิตวิญญาณ แม้กระทั่งว่ามันไม่มีความทรงจำที่แน่ชัด ทุกอย่างเป็น path of perception มีแค่เพียง a flash of memory ในแต่ละโลก ณ แต่ละขณะของการรับรู้ ในโลกคู่ขนานจะมีความทรงจำของเหรียญว่าเป็นอย่างไรและตอนนี้พวกมันเป็นยังไง แล้ว แว๊บหนึ่งของชั่วขณะในสมองว่าตอนนี้พวกมันเป็นยังไง แว๊บๆ และแว๊บของ flashing ที่สืบเนื่องจะทำซ้ำๆ เสมอ แต่ไม่เคยซ้ำวิวเดิมกับ mind set เดิม นั่นนำมาอ้างอิงไม่ได้ว่าสมองเคยเป็นจริงในอดีต... ในอาณาจักรแห่งจินตนาการ มันไม่มีหลักยึดเหนี่ยวในความเป็นจริงของวัตถุ ไม่มีกฏคลาสิกของวัตถุทางกายภาพไปควบคุมการเชื่อมต่อระหว่าง flashes ดังนั้น ในแต่ละประสบการณ์ แต่ละแว๊บ มันใหม่ และบางส่วนก็ทำให้กระตุก (สะดุ้ง) ..ผลที่ตามมาคือทำให้ผู้สังเกตพร้อมเต็ม (ตื่นตัวเต็มที่) ในการใส่ใจ อย่างที่เค้าไม่จำเป็นต้องมีในการรับรู้โลกคลาสิก ซึ่งมันเป็นแค่เพียงการทำซ้ำประสบการณ์เคยๆ .. แล้วนี่ก็เป็นเหตุให้อาณาจักรจินตนการ ความฝัน UFO มันต่างออกไป .. พ่อมดบอกว่าบทต่อไป จะพาไปสำรวจว่าแว๊ปของแฟลชนั้นเข้ามาสู่ ordinary consciousness ได้ยังไง.. เค้าเรียกมันว่า “art"

บทที่ 17 Overlaps of the Imaginal and the Real: Dream in Art, Myth, and Reality

เช้านี้อ่านไปสองสามหน้า พบคำว่า Imaginal Realm (IR) อาณาจักรแห่งจินตนาการ และประสบการณ์ IR experiences ก็แทนด้วย IREs, IRE, NDEs, NDE ประสบการณ์ใกล้ตาย near death experiences, OBEs, OBE ประสบการณ์จากภายนอกร่างกาย out of body experiences, UFOs, UFO unidentified flying object จากบิน จานผี มนุษย์ต่างดาว.. ที่ซึ่งพ่อมดกล่าวถึงในบทที่ 17 นี้ .. อย่างไรก็ตามความคิดก็เลยเถิดไปถึง CR กับ NCR โลกความเป็นจริงระดับสมมุติ กับโลกความเป็นจริงระดับพ้นสมมุติ ของมินเดลเข้ามาด้วย .. อาณาจักรแห่งจินตนาการทั้งหมดที่พ่อมดกล่าวนี้ถึงก็อยู่ในเขตแดนความจริงระดับพ้นสมมุติ หากเปรียบกับของมินเดล  บทที่สิบเจ็ดนี้พ่อมดเริ่มที่ IR หรืออาณาจักรแห่งจินตนาการ ที่เค้าบอกว่าเป็น ontologically real (ภววิทยาของความเป็นจริง) คือเป็น being .. ถ้างั้นแล้วทำไมมันถึงจริงสำหรับบางคนเท่านั้นล่ะ .. แล้วทำไมเราถึงมองไม่เห็นมัน ทั้งที่ก็ต้องเคยมีประสบการณ์กันทุกคน แต่ที่มันไม่กลายเป็นจริงขึ้นมาก็เพราะเราไม่รู้ว่ามันจริง หรือไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ ตอนที่มันเกิดขึ้นกับเรา เราคิดว่ามันเป็นแฟนตาซีบ้าง เป็นภาพหลอนบ้าง หรือไม่ก็ว่าเป็นสภาวะที่ถูกครอบงำบ้าง (คุณอาจเคยเจอว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยังโดนแทรกแซงเป็นบางครั้ง แล้วทำไมมันถึงจะไม่เกิดขึ้นกับเราล่ะ?)
เค้าบอกว่าก่อนจะอธิบายว่า IRE เนี่ยมันกลายเป็น normal ขึ้นมาได้ยังไง หรืออะไรก่อประกอบมันขึ้นมา พ่อมดชวนไปพิจารณาสิ่งที่ Henri Corbin ซึ่งเป็นนักศึกษาแนวลึกเกี่ยวกับศาสตร์ลี้ลับและ visionary experience และงานวิจัยอื่นๆ ของคนที่เคยเป็นทั้งผู้สังเกตและถูกสังเกต ว่าพูดถึงเรื่องนี้อย่างไรกันดู
กรณีคอร์บินนั้น IR เป็นสิ่งที่หักล้างไปไม่ได้เลย ทั้ง coherent มากกว่าโลกที่เราประสบอยู่ในสัมผัสที่เรียกว่าตื่นปกติของเรานี่เสียอีก เพราะกลุ่มที่รายงาน IR ให้เขานั้นกลับมาอย่างตื่นเต็มสมบูรณ์แบบในการเดินทางไปที่นั่น (อาณาจักรในจินตนาการ) นักเดินทางเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคจิตเภท (แยกตัวจากสิ่งแวดล้อม) หรือเป็นโรคประสาท อีกทั้งโลกที่พวกเขาเข้าไปก็ไม่ได้เป็นโลกแฟนตาซีด้วย มันเป็นโลกของรูปแบบ (form), มิติ (dimension) และ life forms อื่นๆ แล้วก็มีผู้คนอาศัยอยู่ด้วย
แต่ IR ก็ยังไม่ได้ถูกทำให้เป็นสัมผัสปกติว่าเป็นจริงของพวกเราส่วนใหญ่ .. ความเป็นจริง ดูเหมือนจะกระจ่างกว่าสำหรับพวกเรา เพราะมันเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นและรู้สึก สัมผัสมันได้ด้วยผัสสะของเราเอง แล้วก็พูดต่อคนอื่นไปว่า ถ้ามันจริง ผมก็จะสามารถมองเห็นมัน ลิ้มรส ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสมันสิ .. ผมอาจจะไม่ต้องการทำเรื่องที่ว่ามานี้เลย แต่อย่างไรก็ตามผัสสะของผมคือความหมายของผม (เครื่องมือในการรับรู้) ซึ่งผมใช้ค้นหาความเป็นจริงมาถึงตรงนี้ก็อยากเสริม ประสบการณ์ที่ได้สัมผัสในโลกลูซิดของตัวเองนะคะ ขยายความที่พ่อมดบอกว่า “ผมอาจจะไม่ต้องทำเรื่องที่ว่ามานี้เลย” .. ตรงนี้เมว่าเมเข้าใจนะคะ .. ในอาณาจักร IR หรือ NCR นั้น ระบบสัมผัสพวกนี้เป็นสิ่งที่คลุมเครือมากกว่าเยอะค่ะ หากเราเข้าสู่ประสบการณ์ เราจะเข้าใจความหมายของคำว่า “being” ไม่ใช่ “in” นะคะ .. มันเป็นเลย .. มันไม่มีตัวแยก หรือตัวดูอยู่ อย่างเวลาเราสัมผัสอะไรตอนตื่นปกติเนี่ย เราจะมีตัวดู (ซึ่งเมว่าส่วนนึงมันทำให้การรับรู้ไม่เป็น หรือไม่เต็มร้อย .. กระทั่งเราอินเข้าไปแล้ว เราก็ยังมีตัวดูซ้อนอยู่) ตัวดูก็มีประโยชน์นะคะ มันช่วยให้เราไม่อินเกินไป คือถ้าคุณอินแบบเต็มๆ เนี่ย คุณจะทนโลกแทบไม่ได้ เวลาคุณเสียใจคุณอาจจะแตกสลายไปเลย หรือคุณเห็นสีแดง คุณก็อาจจะเป็นบ้าไปเลย เพราะมันมากเกินกว่าที่การรับรู้ของคุณจะทนข้อมูลไหว .. ทีนี้กลับมาในลูซิด เมื่อคุณเห็นกอไผ่สีทอง มันไม่ใช่แค่คุณมองดูไผ่สีทอง แต่คุณ “เป็น” ไผ่สีทอง คุณรับรู้ได้ถึงมดแมลงที่ไต่อยู่ เหมือนมันบนไต่อยู่บนผิวคุณ คุณได้กลิ่นละเอียดมาก ของเส้นใยที่ก่อประกอบ คุณรู้สึกถึงความเย็นของหยดน้ำบนใบไผ่.. มันละเอียดอ่ะ .. บรรยายไม่ได้ เวลารับรู้อะไร มันจะครบสมบูรณ์เต็มทั้งหมด คือเป็นทั้งผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต นั่นแหละใกล้เคียงที่สุด .. ทีนี้พอเป็นประสบการณ์ละเอียดขนาดนี้แล้ว คุณตื่นขึ้นมาในโลกปกติ ที่สัมผัสมันเจือจาง คุณจะต้องการการพิสูจน์ไปเพื่ออะไร?!?
ต่อจากนั้น พ่อมดก็ตั้งคำถามว่า ถ้าคุณไม่เคยกินแอปเปิ้ลมาก่อนเลย แล้วก็เกิดได้กิน .. “ครั้งแรก” คุณอาจจะขัดแย้งกับมันก็ได้นะ เหมือนจินตนาการ บางทีเราปฏิเสธจินตนาการเช่นเดียวกันกับที่เราปฏิเสธรสชาติที่ไม่คุ้น บอกว่ามันเป็นความทรงจำ หรือไม่ก็ภาพหลอน แต่ถ้ามันมีผัสสะสัก 2 ใน 5 เข้ามาเกี่ยวข้องล่ะ สิ่งที่ถูกสังเกตจะเป็น reality ได้รึยัง? แล้วเราต้องการสักกี่ผัสสะ ในการที่จะใส่ object เข้าไปในแคมป์ของความเป็นจริง 

คอร์บินใส่เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่ง เค้าเรียกมันว่า “psychospiritual” ซึ่งพ่อมดบอกว่าเค้าเคยเขียนไว้ในหนังสือเล่มเก่า The Eagle’s Quest เล่าไว้ว่าบรรดา shamans นั้นกุมบังเหียนผัสสะทั้งห้าอยู่หมัด แต่น่าเสียดายที่พวกเราส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้ (แล้วใช้วิธีหลบหลีก) .. แล้วใน NDEs นี่ไม่ได้เป็นแฟนตาซี แต่เป็นการเผชิญ (อันหลีกเลี่ยงไม่ได้) มันก็เลยทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับประสบการณ์ psychospiritual sensory awareness

แล้วก็เล่าเรื่อง Carl Sagal ซึ่งเขาใคร่ครวญเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างความฝันกับวิวัฒนาการ หรือย้อนไปถึงช่วงก่อนมีมนุษย์ เรื่องของ Julain Jaynes ที่ว่าพอมีมนุษย์แล้วก็ยังไม่มี real consciousness หากหลังจากนั้น consciousness ก็ผ่านเข้ามาทาง dream state

ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริง แสดงว่ามันจะต้องมีบางอย่างเกิดขึ้น บางอย่างที่เป็น consciousness evolved หรือวิวัฒนาการทางจิต จิตวิวัฒน์นั่นแหละ.. มันเกิดในเวลาหนึ่งนาที ชั่วโมง วัน ทศวรรษ ศตวรรษ หรือยาวนานกว่านั้น .. หรือจิตวิญญาณเพียงกระโดดข้าม (just take a quantum leap) IREs เป็นสมมุติฐานของวิวัฒนาการได้มั๊ย? .. คราวนี้ทีมนักวิจัยก็เรียงหน้ากันเข้าหลายคนเลย

McKenna ที่บอกว่าพวกพ่อมดหมอผีจะมองว่าความฝันเป็นหลักฐานการดำรงอยู่ของโลกคู่ขนาน หรือ continuum overlapping (คือเป็นการโอเวอร์แลปอย่างสืบเนื่องเข้ามาใน real world) แล้วเค้าก็ยังเชื่อว่ากายจิต โผล่ปรากฏขึ้นมาในความฝันที่ปรากฏอยู่ใน higher-order spatial dimension ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ ซึ่งวางฐานอยู่บนวัตถุ ที่เห็นว่าจิต (mind) เป็น emerging biological phenomenon ในกรณีนี้ จิตกับสสาร ทั้งคู่โผล่ปรากฏขึ้นเป็นบางส่วนของความเป็นจริง อยากเสริมส่วนนี้ด้วย โลกของหมอผีกับโลกของคนธรรมดา.. ในหยุดโลก ตอนที่ชื่อว่า “หยุดโลก” ..เมื่อดอนเกเนโร เข้ามาป่วนคาร์ลอส จนกระทั่งคาลอสได้พบหมาป่า แล้วเค้ารู้สึกว่ามันเป็นเพื่อน พูดคุยกัน .. ดอนฮวนบอกกับเขาว่า.. “เมื่อวานนี้คุณเชื่อว่าหมาป่าตัวนั้นพูดกับคุณได้ หมอผีคนใด แม้ยังไม่เห็น เค้าก็จะเชื่อเช่นเดียวกับคุณ แต่ถ้าหมอผีที่เห็นแล้วจะรู้ว่าการเชื่ออย่างนั้นคือการถูกตรึงไว้ในโลกของหมอผี และในทำนองเดียวกับ การไม่เชื่อว่าหมาป่าพูดได้ก็จะถูกตรึงไว้ในโลกของคนธรรมดา”
“หมายความว่าทั้งโลกของคนธรรมดาและโลกของหมอผี ไม่จริงใช่ไหม ดอนฮวน”
“โลกทั้งสองนั้นจริง ทั้งสองโลกนั้นสามารถที่จะกระทำกับคุณได้ ...” “ดอนเกเนโร เพียงบีบให้คุณมองโลกของคนธรรมดาในลักษณะที่หมอผีทั้งหลายมอง แกต้องการทำให้ความเชื่อมั่น (ในโลกเดิม) ของคุณอ่อนตัวลง”..“โลกที่คุณมองเห็นอยู่ทุกวัน เป็นเพียงแค่คำอธิบายเท่านั้น จุดมุ่งหวังของผมอยู่ตรงที่จะแสดงให้คุณเห็นในเรื่องนี้ .. มันไม่มีทางเลี่ยงหรอก การที่คุณจะ “เห็น” คุณต้องเรียนรู้วิถีทางในการมองโลก.. เรียนที่จะมองดูโลกในอีกลักษณะหนึ่ง และลักษณะเดียวที่ผมรู้คือ วิถีทางของหมอผี”

โลกหมอผีอันน่าประหวั่นพรั่นพรึง.. โลกที่เราหลีกลี้ไม่ต้องการจะถูกตรึงไว้ แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ หากปฏิเสธ เราก็จะกลายเป็นคนธรรมดา ถูกตรึงไว้ในโลกของคนธรรมดาอย่างน่าสมเพช

สำหรับพ่อมดแม่มดยุคใหม่ ควอนตัมเข้ามาช่วยเป็นรอยต่อได้อย่างเนียนๆ ทีเดียว คุณไม่ต้องตกไปอยู่ในโลกอันน่าประหวั่นพรั่นพรึง ที่มันกระทำกับคุณได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องเดียวดาย อ่อนแออยู่ในโลกของคนธรรมดาซึ่งวันนึงข้างหน้าจะต้องถูกผลักให้ไปเผชิญกับ NDE (ประสบการณ์ใกล้ตาย) อย่างหวาดกลัว สิ้นไร้พลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น